Mobility-as-a-Service หรือ แมส (Maas) มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีนี้ในปัจจุบัน ตัวอย่างผู้ให้บริการแมสรายใหญ่ 2 รายคือ อูเบอร์ (Uber) ของสหรัฐฯ กับ ตี๊ตี๊ (DiDi) ของจีน ข้อมูลปี พ.ศ.2560 ระบุว่ามูลค่าของบริษัทตี๊ตี๊อยู่ที่ราว 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่อูเบอร์มากกว่าคือ 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่น่าสนใจคือ ตี๊ตี๊ เป็นบริษัทที่โตอย่างก้าวกระโดดจากการเทคโอเวอร์บริษัทอูเบอร์ในจีน เมื่อปี พ.ศ.2559
ปัจจุบัน นอกจากการนำผู้โดยสารไปยังที่หมายแล้วยังบริการส่งของต่างๆ อย่างบริการ GrabFood และ Line Man ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้สถาบันวิจัย BIS Research ประเมินว่าอนาคตอันใกล้ ตลาดของแมสกำลังเติบโตด้วยความเร่ง โดยปัจจัยสำคัญคือ ความสามารถในการสร้างแพลตฟอร์มการให้บริการยานพาหนะ และความสามารถในการให้บริการแบบ On Demand รวมถึงการสนับสนุนอย่างเหมาะสมโดยภาครัฐ
ซึ่งเจ้าของแนวคิดนี้คืออดีตวิศวกรและนักธุรกิจชาวฟินแลนด์ที่มีชื่อว่า Sampo Hietanen ปัจจุบันเขาเป็น CEO ของ MaaS Global บริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทั้งของภาครัฐ และเอกชนเข้าด้วยกันผ่านแอปพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Whim ซึ่งรวมเอาบริการขนส่งสาธารณะตั้งแต่รถบัส ยันเรือเฟอร์รี่ รถแท็กซี่ รถเช่า จักรยาน ไปจนถึงพาหนะเท่าที่คนจะเลือกโดยสารได้เข้าไว้ด้วยกัน ผู้ใช้บริการสามารถเช็คตารางเวลา เช็คพาหนะที่ดีที่สุดสำหรับเส้นทาง ไปจนถึงจองตั๋วเบ็ดเสร็จได้ในแอพเดียว ไม่เท่านั้น นอกจากการเดินทางรายเที่ยว Whim ยังมีการให้บริการการเดินทางแบบแพ็กเกจเหมาจ่าย คล้ายคลึงกับรูปแบบของ Netflix หรือ Amazon ซึ่งสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่มักรู้ตารางเวลาชีวิตของตนเองและจำเป็นต้องเดินทางอยู่แล้ว ทำให้เมืองใหญ่ของฟินแลนด์แห่งนี้เป็นเสมือนเมืองต้นแบบของระบบ MaaS ที่ทั่วทั้งโลกต่างจับจ้องเอาเป็นแบบอย่าง และไม่ใช่แต่เพียงในเฮลซิงกิเท่านั้น หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกอย่าง ปารีส โกเธนเบิร์ก มองเปลิเยร์ เวียนนา ฮันโนเวอร์ ลาสเวกัส ลอสแองเจลิส เดนเวอร์ บาร์เซโลนา หรือกระทั่งเพื่อนบ้านเราอย่างสิงค์โปร์ ก็กำลังเริ่มนำแนวคิดนี้เข้ามาทดลองใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
ว่ากันตามตรงด้วยการขยายตัวของเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งไม่ได้กระจุกอยู่ ณ เมืองหลวงแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ระบบคมนาคมที่แข็งแกร่งและเอื้อต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในเมือง ไม่เพียงแต่จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นตัวตัดสินความก้าวหน้าของเศรษฐกิจประเทศในอนาคตก็เป็นได้ โดยเฉพาะเมื่อผลการสำรวจของบริษัท ที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกอย่าง Deloitte ในกลุ่มคน Gen Y ทั่วโลกชี้ให้เห็นว่า แม้คนรุ่นใหม่จะรักความยืดหยุ่นและความอิสระเพียงใด แต่โดยภาพรวมแล้วคนยุคมิลเลนเนียลกว่า 65% ทั่วโลก (คิดเป็น 70% ของกลุ่มตลาดประเทศพัฒนา กับ 61% ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่) ก็ยังปรารถนาที่จะทำงานประจำแบบเต็มเวลามากว่างานฟรีแลนซ์อยู่ดี นั่นหมายความว่าการเดินทางไปทำงานยังเป็นเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น และระบบคมนาคมที่เหมาะสมตลอดจนสามารถตอบสนองต่อวิถีชีวิตของพวกเขาได้ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด
ขอบคุณข้อมูล https://thematter.co/