การที่นำ้ทะเลเค็ม เหตุผลที่นำทะเล “เค็ม” เพราะน้ำฝนได้ชะล้างสารละลายจำพวกเกลือและแร่ธาตุต่าง ๆ ไหลไปตามแม่น้ำลำธาร แล้วไหลไปสะสมไว้ในทะเล เมื่อน้ำทะเลระเหย สารละลายต่าง ๆ ก็มิได้ระเหยขึ้นไปด้วย ในท้องทะเลจึงมีสารละลายจำพวกเกลือสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก น้ำทะเลจึงเค็มมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้นบางทฤษฎีก็กล่าวว่า ความเค็มของน้ำทะเลไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เพราะในมหาสมุทรมีกระบวนการของธรรมชาติที่รักษาระดับความสมดุลของเกลือแร่ คือ ถ้าหากว่าธาตุชนิดใดมีในน้ำมากเกินกว่าปกติ ก็จะถูกกำจัดออกจากน้ำทะเลโดยการแยกตัวออกเป็นของแข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีธาตุใดละลายน้ำน้อยเกินปกติ เกลือแร่ของธาตุนั้นในรูปของแข็ง ก็จะถูกละลายกลับสู่น้ำทะเล ดังนั้น ความเค็มของน้ำทะเลจึงคงที่มาหลายล้านปีแล้วนั่นเองเกลือที่ละลายอยู่ในทะเลและมหาสมุทรมาจากไหน
ในตอนเริ่มแรกเชื่อว่าเกลือที่ละลายอยู่ในทะเลและมหาสมุทรนั้นมาพร้อมกับน้ำที่ไหลลงมาจากทวีป กล่าวคือ น้ำฝนจะชะล้างเกลือที่มีอยู่ในดินและหินก่อนที่จะ
ไหลลงทะเลและมหาสมุทร การยืนยันแนวความคิดนี้ทำโดยการวัดปริมาณเกลือที่แม่น้ำและลำธารก่อนลงสู่ทะเล หรือดูจากปริมาณเกลือที่หายไปจากหินบนเปลือกโลก
เพราะกระบวนการกัดกร่อนผุพัง ผลการศึกษาพบว่า เกลือหลายชนิดมีปริมาณสอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่ในเปลือกบนทวีป เช่น เกลือของโซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียมและโพแทสเซียม
โลกมีน้ำปกคลุม 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่ามีประชากรโลกมากถึง 1 ใน 5 ที่กำลังประสบภาวะขาดแคลนน้ำ
หากว่ากันด้วยชุดข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ ปริมาณน้ำที่ว่าเยอะในโลกนั้นเป็นน้ำเค็มไปแล้วถึง 97.5% ในขณะที่น้ำจืดมีเพียงราวๆ 2.5% เท่านั้น และที่สำคัญในจำนวน 2.5% กลับมีน้ำบนผิวดินที่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้เพียง 0.3% ซึ่งไม่สัมพันธ์กับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของจำนวนประชากรเลยสักนิด
มีรายงานขององค์การสหประชาชาติที่ทำนายเอาไว้ว่า ภายในปี 2568 ประชากรกว่า 7,000 ล้านคนจาก 60 ประเทศจะประสบภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรง ซึ่งพื้นที่ที่ประสบกับการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในขั้นวิกฤตจะมีอัตราการใช้น้ำอยู่ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร / คน / ปี
ถึงตรงนี้ แม้เราจะไม่ยกข้อเท็จจริงหรือสถิติมาอ้างอิงเพิ่มเติม แต่ทุกคนต่างรู้กันว่าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ทุกวันนี้จึงไม่มีใครตั้งคำถามว่า ‘ทำไมเราต้องอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ’ แต่เราต้องช่วยกันสงสัยว่า ‘เราจะแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำได้ยังไงบ้าง’
ลองไปดูกันว่าในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกเขาแก้ปัญหานี้กันยังไง แล้วพวกเราคนธรรมดาทั่วไปทำยังไงได้บ้าง
กลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืดใช้ดื่มกิน
ประเทศอิสราเอลมีแหล่งน้ำจืดอยู่ในมือประมาณ 1,450 ล้านลูกบาศก์เมตร / ปี สำหรับใช้อุปโภคบริโภคในภาคครัวเรือนประมาณ 850 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของปริมาณน้ำที่มีอยู่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นหากจะพึ่งพาเพียงน้ำจืดตามธรรมชาติอย่างเดียวก็คงจะไม่เพียงพอ ทางออกหนึ่งที่สำคัญของอิสราเอลคือการกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด
ปัจจุบันอิสราเอลมีโรงงานผลิตน้ำจืดจากทะเลหรือการสกัดแยกเกลือออกจากน้ำทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Reverse Osmosis (RO) ซึ่งใช้กระบวนการ Membrane ที่มีความละเอียดถึง 0.0001 ไมครอนในการกรองสารละลาย สิ่งปนเปื้อน และเชื้อโรคต่างๆ ออก จนได้น้ำจืดที่บริสุทธิ์ไหลผ่านออกมา
โดยตอนนี้อิสราเอลมีโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ 5 แห่ง ตั้งอยู่ที่เมืองอัชเคลอน, พัลมาชิมซอเร็ก, ฮาเดรา, แอชดอด และโรงงานขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่เมืองซอเร็ก โดยปัจจุบันปริมาณน้ำดื่มกว่าร้อยละ 80 ในอิสราเอลมาจากการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลด้วยวิธีการดังกล่าว จนสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานกว่า 71 ปีในอิสราเอลได้
ขอบคุณขอมูล https://adaymagazine.com/