1. การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้ เข้าใจง่ายขึ้น ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ และโครงกระดูกมนุษย์
ปัจจุบันการกำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี แบบแผนการดำรงชีพและสังคม ยุคสมัยทางธรณีวิทยา นำมาใช้ร่วมกันในการกำหนดยุคสมัย โดยสามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
1.1) ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ 500,000 ถึง 4,000 ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ดังนี้
ยุคหินเก่า (500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ) เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษยชาติ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ ในระยะแรก เครื่องมือจะมีลักษณะหยาบ โดยนำหินกรวดแม่น้ำมากะเทาะเพียงด้านเดียวและไม่ได้กะเทาะหมดทั้งก้อน ใช้สำหรับขุดสับและสับตัด มนุษย์
ในยุคหินเก่า ดำรงชีวิตอย่างเร่ร่อน ล่าสัตว์และหาของป่ากินเป็นอาหาร
ยุคหินกลาง (10,000 – 6,000 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหิน ที่มีความประณีตมากขึ้นและมนุษย์ในยุคหินกลางเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่ม เป็นสังคมมากขึ้น
ยุคหินใหม่ (6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินขัดเป็นมันเรียบ เรียกว่า ขวานหินขัด ใช้สำหรับตัดเฉือนแบบมีดหรือต่อด้ามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขุดหรือถาก มนุษย์ยุคหินใหม่มีความเจริญมากกว่ายุคก่อน ๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็น หลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำภาชนะดินเผา
1.2) ยุคโลหะ เป็นช่วงที่มนุษย์มี พัฒนาการด้านการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยรู้จักการนำแร่ธาตุมาถลุงและหลอมใช้หล่อทำเป็นอาวุธหรือเครื่องมือและ เครื่องประดับต่าง ๆ แบ่งสมัยได้ตามวัตถุของโลหะ คือ
ยุคสำริด (4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด(ทองแดงผสมดีบุก) ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ายุคหิน อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
ยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่าง
2) สมัยประวัติศาสตร์
เป็นยุคสมัย ที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้แล้ว โดยได้มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคสมัยนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร มักพบอยู่ตาม ผนังถ้ำ แผ่นดินเหนียว แผ่นหิน ใบลาน และแผ่นโลหะ
ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ในระยะเวลาไม่เท่ากัน เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมความเจริญที่แตกต่าง กัน ดังนั้น สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล จึงแบ่งเป็น 3 ยุคย่อยๆ ดังนี้
2.1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่ม ตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรม เมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ และอารยธรรมกรีก โรมัน จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิถูกตีแตกโดยพวกอนารยชนในปี พ.ศ.1019
2.2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่ม ภายหลังจากที่กรุงโรม (จักรวรรดิโรมันตะวันตก)ถูกพวกอนารยชนตีแตกในปี พ.ศ.1019 จนกระทั่งในปี พ.ศ.1996 สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง เมื่อชนชาติเติร์ก ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล(จักรวรรดิโรมันตะวันออก)
กรุงคอนสแตนติโนเปิล
2.3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกตีแตก เมื่อ ปี พ.ศ.1996 เป็นต้นมา จนกระทั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2488 มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ เช่น การปฏิรูปศาสนา การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ทางด้านเศรษฐกิจ มีการขยายตัวทางการค้าทางเรือสำเภา การแสวงหาดินแดนใหม่และปฏิวัติอุตสาหกรรม
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ทางยุโรป เยอรมันยอมแพ้ เมื่อผ่ายสัมพัธมิตรยกพลขึ้นบกที่ “ หาดนอ์มังดี “ วันที่ 7 พฤษภาคม 1945
2. ทางเอเชีย เมื่อสหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูที่ เมือง ฮิโรชิมา( วันที่ 6 สิงหาคม 1945 ) และ เมือง นางาซากิ
3) การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
นักประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง ดังนี้
3.1) แบ่งตามสมัยหรือตามเวลาที่เริ่มมีตัวอักษร โดยแบ่งได้ 2 สมัย ดังนี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ยุคที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็นยุคหิน(ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ(ยุคสำริด ยุคเหล็ก) โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยตามลำดับ
สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ จากหลักฐานที่ค้นพบได้แก่ หลักศิลาจารึก
3.2) แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้ มีการแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักร ทวารวดี(นครปฐม) อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) อาณาจักรศรีวิชัย(สุราษฎร์ธานี) อาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน)
3.3) แบ่งยุคสมัยตามราชธานี เป็น การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ตามราชธานี ของไทยเรียงความลำดับ เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์
3.4) แบ่งยุคสมัยตามพระราชวงศ์ เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมัยราชวงศ์สุโขทัย สมัยราชวงศ์ปราสาททอง สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยทั้งหมดเป็นชื่อ พระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา ราชวงศ์จักรี ในสมัยรัตนโกสินทร์
3.5) แบ่งยุคสมัยตามรัชกาล เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นครองราชย์อยู่ ได้แก่ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3.6) แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย โดยถือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
-ขอบคุณ แหล่งข้อมูล https://sites.google.com/site/dekgerbdeecom/home/tawxyang-ni-hlak-than-thang-prawatisastr