2020 มีรูโหว่โอโซนใหญ่ที่สุดอันดับที่ 12 เท่าที่เคยบันทึกมากกว่า 40 ปี
นักวิทยาศาสตร์คาดว่ารูโหว่โอโซนขนาดใหญ่ครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับกระแสลมทางขั้วโลกที่เรียกว่า Polar Vortex ซึ่งจะมีกระแสลมที่รุนแรงในช่วงเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม
Polar vortex คือ ลมหมุนวนขั้วโลกโดยที่ลมดังกล่าวจะหมุนตามเข็มนาฬิกาในขั้วโลกใต้และทวนเข็มนาฬิกาในขั้วโลกเหนือ โดยลม Polar vortex จะอ่อนกำลังหรือมีกำลังมากขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ซึ่งลม Polar vortex จะมีกระแสลมที่เรียกว่า Jet stream ล้อมรอบไว้กันไม่ให้ลมใน Polar vortex รั่วออกมาจากขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ อย่างไรก็ตามหากกระแสลม Jet Stream อ่อนจนเกินไป กระแสลมอุณหภูมิต่ำที่ขั้วโลกจะหลุดรั่วออกจากขั้วโลกทำให้ลมหนาวขยายตัวลงไปทางทิศใต้ เป็นเหตุให้พื้นที่ที่ลม Polar vortex รั่วออกมามีอุณหภูมิเย็นลง
ลม Polar Vortex มีส่วนช่วยทำให้เกิดรูโหว่โอโซนในขั้วโลกใต้อย่างไร?
ในช่วงเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม กระแสลม Polar vortex จะมีกำลังมากขึ้นซึ่งจะหมุนวนรอบขั้วโลกเกิดเป็น Jet Stream ที่แข็งแรงหมุนวนรอบพื้นที่ขั้วโลกใต้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Atmospheric Container ซึ่งก็เป็นเหมือน Container ที่เก็บอากาศเย็นไว้ บวกกับในช่วงหน้าหนาวนี้ขั้วโลกใต้จะเจอกับแสงอาทิตย์น้อยมากทำให้อุณหภูมิบริเวณขั้วโลกใต้ลดต่ำลงไปถึง −80 °C
ที่อุณหภูมิเท่านี้ จะเกิดเมฆที่เรียกว่า Polar Stratospheric Clouds (PSCs) ซึ่งอธิบายง่าย ๆ ก็คือเมฆสตราโตสเฟียร์บริเวณขั้วโลก โดยมีสามชนิด คือ Nitric acid trihydate clouds, slowly cooling water-ice clouds และ rapid cooling water-ice (nacreous) clouds ซึ่งเมฆเหล่านี้จะทำให้ปฏิกิริยาที่เรียกว่า Ozone Depletion หรือการสลายโอโซนขึ้น เนื่องจาก PSCs ทำให้สารเคมีที่เรียกว่า Ozone-Depleting Substances (ODS) ทำปฏิกิริยาทำลายโอโซนรุนแรงมากขึ้น
สารเคมี Ozone-Depleting Substances (ODS) ก็เช่น สารเคมีจำพวก Chlorine อย่าง Chlorofluorocarbons (CFCs) รวมถึง Active Bromine และ Chlorine ซึ่งมาจากสารเคมีต่าง ๆ ที่มนุษย์ทำขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา Ozone Depletion ในปี 2020
อ้างอิง
Large, Deep Antarctic Ozone Hole Persisting into November
NASA Ozone Watch
และ https://spaceth.co/