GAT/PAT คืออะไร สอบอะไรบ้าง
GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป
(General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
– Speaking and Conversation
– Vocabulary
– Structure and Writing
– Reading Comprehension
GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน
PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ
(Professional and Academic Aptitude Test)
คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการสมัครสอบ GAT/PATเข้าระบบ GAT/PAT ตรงหัวข้อ ต้องการเข้าระบบและคลิกเลือกสำหรับผู้สมัครสอบ (ต้องการลงทะเบียนหรือสมัครสอบหรือเข้าระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลตนเอง) เลือกลงทะเบียน (รายใหม่) หรือ เข้าระบบ (รายเก่า หรือผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว) ผู้สมัครรายใหม่ลงทะเบียนจนได้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านกรุณาอ่านเงื่อนไขการลงทะเบียนให้เข้าใจก่อนจะยอมรับในเงื่อนไขนั้นต้องการสมัครสอบให้ล็อคอินเข้าระบบโดยใช้ชื่อผู้ใช้เลขประจำตัวประชาชนและรหัสผ่านของตนเองใส่รหัสผิดเกิน 3 ครั้งระบบจะล็อคทันทีต้องติดต่อสทศ.
ระบบจะเข้าสู่หน้าข้อมูลปัจจุบันที่เคยลงทะเบียนไว้ ให้ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลที่ปรากฏให้ถูกต้องกรณีต้องการแก้ไขข้อมูลให้คลิก แก้ไขข้อมูลและเข้าไปแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (ชื่อ–นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนแก้ไขเองไม่ได้ ต้องติดต่อ สทศ.) หากข้อมูลถูกต้องแล้วให้ยืนยันว่าได้ตรวจสอบข้อมูลและขอยืนยันว่า ข้อมูลตรงกับความเป็นจริงทุกประการและคลิกยืนยันข้อมูลถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 5 สมัครสอบโดยเลือกวิชาที่ต้องการ (วิชาความถนัดทางภาษาต่างประเทศเลือกสอบได้เพียงภาษาเดียว)
ขั้นตอนที่ 6 เลือกจังหวัดและอำเภอที่ประสงค์จะไปสอบสทศ. จะจัดสนามสอบให้ในเขตหรืออำเภอที่มีสนามสอบ ในกรณีที่มีมีการยุบสนามสอบในบางอำเภอสทศ. จะจัดให้ผู้เข้าสอบไปสอบในอำเภอที่ใกล้เคียงที่สุดในจังหวัดเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 7 พิมพ์ใบจ่ายเงินและไปชำระเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ขั้นตอนที่ 8 หลังจากชำระเงินแล้ว ให้เข้ามาระบุโรงเรียนที่เป็นสนามสอบ ขั้นตอนนี้เด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจจะได้สอบในสนามสอบที่ท่านไม่สะดวกในการเดินทางก็ได้
ขั้นตอนที่ 9 ตรวจสอบสถานที่สอบเลขที่นั่งสอบและสามารถพิมพ์ใบแสดงข้อมูลดังกล่าวได้ตามวันที่จะประกาศในแต่ละครั้ง
ขอบคุณข้อมูล จาก https://www.niets.or.th และ https://www.sanook.com