Sentence and clause
Sentence คือ ข้อความที่พูดออกมาแล้วได้ความหมายสมบูรณ์ ฟังรู้เรื่องซึ่งส่วนมากจะมีประธาน (Subject) และกริยา(Verb)มาด้วยกันเสมอ เช่น The bird flied. นกบิน หรืออาจจะเป็นคำคำเดียวก็ได้ ถ้าฟังกันรู้เรื่องโดยเฉพาะประโยคคำสั่งที่มักจะเป็นคำกริยาคำเดียว เช่น Shoot. ยิงได้, Go. ไปซิ, Come here. มานี่, Look out. ระวัง เป็นต้น
Clause คือประโยค Sentence หลายประโยครวมกันอยู่ คือถ้าอยู่ตามลำพังจะเป็น Sentence ถ้ารวมกันอยู่จึงจะเป็น Clause. เช่น เป็น Sentence เพราะอยู่ตามลำพัง : I know. ผมรู้ : How old is he ? เขาอายุเท่าไร?
เป็น Clause เพราะรวมกันอยู่ : I know how old he is. ผมรู้เขาอายุเท่าไร.
ชนิดของ Sentence
Sentence แย่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
1. Simple Sentence (เอกัตถะประโยค) หมายถึงประโยคที่มีกริยาแท้หรือกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว (คือจะมีประธานกับกริยา) ส่วนอย่างอื่นจะมีมากหรือน้อยอย่างไรก็ได้ เช่น
That girl cooks her breakfast by herself. เด็กหญิงคนนั้นทำอาหารเช้าของเธอด้วยตัวเธอเอง
2. Compound Sentence (อเนกัตถะประโยค) หมายถึงประโยคใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยประโยคเล็กของ Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป โดยอาศัย Conjunction (and, or, as, but) เป็นตัวเชื่อม เช่น
(Simple Sentence) = He open the door. เขาเปิดประตู
(Simple Sentence) = He walked into the room. เขาเดินเข้าไปในห้อง
(Compound Sentence) = He open the door and walked into the room. เขาเปิดประตูและเดินเข้าไปในห้อง
3. Complex Sentence (สังกรประโยค) หมายถึงประโยคใหญ่ที่ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค โดย 2 ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากัน นั่นคือประโยคหลัก Main Clause (มุขยประโยค) ที่มีใจความสมบูรณ์ และประโยครอง Subordinate Clause(อนุประโยค) ที่ต้องอาศัยประโยค Main Clause จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น..
Complex Sentence = This is the house that I bought last year. นี่คือบ้านที่ผมซื้อไว้เมื่อปีที่แล้ว
Main Clause = This is the house.
Subordinate Clause = that I bought last year.
4. Compound Complex Sentence (อเนกัตถะสังกรประโยค) หมายถึงประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่ โดยอีกประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กแทรกซ้อนอยู่ภายใน เช่น Compound Complex Sentence = I couldn’t remember what his name is, but I will ask him. = ฉันจำไม่ได้ว่าเขาชื่ออะไร แต่ฉันจะถามเขา
ชนิดของ Subordinate Clause
Subordinate Clause (อนุประโยค) คือประโยคที่ไม่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง จะต้องไปอาศัยประโยคหลักหรือประโยคใหญ่เสียก่อน แล้วเนื้อความของมันจึงจะฟังเข้าใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. Noun Clause (นามานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนาม หรือเสมือนนาม ซึ่งลักษณะของประโยค Noun Clause จะขึ้นต้นประโยคของมันเองด้วยคำต่อไปนี้ คือ :- what, that, which, where, when, why, who, whom, whose, how. ซึ่ง Noun Clause นี้ย่อมทำหน้าที่ได้หลายอย่างในหลักไวยากรณ์ เช่นเดียวกับนามทั่วไป คือ
(1) เป็นประธานของกริยา เช่น Where he stays is not answered.
(2) เป็นกรรมของกริยา เช่น.. I know where he lives.
(3) เป็นกรรมของ Preposition เช่น She is waiting for what she wants.
(4) เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา เช่น The books are what they want.
(5) เป็นนามซ้อนนามของนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น The news that he was dead is not true.
2. Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์(Adjective)ขยายนามที่อยู่ข้างหน้าของมัน ซึ่งลักษณะของ Adjective Clause นั้นจะต้องขึ้นต้นประโยคด้วยคำต่อไปนี้ คือ which, where, when, why, who, whom, whose, of which, that(และอาจจะขึ้นต้นด้วยคำเหล่านี้ด้วย คือ as(เช่นเดียวกันกับ), but(ผู้ซึ่งไม่), before(ก่อนวันที่), after(หลังจากวันที่) และหน้าคำเหล่านี้ต้องเป็นคำนามด้วย(หากหน้าคำเหล่านี้เป็นคำกริยา ไม่ใช่นาม ประโยคนั้นก็จะเป็นประโยค Noun Clause ไป)
เช่น He reads the book which I gave him. เขาอ่านหนังสือที่ผมได้ให้เขาไป
3. Adverb Clause (วิเศษณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เหมือน Adverb (กริยาวิเศษณ์)ทั่วๆไป เพื่อทำหน้าที่ขยายกริยาในประโยคหลัก(Main Clause) ซึ่ง Adverb Clause แบ่งออกเป็น 9 ชนิดคือ
1. Adverb Clause ที่แสดงลักษณะอาการ(Manner) จะขึ้นต้นด้วยคำว่า as, as if, as hough.
2. Adverb Clause ที่แสดงสถานที่(Place)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า where, wherever, as far as, as near as.
3. Adverb Clause ที่แสดงเวลา(Time)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า when, e, while, since, as, before, after, until, as soon as, as long as, all the time(that).
4. Adverb Clause ที่แสดงเหตุผล(Reason)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า because, as, since, seeing, that, now that.
5. Adverb Clause ที่แสดงความมุ่งหมาย(Purpose)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า so as, in order that, for the purpose, that, for fear that.
6. Adverb Clause ที่แสดงการยอมรับ(Concession)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า although, thought, even thought, even if.
7. Adverb Clause ที่แสดง การเปรียบเทียบ(Comparison)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า as + Adjective + as, as + Adverb + as, not so + Adjective + as, not so + adverb + as.
8. Adverb Clause ที่แสดง เงื่อนไขหรือสมมติ(Condition)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า if, if only, unless, whether, supposing that, provided that, on condition that, in case.
9. Adverb Clause ที่แสดงผล(Result)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า so that, so….that, such….that, so…as to.