Social Distancing หรือการเพิ่มระยะห่างทางสังคม
รู้จัก “Social distance” เพิ่มระยะห่างเข้าสังคมสู้ COVID-19
การเพิ่มระยะห่างในการเข้าสังคม และชาวโซเชียลที่พากันออกมาบอกเล่าถึงการเพิ่มระยะห่างทางสังคม เพื่อชะลอการแพร่กระจายเชื้อ เป็นข้อเสนอที่เริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้น เช่น การปิดสถานศึกษาเรียนผ่านออนไลน์ การยกเลิกการประชุม ทำงานที่บ้าน ยกเลิกการนัดหมายพบปะสังสรรค์ หลีกเลี่ยงการใช้บริการฟิตเน็ต ร้านตัดผม ร้านอาหาร ผับ บาร์ หรือสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัดต้องใกล้ชิดกับผู้อื่น
ซึ่งขณะนี้เริ่มจากการอธิบายแบบง่ายผ่านรูปแบบการ์ตูน ซึ่งขายหัวเราะ ได้เสนอเป็นอาสาสมัครในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล วิธีปฏิบัติต่างๆ ในรูปแบบการ์ตูน หรือรูปแบบอื่นใดก็ตาม เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้นในช่องทางที่มากขึ้น โดยล่าสุดได้วาดการ์ตูนที่มีเนื้อหาว่า อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ…
Social Distancing ระยะห่างระหว่างบุคคล หนึ่งในวิธีที่ลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ด้วยการอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะปลอดภัยจากฝอยละอองน้ำลาย เวลาคุยกัน และไม่รวมกลุ่มกันจำนวน มากๆ
อเมริกาเคยใช้ในช่วงไข้หวัดใหญ่ระบาด
การเว้นระยะห่างทางสังคม เคยถูกใช้ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ปี 1918 โดยเปรียบเทียบ 2 เมืองของสหรัฐอเมริกา คือ ฟิลาเดลเฟีย ที่ไม่ใช้มาตรการนี้ กับเมืองเซนต์หลุยส์ ที่สั่งปิดโรงเรียน โบสถ์ โรงมหรสพ หลังการระบาดในช่วง 6 เดือนเท่ากัน เซนต์หลุยส์ มีผู้เสียชีวิตหลักพันคน ขณะที่ฟิลาเดลเฟีย เสียชีวิตนับหมื่นคน นี่จึงไม่ใช่มาตรการใหม่ และในหลายประเทศ รวมถึงบางส่วนในไทยก็เริ่มทำกันบ้างแล้ว
เหตุผลของ social distancing social มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ชี้ชัดว่า ยิ่งใช้มาตรการนี้เข้มข้นมากเท่าไหร่ การแพร่กระจายเชื้อก็จะยิ่งช้าลง ข้อมูลนี้ได้มาจากวอร์ชิงตัน โพสต์ ที่ชี้ให้เห็นแบบจำลองการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ซึ่งพบว่า หากรัฐไม่มีมาตรการอะไรเลย จะไม่สามารถชะลอการแพร่กระจายเชื้อได้
โมเดล 1 ผู้ศึกษาใช้สัญลักษณ์เป็นวงกลม 3 สี สีส้ม หมายถึง ผู้ป่วย หรือ ติดเชื้อโควิด-19 สีฟ้า คือ สุขภาพดี ส่วนสีม่วงคือรักษาหายแล้ว คุณผู้ชม สังเกตที่วงกลมสีส้ม จะพบว่า ไปได้ทั่ว และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว กราฟผู้ติดเชื้อด้านบนก็จะเพิ่มขึ้นเร็วมากเช่นกัน
โมเดลที่ 2 ผู้ศึกษาจำลองกรณีการบังคับให้กักตัว หรือ forced quarantine หรือปิดเมือง วิธีนี้จะเห็นว่า การไหลไปของจุดสีส้มทำได้ช้ากว่าโมเดลแรก พูดง่ายๆ ว่าชะลอได้ เหมือนกับที่ มณฑลหูเป่ย ในจีน ที่ออกคำสั่งเข้มงวดได้ แต่สำหรับบางประเทศที่ไม่เข้มข้นเท่า โอกาสแพร่เชื้อก็ยังสูง
โมเดลที่ 3 ใช้อธิบายเมื่อมีประชาชนในเมือง 1 ใน 4 เดินไปไหนมาไหนตามปกติ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ พยายามใช้วิธีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือ social distancing เช่น ในอิตาลี ที่มีการปิดร้านอาหาร จีนก็ปิดเกือบทุกสถานที่ ทำให้การติดเชื้อระหว่างกันลดลงไปไม่น้อย แต่ที่เห็นผลว่า ชะลอการแพร่เชื้อได้ชัดเจน
โมเดลที่ 4 มีการเพิ่มความเข้มข้นของ social distancing อนุญาตให้เพียง 1 คน จากทุกๆ 18 คน เว้นระยะห่างกันและกัน การชะลอของโรคระบาดเกิดขึ้นช้า
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล https://news.thaipbs.or.th/content/289891 และ https://thestandard.co/social-distancing/