ไดโนเสาร์ คืออะไร ในสมัยดึกดำบรรพ์มีจริงหรือไม่ สูญพันธุ์ ไปหมดแล้วจริงหรือ เราศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ได้อย่างไรและอีกหลากหลาย คำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบ
คำว่าไดโนเสาร์ ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2384 โดยนาย ริชาร์ด โอเวนนักกายวิภาค วิทยา ชาวอังกฤษ ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกสัตว์ชนิดหนึ่งที่ขุดพบในรูปของซากดึกดำบรรพ์ เป็น โครงกระดูกขนาดใหญ่ โดยนายริชาร์ด ใช้คำว่า ไดโนเสาร์เพราะมาจากภาษาอังกฤษว่า dinosaurs เป็นคำผสมจากภาษากรีก ว่า deinos ซึ่งแปลว่า น่าเกลียดน่ากลัว กับคำว่า sauros แปลว่า กิ้งก่า ดังนั้น ไดโนเสาร์ จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า กิ้งก่าที่น่าเกลียด น่ากลัว ซึ่งอาจจะน่ากลัวในสายตาของนายริชาร์ด และอาจจะไม่น่ากลัวเลยในสายตาของนักวิทยาศาสตร์บางคน
ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นฟอสซิลโครงกระดูก รอยเท้า เปลือกไข่ อุจจาระ ตลอดจนกลายสภาพเป็นหินแข็งอยู่ภายใต้ผิวโลก ครั้นเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏบนพื้นผิวโลกให้เห็นตามที่ต่าง ๆ เป็นหลักฐานศึกษาการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ได้เป็นอย่างดี
ความจริงแล้วมนุษย์เคยค้นพบกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์มาเป็นเวลานานแล้ว เพียง แต่ว่าผู้คนยุคต้น ๆ นั้น คิดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ของกิ้งก่า มังกรหรือแม้กระทั่งนกกาเหว่า ยักษ์ จนกระทั่ง นายริชาร์ด ได้ให้ความเห็นว่า โครงกระดูกของสัตว์เหล่านั้น เป็นของสัตว์ กลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงใกล้ชิดกับพวกกิ้งก่า แต่ไม่จัดเป็นพวกกิ้งก่า ซึ่งถ้าดูจากโครงสร้างของโครงกระดูกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พอจะแยกออกได้เป็น 7 ลักษณะ นักโบราณคดีและนักชีววิทยา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้ว่า ถ้าแบ่งช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในโลก จะแบ่งออก ได้เป็น 3 ช่วง คือ
1. ช่วงไตรแอสสิก (Triaassic) เป็นช่วงแรกของการเกิดไดโนเสาร์ คือประมาณ 250- 205 ล้านปีมาแล้ว
2. ช่วงจูราสสิก (Jurassic) เป็นช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ประมาณ 205-135 ล้านปีมา แล้ว ในช่วงนี้มีไดโนเสาร์หลากหลายชนิด ทั้งมีเขาไม่มีเขา มีเกราะ ไม่มีเกราะ คอยาว คอสั้น ตลอดจนวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีก
3. ช่วงครีเตเชียส (Cretaceous)เป็นช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ประมาณ135-66 ล้านปีมาแล้วเป็นช่วงสุดท้ายของไดโนเสาร์ซึ่งจะมีวิวัฒนาการสูงสุดและสูญพันธุ์ไปในที่สุด
ไดโนเสาร์ ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดซึ่งถูกขุดพบที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยนาย พอล เซเรโน นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัย ชิคาโก ขุดพบในปี พ.ศ. 2534 และให้ชื่อสัตว์ที่ขุดพบว่า อีโอแรพเตอร์
ชนิดใหม่ล่าสุดที่ขุดพบเมื่อเดือน เมษายน ปี 2536 มีชื่อว่า โมโนไนคัส (Mononycus) ซึ่ง นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่าคล้าย กับซากดึกดำบรรพ์ของนกโบราณชนิดหนึ่งที่ขุดพบ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งประมาณอายุได้ 150 ล้านปี นกโบราณชนิดนี้ คือ อาร์คีออฟเทอริกซ์ (Archaeopteryx)
ดังนั้น สายวิวัฒนาการของนกกับไดโนเสาร์จะต้องเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน แต่อะไรจะ เป็นต้นตระกูลของอะไรจะต้องหาหลักฐานกันต่อไป แต่ที่แน่นอนที่สุดไดโนเสาร์ไม่ได้ สูญพันธุ์ไปจากโลกจนหมดสิ้น นักโบราณคดีและนักชีววิทยาหลายท่านเชื่อว่ายังมีไดโนเสาร์ สายพันธุ์หนึ่งที่ยังคงสืบเชื้อสายอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้และมีอยู่เป็นจำนวนมากมายต่างพากันเรียก ไดโนเสาร์กลายพันธุ์ชนิดนี้ว่า นก แต่ต้นตระกูลนกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นนกชนิด ใดก่อนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป
แจ็ก ฮอร์เนอร์ ซึ่งเป็นนักโบราณคดีและนักชีววิทยา รวมถึงนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้อย่างน่าฟัง ถึงเหตุผลที่ทำให้ไดโนเสาร์สามารถอยู่รอดได้ถึง 150 ล้านปี แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใหญ่โตเหล่านั้น ก็สูญพันธุ์ไปสิ้นเมื่อ 65 ล้าน ปีที่แล้ว มีหลากหลายทฤษฏีที่ชี้แจงการสิ้นสุดของไดโนเสาร์ ทั้งทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ตลอดจนทฤษฎีดาวหางและอุกกาบาต แต่ดูเหมือนทฤษฎีหลังจะเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์และประชาชนทั่วไปแต่การสูญสิ้นของไดโนเสาร์นั้นยังไม่เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์มากนักเพราะต่าง พากันมุ่งประเด็นไปที่การดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ตรงที่ว่า ไดโนเสาร์มีอะไรดีจึงสามารถดำรง เผ่าพันธุ์ได้นานถึง 150 ล้านปี ยังเป็นปริศนาสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องหาข้อมูล จากซากดึกดำบรรพ์กันต่อไปคราวนี้เรามารู้จักกับไดโนเสาร์พันธุ์ต่าง ๆ ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตัวแรกที่จะแนะนำให้รู้จักก็คือ
- ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurus rex)
- อัลโลซอรัส (Allosaurus)
- อะแพททอซอรัส (Aapatosarus)
- ไทรเซอราทอปส์ (tricratops)
- อิกัวโนดอน (Iguanodon)
- เทอราโนดอน (pteranodon)
แม้เวลาจะผ่านไปถึง 65 ล้านปี คำว่า ไดโนเสาร์ ก็ยังถูกกล่าวถึงเสมอ ถึงแม้ว่ามันจะ เป็นสัตว์ที่น่าเกลียดน่ากลัว แต่ก็ยังไม่ร้ายเท่ามนุษย์ที่คอย แต่คิดค้นและสร้างสมแต่สิ่งที่นำ ไปสู่การทำลายตัวเองอยู่ตลอดเวลา และเมื่อใดที่โลกเต็มไปด้วยมลพิษที่เกินกว่ามนุษย์จะ ทนได้ ก็อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด… ดังเช่น… ไดโนเสาร์… สัตว์โลกล้านปี…ที่ถูกบันทึกไว้ใน ความทรงจำของมนุษย์ตราบจนทุก…วันนี้
ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurus rex) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าทีเร็กซ์ (Trex) แปลว่า กิ้งก่า ทรราชเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อเป็นอาหาร มีความยาวประมาณ 48 ฟุต สูงประมาณ 20 ฟุต ลักษณะเป็นแบบฉบับของไดโนเสาร์ หัวโต ตัวใหญ่ขาหน้าเล็กและสั้น มีกรงเล็บ แหลมคมยาวถึง 8 นิ้ว มีน้ำหนักถึง 7 ตันครึ่ง เจ้ากิ่งก่ามีชีวิตได้ด้วยการกินไดโนเสาร์ที่ อ่อนแอกว่าเป็นอาหาร เช่น ไดโนเสาร์ที่มีชื่อว่า แองคีลอซอรัส (Ankylosaurus) ฉายยายักษ์ สวมเกาะเป็นไดโนเสาร์ที่มีเกาะแข็งหุ้มตัวตัวยาวประมาณ 15 ฟุต สูงไม่เกิน 4-5 ฟุต ตัวอ้วน ขาใหญ่ เดินงุ่มง่ามหลบหลีกศัตรูได้ช้าเป็นอาหารโปรดของเจ้าทีเร็กซ์ ดังนั้นจึงได้อีก ฉายาหนึ่งว่า จอมเพชฌฆาต
อัลโลซอรัส (Allosaurus) ตัวนี้หน้าตาคล้าย ๆ กับ ทีเร็กซ์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาด ใหญ่ที่สุดมีขนาดยาวกว่า 33 ฟุต (10 เมตร) ขาหน้าเล็กสั้น หัวโต เขี้ยวใหญ่ได้ฉายาว่า จอมพราน ชอบล่าไดโนเสาร์อื่นเป็นอาหารโดยเฉพาะ อะแพททอซอรัส (Aapatosaaurus) เป็นอาหาร ที่กล่าวเช่นนี้เพราะอะแพททอซอรัสที่ขุดพบนั้นมีรอยเขี้ยวของ อัลโลซอรัส เต็ม ไปหมด
อะแพททอซอรัส (Aapatosarus) มีฉายาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง ถูกค้นพบในยุคแรกๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ คอยาว หัวเล็ก หางยาวมาก ๆ ประมาณ 24-27 เมตร ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว จึงได้ชื่อว่า อะแพททอซอรัสแปลว่า สัตว์เลื้อยคลานหัวหาย ที่สำคัญลักษณะเจ้านี้ประหลาดมากคือ มีหัวใจ 7-8 ดวง เรียงจาก อกถึงลำคอ เพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ ยังมีรูจมูกอยู่บนกระหม่อมชอบอยู่ในน้ำลึก พวกนี้มีฟันทื่อไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไร ไม่ได้นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น
ไทรเซอราทอปส์ (tricratops) มีฉายาว่า ยักษ์สามเขา ตัวไม่โตนัก ยาวประมาณ 20 ฟุต สูง 10 ฟุต มีขนาดใหญ่กว่าช้างเล็กน้อย ที่ต้นคอมีเกราะใหญ่แผ่คลุมคอและไหล่ ขากรรไกร โค้งเหมือนปากนกแก้ว ชอบเล็มหญ้าเป็นอาหารที่สะดุดตาที่สุด ของเจ้ายักษ์สาม เขานี้ก็คือ มีเขา 3 อัน ที่แหลมคมมากยาวประมาณ 3 ฟุต อยู่เหนือตาทั้งสองข้าง ส่วนอันที่ 3 ใหญ่กว่าแต่มีขนาดสั้นอยู่ตรงจมูก แต่ที่น่าแปลกกว่านั้นก็คือลักษณะดูเหมือนดุร้ายแต่กิน พืชเป็นอาหาร เขาของมันมีไว้สู้ศัตรูเท่านั้น
เทอราโนดอน เป็นไดโนเสาร์อีกชนิดหนึ่งที่มีหงอนแข็งที่หัว ขนาดของปีกกว้างมาก วัด ตามยาวได้ถึง 6 เมตร อาศัยอยู่ตามหน้าผาสูง มีน้ำหนักตัวประมาณ 17 กิโลกรัม เป็นสัตว์ เลื้อยคลานที่บินได้ โครงสร้างโดยทั่วไปมีลักษณะค่อนข้างไปทางไดโนเสาร์มากกว่านก ซึ่ง ถ้านำไปเทียบกับ อาร์คีออฟเทอริกซ์ และ โมโนไนคัส พวกนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนกใน ปัจจุบันมากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก