Starlink เปิดตัว Elon Musk ก็ชูเลยว่า มันจะเป็นบริการเน็ตดาวเทียมที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถติดตั้งเองได้ คุณภาพการเชื่อมต่อให้ความรู้สึกไม่ต่างจากเน็ตบ้าน และที่สำคัญคือค่าบริการถูก คุ้มค่ากว่าบริการเน็ตดาวเทียมอื่น ๆ ในปัจจุบัน
เป็นดาวเทียม LEO วงโคจรต่ำ อยู่ใกล้กับโลกขนิดแทบจะมองเห็นด้วยตาเปล่าก็ยังได้ ตรงนี้มีเหตุผลสำคัญคือ เพื่อลด Latency หรือลดระยะเวลาการเชื่อมต่อให้น้อยที่สุด (หาก Latency เยอะ ก็จะถูกเกมเมอร์เรียกว่า “Ping”) โดยจะมีความหน่วงที่ 20 – 40 ms เท่านั้น ทว่าการนำดาวเทียมมาจ่ออยู่ใกล้โลกแบบนี้ ก็ส่งผลให้ต้องใช้ดาวเทียม Starlink จำนวนไม่น้อย เพราะยิ่งเข้าใกล้โลก ระยะสัญญาณเน็ตจากดาวเทียบก็จะยิ่งแคบ หากอยู่ห่างออกไปกว่านี้ก็จะครอบคลุมกว่า ไม่ต้องใช้ดาวเทียมเยอะ ทว่าคุณภาพการเชื่อมต่อจะแย่ลงอย่างแน่นอน
ประโยชน์ของ Starlink
อย่างที่กล่าวไปในเกริ่นแรก หากมีเน็ตจากดาวเทียมแล้ว ก็ทำให้หมดปัญหาพื้นที่อับสัญญาณจริง ๆ บริเวณที่เน็ตมาไม่ถึง อาทิ กลางเขา กลางทะเล และกลางป่า แต่ก็มีอีกข้อดีสำคัญคือ “เน็ตนี่นี้เราจอง” เป็นของเรา ควบคุมโดยเรา ใช้งานเพียงหนึ่งครัวเรือน คุณภาพความเร็วอินเทอร์เน็ตจาก Starlink ก็จะอยู่ที่ 50 – 150 Mb/s และมีความหน่วง 20 – 40 ms พอเล่นเกมออนไลน์ได้ และความเร็วประมาณนี้ก็เพียงพอต่อการเปิดเว็บ ดูหนัง ฟังเพลงได้สบาย ๆ แล้ว แต่อาจไม่แนะนำให้โหลดไฟล์ความจุสูง
แม้ Starlink จะไม่ยืนยันว่าผู้ที่ลงชื่อจองคิวจะสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตดาวเทียมได้จริงๆ แต่ดูเหมือนว่า Elon Musk ผู้เป็น CEO จะค่อนข้างมั่นใจในบริการของตัวเองพอสมควร เพราะเจ้าตัวโพสต์ข้อความใน Twitter บอกเองว่า “ข้อจำกัดเดียวที่มีคือความหนาแน่นในพื้นที่เขตเมือง และคาดว่าผู้ที่ลงชื่อจองคิวไว้ทั้ง 500,000 คน จะสามารถใช้บริการได้ทั้งหมด”
สำหรับจุดเด่นของบริการอินเตอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ของ Elon Musk คือ การให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม 12,000 ดวงทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.21 แสนล้านบาท โดยในขณะนี้ Starlink มีการปล่อยดาวเทียมไปแล้ว 1,500 ดวง ซึ่งดูเหมือนจะยังห่างไกลจากเป้าหมาย 12,000 ดวงอยู่มาก และอาจต้องใช้เวลานานอีกหลายปี
แหล่งที่มา : https://www.starlink.com/ และ https://www.techhub.in.th/