โลกเรากำลังเข้าใกล้ยุคดิจิตอลแบบเต็มตัวเข้าไปทุกที เรียกได้ว่านวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งระบบเทคโนโลยี แก็ตเจ็ท รวมถึง Innovation ต่างๆ ที่เราเห็นในภาพยนตร์หลายๆ เรื่องนั้นกำลังเกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน และผู้ผลิตสินค้าหลายรายได้หันเหทิศทางไปทุ่มกำลังในการผลิตและจัดจำหน่าย รวมถึงนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานมากขึ้น จนเกิดเป็น 9 นวัตกรรมใหม่ที่เราจะพาชาว Gen-C ไปรู้จักกันครับ
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำศัพท์ที่ได้ยินกันเป็นอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาและใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการใช้คำว่า นวัตกรรม ในคำโฆษณาสินค้าเกือบทุกประเภท งานเกือบทุกงาน
“นวัตกรรม” มีความหมายว่าอย่างไร แล้วแต่ละวงการ มีความเข้าใจคำว่า นวัตกรรมเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร ผู้เขียนจึงได้ลองไปศึกษาจากหลากหลายแหล่งแล้วลองนำความหมายมา สร้างกลุ่มคำร่วมที่เข้าใจง่ายออกมาเป็น “#EasyInnovation Model” นิยามนวัตกรรมแบบที่เข้าใจได้ง่ายและสามารถหยิบไปใช้งานได้จริง
สิบปากว่าไม่เท่าเห็นของจริงลองข้ามขีดความท้าทายของความสับสนมาลองอ่านสักเล็กน้อย … แล้วคุณจะรู้ว่า “นวัตกรรม : Innovation” เป็นเรื่องง่ายและ ใกล้ตัวมากกว่าที่คิดยิ่งนัก
3 วงหลักประกอบร่างกลายเป็นนวัตกรรม
แต่การที่จะเรียกของสิ่งใดว่าเป็นนวัตกรรมเราต้องทำการพิจารณาของสิ่งนั้นเทียบกับบริบทและสภาพแวดล้อม (Context & Content) เสียก่อน โดยการเทียบเคียงกับ 3 กลุ่มคำ คือ Thing + New + Value
“THING”
ถ้าเราแปลความหมายตามพจนานุกรมเราจะได้ความหมายว่า สิ่งของ สิ่งที่เกิดขึ้น รายละเอียด จุดประสงค์ งานที่ต้องทำ สำหรับครั้งนี้เราใช้ “THING” แทนความหมายของสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการทำออกมาแล้ว โดยแบ่งออกเป็นประเภทย่อยที่สุดได้ 4 ประเภท คือ
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- กระบวนการ (Process)
- การบริการ (Service)
- รูปแบบธุรกิจ (Business Model)
นั่นแปลว่า…ขอบข่ายของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “THING” สามารถเป็นได้ทั้งสินค้า บริการ กระบวนการ หรือโมเดลต่าง ๆ ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
“NEW”
หมายถึง ความใหม่ แต่ถ้าพูดคำว่าใหม่ลอย ๆ อาจจะเกิดอาการถกเถียงกันว่าใหม่ของฉันแต่อาจจะไม่ใหม่ของเธอ ใหม่ของประเทศแต่อาจจะไม่ใหม่สำหรับโลกใบนี้ จึงเป็นข้อถกเถียงกันเสมอว่า นวัตกรรมต้องใหม่แค่ไหน จึงจะเรียกว่านวัตกรรม สำหรับความใหม่นั้น ผู้เขียนขอหยิบมาตรฐานที่สามารถอ้างอิงให้เราสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น คือ BS-7000 : 2008 หรือเรียกชื่อเต็มว่า British Standard 7000 – 2008 : Managing Innovation ซึ่งได้อธิบายนิยามของคำว่า”ใหม่” ไว้ว่ามี 9 ระดับด้วยกัน ซึ่งความใหม่ที่แตกต่างกันนั้นแสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการพัฒนา นำเสนอ หรือการได้มาซึ่งรางวัล หรือสิ่งตอบแทนที่แตกต่างกัน และเป็นระดับของนวัตกรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย
ดังนั้นระดับความใหม่ของนวัตกรรม มีได้หลายระดับ ผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับอุตสาหกรรมแต่ไม่ใหม่ในประเทศ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรมนั่นเอง หรือบางครั้งเราสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาของตัวเองในแบบที่ตัวเรายังไม่เคยทำมาก่อน ก็เรียกว่าได้ว่า เป็นนวัตกรรมระดับบุคคล (ใหม่สำหรับตัวเอง) ได้เช่นกัน
“VALUE”
“คุณค่า” คือ กลุ่มคำสำคัญที่ขาดไม่ได้ สำหรับนิยามของนวัตกรรม นั่นคือ สิ่งใหม่นั้นจะเกิดคุณค่าได้จริงก็ต่อเมื่อมีผู้นำไปใช้งาน (User) แล้วเท่านั้น หรือพูดอีกแง่คือ มีผู้ใช้งานหรือผู้ที่ได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น (THING) นั่นเอง โดยเราสามารถพิจารณาคุณค่าเบื้องต้นจากสามเหลี่ยม “Value to Customer” ว่ามีคุณค่าอยู่ 3 ประเภทที่ลูกค้าต้องการ
- Gain Creator การได้รับผลตอบแทน / ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น มากขึ้น
- Reduce Pain Point การลดความเจ็บปวด หรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสามารถมองให้ละเอียดขึ้นเป็น 4 มิติของปัญหา ได้แก่
Man = คน
Machine = เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์
Material = วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
Method = กระบวนการ วิธีการ - Emotional Contribution การสร้างอารมณ์ร่วม หรือคุณค่าบางอย่างให้เกิดขึ้นได้ในใจของลูกค้า หรือผู้ใช้งาน
โดยสรุป คือ นวัตกรรม = THING + NEW + VALUE ซึ่งในนิยามตามแนวทางของ #EasyInnovation คือ สิ่งที่สร้างสรรค์ พัฒนา ปรับปรุงขึ้นมาใหม่และ เกิดคุณค่า/ประโยชน์ โดยจะเป็นนวัตกรรมในระดับไหนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับระดับของความใหม่ และเป็นนวัตกรรมประเภทไหนนั้นก็กลับมาดูที่ “THING” นั่นเอง
นวัตกรรมใหม่ ในโลกดิจิตอล
1. AI หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ปัญญาประดิษฐ์” คือ การนำสติปัญญาของเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวแทนของมนุษย์ เช่น Robot ที่เราเริ่มเห็นถูกนำมาใช้แทน Customer Service อย่างมนุษย์มากขึ้น
2. VR แว่น VR ทำให้เราเล่นเกม ดูหนัง หรือออกแบบบ้าน มองผ่านภาพ 3 มิติได้เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น
3. Wearables อุปกรณ์สวมใส่ช่วยบันทึก จดจำหรือประเมินค่า ข้อมูลส่วนตัวของบุคคล มีทั้งรูปแบบสายรัดข้อมือ นาฬิกา กำไลหรือแม้กระทั่งแหวน
4. Video Consumption นอกจาก Youtube จะเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างคอนเท้นท์ปัจจุบัน ยังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของโลกอนาคตที่จะทำให้คนเริ่มหันมาเล่าเรื่องผ่านวิดีโอ ซึ่งทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่า
5. Mobile Payments คลิกเดียว โอน จ่าย ง่ายผ่านมือถือด้วยแอปที่ธนาคารต่างๆ ทำขึ้นมา
6. Smart Home บ้านอัจฉริยะ อยู่สบาย และอำนวยความสะดวกให้ผู้อยู่อาศัย คือความท้าทายในการออกแบบบ้านปัจจุบัน
7. Connected Car สุดยอมความไฮเทคของรถยนต์ที่เชื่อมต่อทุกฟังก์ชั่นผ่านสมาร์ทโฟน
8. Drone เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าในการสร้างแบรนด์จากการถ่ายภาพด้วยโดรน
9. 3D Printing ระบบการพิมพ์แบบ 3 มิติ ถูกนำมาใช้กับ Mass Product ไปจนถึงแบรนด์ที่ทำสินค้าแบบ Tailor-made
ขอบคุณข้อมูล https://www.ananda.co.th/ และ https://www.schoolofchangemakers.com/