Comparison การเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
- การเปรียบเทียบแบบเท่ากัน และไม่เท่ากัน (Equality and Unequality)
2. การเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree)
3. การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (Superative Degree)
การเปรียบเทียบแบบเท่ากัน และไม่เท่ากัน
(Equality and Unequality)
มีคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ได้แก่
- (not) as / adverb , adjective / as = เท่ากัน, เหมือนกัน (ใช้ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ)
This ball is as round as a mable. (round : adjective)
Jane works as hard as her sister. (hard : adverb)
Tom doesn’t play golf as well as you (do). (well : adverb)
Charies isn’t as tall as his father. (tall : adjective)
- not so / adverb , adjective / as = ไม่เท่ากัน (ใช้ในประโยคปฏิเสธเท่านั้น)
Marry is not so beautiful as her mother. (beautiful : adjective)
His handwriting is not so poor as his friend’s. (poor : adjective)
He doesn’t run so fast as his brother. (fast : adverb)
- to be like = เหมือนกัน (สิ่งเปรียบเทียบอยู่ต้นและท้ายประโยค)
Joy is like her mother.
The workers work hard like buffaloes.
- to be alike = เหมือนกัน (สิ่งเปรียบเทียบอยู่ต้นประโยค)
The twins are alike.
Her bag and yours are alike.
- the same + noun + as = เหมือนกัน
My shirt is the same colour as that boy’s. (shirt)
The two dresses are the same style.
The colour of her eyes and that of mine are the same.
- to be similar to … = เหมือนหรือคล้าย
The red dress is similar to the blue one. (one = dress)
Her idea is similar to mine. (mine = my idea)
การเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree)
การเปรียบเทียบขั้นกว่า เป็นการเปรียบเทียบในจำนวนสองเท่านั้น
วิธีการเปรียบเทียบ คือ
- เติมer หลังคำ adjective หรือ คำ adverb ขั้นธรรมดา เช่น
hard = harder fast = faster
small = smaller tall = taller
- เติมmore หน้าคำ adjective หรือคำ adverb ขั้นธรรมดา เช่น
Diligent = more diligent beautiful = more beautiful
Intelligent = more Intelligent cheerful = more cheerful
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
(Superative Degree)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด เป็นการเปรียบเทียบในจำนวนมากกว่าสองขึ้นไป
วิธีการเปรียบเทียบ คือ
- เติมest หลังคำadjective หรือ คำ adverb ขั้นธรรมดา เช่น
common = commonest wise = wisest
hot = hottest early = earliest
large = largest sad = saddest
- เติมmost หน้าคำadjective หรือ คำadverb ขั้นธรรมดาเช่น
Beautiful = most beautiful diligent = most diligent
Important = most important careful = most careful
ข้อสังเกต adjective และ adverb บางตัวในตัวอย่างไม่ได้เติม er หรือ est โดยตรง อาจมีการเปลี่ยนรูปเพิ่มตัวสะกด หรือเติมเพียง r หรือ st ในกรณีที่ลงท้ายด้วย e
หลักการสร้างคำ adjective และคำ adverb ขั้นกว่าและขั้นสุด
- คำพยางค์เดียว ลงท้ายด้วยพยัญชนะ2 ตัว หรือลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียวมีสระ 2 ตัว ให้เติม er และ est ได้ เช่น
soft softer softest นุ่ม
long longer longest ยาว
deep deeper deepest ลึก
clear clearer clearest ชัดเจน , แจ่มใส
fair fairer fairest ยุติธรรม
great greater greatest ยิ่งใหญ่
sweet sweeter sweetest หวาน
quick quicker quickest เร็ว
- คำพยางค์เดียว มีสระเดียว มีตัวสะกดเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดอีกตัวก่อนเติมer และ est เช่น
wet wetter wettest เปียก
thin thinner thinnest ผอม
fat fatter fattest อ้วน
big bigger biggest ใหญ่
hot hotter hottest ร้อน
- คำadjective หรือ adverb ที่ลงท้าย e ให้เติม r หรือ est ในขั้นกว่าและขั้นสุดตามลำดับ เช่น
wise wiser wisest ฉลาด
large larger largest ใหญ่ กว้าง
brave braver bravest กล้าหาญ
safe safer safest ปลอดภัย
- คำadjective หรือ adverb ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ เปลี่ยน y เป็น I และเติม er หรือ est เช่น
dry drier driest แห้ง
grey greyer greyest สีเทา
(หน้า y เป็นสระ เติม er , est)
- คำสองพยางค์ที่ลงท้ายด้วยer , le และ ow ให้เติม er และ est เช่น
clever cleverer cleverest ฉลาด
shallow shallower shallowest ตื้น
narrow narrower narrowest แคบ
bitter bitterer bitterest ขมขื่น
- คำสองพยางค์ ลงเสียงหนัก(stressed) พยางค์หลังให้เติม er และ est เช่น
polite politer politest สุภาพ
pretty prettier prettiest สวย
sincere sincerer sincerest จริงใจ
- คำบางคำใช้ได้ทั้ง2 แบบ คือ เติม er , est หรือ more , most
quiet quieter quietest เงียบ
more quiet most quiet
cheerful cheerfuler cheerfulest ร่าเริง
more cheerful most cheerful
- คำที่ต้องเติมmore most คือ คำมากกว่า 2 พยางค์ หรือคำสองพยางค์ที่ลงเสียงหนัก (stressed) พยางค์แรก
hopeful more hopeful most hopeful มีความหวัง
learned more learned most learned คงแก่เรียน
charming more charming most charming มีเสน่ห์
- คำที่เปลี่ยนรูป
good (well) better best ดี
bad (badly) worse worst เลว
much (many) more most มาก
little less least น้อย
far farther (further) farthest (furthest) ไกล
Comparison การเปรียบเทียบ เป็นการเปรียบเทียบคุณลักษณะของคำนาม (adjective) หรือเปรียบเทียบคุณลักษณะอาการ (adverb)
การเปรียบเทียบที่เท่าเทียมกัน |
Nipon is as tall as Dang. |
การเปรียบเทียบที่มากน้อยกว่ากัน |
Nipon is taller than Ladda. |
การเปรียบเทียบที่แสดงความเป็นที่สุด |
Nipon is the tallest of all. |
1) Comparison of Equality การเปรียบเทียบที่เท่าเทียมกัน
ใช้ as …………..as / the same as
as + adj/adv (ในขั้นธรรมดา) + as = เท่ากับ เหมือนกับ
์Nipon is as tall as Dang. นิพนธ์สูงเท่ากับแดง
(= Nipon is as tall as Dang is tall.)
She works as carefully as he.
(= She works as carefully as he works carefully.)
ในประโยคปฏิเสธ อาจใช้ so…………..as แทน as ……………..as (แต่ใช้ as …………as ได้เสมอ)
Nipon is not so tall as Dang. หรือ Nipon is not as tall as Dang.
the same + noun + as = เหมือนกันกับ เช่นเดียวกันกับ (หลัง the same เป็น noun)
He has the same book as mine. (เขามีหนังสือเหมือนกับของผม)
His car is the same color as yours. (รถของเขาสีเดียวกันกับรถของคุณ)
Example : as……as
เช่น 1) He is as tall as your brother.
2) He drove his car as quickly as I did.
3) Ladda is not as pretty as Anong.
4) His uncle is as old as my uncle.
5) This book is not as difficult as that one.
Example : the same as
1) His room is in the same building as mine.
2) They live in the same house as I.
3) His age is the same as mine.
4) My house is the same size as yours.
5) This building is the same height as that one.
2) Comparison of Inequality การเปรียบเทียบที่มากน้อยกว่ากัน)
เราอาจใช้คำ adjective ระดับกว่า ได้เช่นเดียวกันกับระดับธรรมดา คือ อาจใช้ประกอบหน้าคำนาม หรือใช้หลัง Verb to be ก็ได้ เช่น
We need a better life. เราต้องการชีวิตที่ดีขึ้น (กว่าเดิม)
It is better to live here. (เป็นการดียิ่งขึ้น(กว่าเดิม)ที่จะอยู่ที่นี่
ประโยคทั้งสองข้างบนนี้ เป็นการใช้คำระดับกว่า โดยไม่มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน ถ้าต้องการให้เห็นชัดเจน เราเปรียบเทียบของสองสิ่ง โดยใช้ คำระดับกว่า + than เช่น
์Nipon is taller than I. (นิพนธ์สูงกว่าฉัน)
= Nipon is taller than I am tall. (นิพนธ์สูงกว่าที่ฉันสูง)
Ladda works faster than we. (ลัดดาทำงานเร็วกว่าเรา)
= Ladda works faster than we work. (ลัดดาทำงานเร็วกว่าที่เราทำ)
แม้ว่าเราอาจใช้ประธานหลัง than ได้เพียงตัวเดียวลอยๆ อย่างในประโยคข้างบน แต่บางครั้งก็อาจมีความกำกวมเกดิขึ้นได้ เช่น
She loves Bill more than Tom. (หล่อนรักบิลมากกว่าทอม)
คำกำกวม คือ She loves Bill more than she loves Tom. (หล่อนรักบิลมากกว่ารักทอม)
หรือ She loves Bill more than Tom loves Bill. (หล่อนรักบิลมากกว่าที่ทอมรักบิล)
ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมถือหลักว่า
– ถ้าคำหลัง than เป็นผู้กระทำอาการ นิยมใช้กริยาพิเศษ (anomalous verb) ต่อท้ายคำนั้น เช่น
She loves Bill more than Tom does. = She loves Bill more than Tom loves Bill.)
She loves Bill more than we do. = She loves Bill more than we love Bill.
– ถ้าหลัง than เป็นผู้ถูกกระทำ ใช้คำนั้นลอยๆ คำเดียวได้ เช่น
She loves Bill more than Tom. = She loves Bill more than she loves Tom.
REGULAR COMPARISON
โดยทั่วไป คำ adjective หรือ adverb มีรูปแสดงการเปรียบเทียบได้ 3 รูป หรือ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับธรรมดา (ปกติ) |
ระดับกว่า |
ระดับสูงสุด |
small (เล็ก) |
smaller(เล็กกว่า) |
smallest (เล็กที่สุด) |
large (กว้างใหญ่) |
larger (กว้างใหญ่กว่า) |
largest (กว้างที่สุด) |
big (ใหญ่) |
bigger (ใหญ่กว่า) |
biggest (ใหญ่ที่สุด) |
simple (ง่าย) |
simpler (ง่ายกว่า) |
simplest (ง่ายที่สุด) |
beautiful (สวย) |
more beautiful (สวยกว่า) |
most beautiful (สวยที่สุด) |
slowly (ช้า) |
more slowly (ช้ากว่า) |
most slowly (ช้าที่สุด) |
silly (โง่า) |
sillier (โง่กว่า) |
silliest (โง่ที่สุด) |
หลักของการเปลี่ยน คำ adjective หรือ adverb ให้เป็นขั้นกว่า หรือขั้นสูงสุดนั้น ยึดหลักดังนี้
- A) คำพยางค์ดียว (และสองพยางค์บางคำ)
– คำพยางค์เดียวส่วนใหญ่เติม er , est ได้ทันที เช่น fast – faster – fastest (เร็ว) , cheap – cheaper – cheapest (ถูก ไม่แพง)
– ถ้าลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว เติมเพียง r หรือ st เช่น large – larger – largest (กว้างใหญ่) , simple – simpler-simpest (ง่าย ธรรมดา)
– ถ้ามีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว เพิ่มตัวสะกดอีกหนึ่งตัวก่อนเติม er หรือ est เช่น big – bigger – biggest (ใหญ่) , thin – thinner – thinnest (ผอม), fat – fatter – fattest (อ้วน)
– ถ้าลงท้ายด้วย y เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม er , est (หน้า y ต้องไม่ใช่สระ) เช่น happy – happier – happiest (มีความสุข), silly – sillier – silliest (โง่) ยกเว้นถ้าเป็นคำ adverb ที่เกิดจากการเติม ly เข้าที่คำ adjective เติมคำ more, most เข้าข้างหน้า เช่น quickly – more quickly – most quickly (อย่างรวดเร็ว)
- B) คำสองพยางค์
– ถ้าเป็นคำสองพยางค์ที่ออกเสียงสั้น เติม er , est เช่น early – earlier – earliest (เแต่ช้า เนิ่น) , simple – simpler , simplest
– คำสองพยางค์ที่มีเสียงยาว ใช้ more , most ข้างหน้า เช่น modern – more modern , most modern (ทันสมัย) , correct – more correct , most correct (ถูก) , famous – more famous – most famous (มีชื่อเสียง)
(คำบางคำก็ใช้ได้ทั้งสองแบบ เช่น common – commoner – commonest หรือ common – more common – most common (ธรรมดา) - C) คำสามพยางค์ขึ้นไป ใช้ more , most ข้างหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น
expensive – more expensive , most expensive (แพง)
หมายเหตุ ใช้ more , most กับ adverb ที่เกิดจากการเติม ly และ adjective
ที่เกิดจากการเติม – ful , – ing และ -ed เช่น carefully – more carefully
– most carefully (อย่างระมัดระวัง), boring – more boring – most
boring (น่าเบื่อ) , tired – more tired – most tired (เหนื่อย)
IRREGULAR COMPARISON
คำ adjective และ adverb ต่อไปนี้ มีรูปคำ ระดับกว่า และระดับสุด ผิดจากกฏเกณฑ์ที่กล่าวมา จะต้องจดจำเป็นพิเศษ ดังนี้
ระดับธรรมดา (ปกติ) |
ระดับกว่า |
ระดับสูงสุด |
good (ดี) |
better (ดีกว่า) |
best (ดีที่สุด) |
well (ดี) |
better (ดีกว่า) |
best (ดีที่สุด) |
many(มาก)ใช้กับนามนับได้ |
more (มากกว่า) |
most (มากที่สุด) |
much (มาก)ใช้กับนามนับไม่ได้ |
more (มากกว่า) |
most (มากที่สุด) |
little(น้อย) ใช้กับนามนับไม่ได้ |
less (น้อยกว่า) |
least (น้อยที่สุด) |
far (ไกล) |
farther (ไกลกว่า) |
farthest (ไกลที่สุด) |
far (เหนือชั้น สูง) |
further(เหนือชั้นกว่า) |
furthest (เหนือชั้นที่สุด) |
3) COMPARISON OF SUPREMACY การเปรียบเทียบแสดงความเป็นที่สุด)
การเปรียบเทียบแสดงความเป็นที่สุด มีการใช้ระดับคำสุด (Superlative) มีข้อสังเกตดังนี้
– เมื่อประกอบหน้าคำนาม ใข้ the นำหน้า เช่น This is the shortest way to town.
– ถ้าใช้หลังกิริยาไม่จำเป็นต้องมี the เช่น That way is shortest. = That way is the shortest. (ถ้ามีคำแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ต้องมี the)
– การเปรียบเทียบระดับสุดจะต้องใช้กับสิ่งของตั้งแต่สามสิ่งขึ้นไป เช่น
Of the three boys, Nipon is the tallest. (Of the two boys, Nipon is the taller.)