1.แอร์ติดผนังหรือแอร์วอลไทป์ (Wall Type)
เรามาเริ่มต้นที่แอร์บ้านที่เป็นที่นิยมที่สุด เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีไว้ติดอยู่ไม่ในห้องนอนก็ห้องนั่งเล่นอย่างแน่นอน ได้แก่แอร์ติดผนัง หรือเรียนอีกอย่างว่าแอร์วอลไทป์ (Wall Type) และด้วยความที่เป็นที่นิยมอย่างมากจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยแบรนด์เครื่องปรับอากาศชั้นนำของโลก ทำให้มีแอร์ติดผนังให้คุณเลือกหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแอร์วอลไทป์แบบอินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์คู่ (Dual Inverter Compressor) หรือแอร์ติดผนังประหยัดพลังงาน ก็มีให้ครบครัน โดยนอกจากนั้น BTU ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 9,000 BTU ไปจนถึง 20,000 BTU เลยทีเดียว จึงเหมาะกับการใช้ในบ้านมาก เช่นในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องดูโทรทัศน์
แอร์ ฝั่ง ติด เพดาน แอร์วอ ไท ติดผนัง
ข้อดีของแอร์ติดผนัง หรือแอร์วอลไทป์
มีแอร์ติดผนังให้เลือกหลากหลายรูปแบบและหลากหลายยี่ห้อด้วยเช่นกัน
รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย มาพร้อมฟังก์ชั่นที่ทันสมัย
การทำงานของแอร์วอลไทป์จะเงียบ
ซ่อมง่าย ทำนุบำรุงง่าย
ข้อเสียของแอร์ติดผนัง หรือแอร์วอลไทป์
แอร์วอลไทป์ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
2.แอร์แบบตั้งหรือแบบแขวน (Ceiling/floor type)
เป็นแบบที่ใช้หลักการคล้ายๆ กับแอร์ติดผนัง หรือแอร์วอลไทป์แต่จะเป็นแบบตั้งอยู่กับพื้นครับ หรืออาจเรียกได้ว่าแขวนอยู่ในระดับพื้นห้อง ซึ่งยังต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์และท่อต่อ จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ แต่ด้วยความที่อยู่ระดับพื้น จึงต้องดูตำแหน่งการวางให้ดี ไม่ให้แอร์ตีหน้าคนที่อยู่ในห้อง หรือวางในตำแหน่งที่สามารถกระจ่ายความเย็นได้อย่างทั่วถึง อย่างวางไว้ในพื้นที่อับๆ เพราะจะไม่สามารถกระจ่ายอากาศได้ดีครับ
แอร์ ฝั่ง ติด เพดาน แอร์วอ ไท ติดผนัง
ข้อดี
ติดตั้งง่าย ไม่ต้องทำนั่งร้านต่อขึ้นไปเพื่อวางแอร์หรือคอมเพรสเซอร์ต่างๆ
เปิดใช้แล้วทำให้รู้สึกถึงความเย็นได้รวดเร็วเพราะแอร์อยู่ในระดับตัวโดยตรง
ข้อเสีย
ไม่ค่อยมีรูปแบบดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย
ถ่ายเทความเย็นไม่ดีเท่าแอร์ติดผนังที่เป่าลมลงมาจากที่สูง อาจมีปัญหาความเย็นกระจุกอยู่ที่จุดๆ เดียว
3.แอร์ตู้ตั้ง (Package type)
หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับแอร์ตู้ตั้งเท่าไหร่ เพราะอาจไม่ค่อยเคยเห็นใช้เยอะในบรรดาแอร์ใช้ในบ้านเท่าไหร่ เนื่องจากส่วนมากแอร์ตู้จะมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้น มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ตัวอย่างที่หลายคนอาจนึกถึงคือ ในสนามมบินสุวรรณภูมิมีการใช้แอร์ตู้ตั้ง ช่วยกระจ่ายให้ทั้งอาคารมีความเย็นที่ทั่วถึง นั่นจึงเป็นสาเหตุให้แอร์ตู้ตั้งมักใช้ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เช่นหอประชุม สนามบิน ร้านค้า ห้าง และอื่นๆ
ข้อดี
ติดตั้งง่าย
ให้ความเย็นจัดได้ดี เหมาะกับพื้นที่ที่มีผู้คนเยอะๆ
ข้อเสีย
เสียพื้นที่ใช้สอย
ไม่เหมาะกับการใช้ในครัวเรือน
4.แอร์ฝังติดเพดาน(Convertible Type)
อาจนับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมไม่แพ้กันรองลงมาจากแอร์ติดผนัง หรือแอร์วอลไทป์เลยก็ว่าได้ครับ ก็เพราะตามชื่อเลยครับ เราสามารถสร้างแอร์ฝั่งติดเพดาน ให้ไม่ต้องมีตัวเครื่องยื่นออกมาเกะกะห้อง จึงเหมาะอย่างมากสำหรับบ้านโมเดิร์น เน้นดีไซน์ ที่ไม่ต้องการแอร์เครื่องใหญ่ๆ มาบดบังทัศนียภาพ นอกจากใช้ในบ้านแล้วก็เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นห้าง และโรงแรม ที่สร้างมาพร้อมกับระบบแอร์ฝั่งติดเพดาน เพื่อกระจ่ายอากาศเย็นไปให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ แอร์ฝั่งติดเพดานจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เริ่มมีความนิยมไม่แพ้แอร์ติดผนังแล้ว!
ข้อดี
ไม่เปลืองพื้นที่ ดูเท่ โมเดิร์น
กระจายอากาศได้ดี โดยเฉพาะหากติดตั้งบริเวณกลางห้อง
ข้อเสีย
ติดตั้งยาก อาจต้องคิดเรื่องการติดตั้งพร้อมๆ กับขั้นตอนการสร้างไปเลย
เสียค่าใช้จ่ายเยอะ ทั้งเครื่องที่มักจะแพงกว่าและค่าติดตั้งที่ยากกว่า
แนะนำแอร์ฝั่งติดเพดาน
1.แอร์อามีน่า LKB Serie ขนาดประมาณ 37,000-57,000 BTU/hr ราคาประมาณ 23,900 – 45,700 บาท
2. แอร์ CARRIER รุ่น ฝั่งเพดาน แบบ CASSETTE TYPE กระจายลม 4 ทิศทาง ขนาด 13,000 – 60,000 BTU/hr ราคา 23,000 – 47,000 บาท
แอร์วอลไทป์ ติดพนัง แอร์ฝั่งติดเพดาน
3. แอร์ฝั่งผนัง Mitsubishi รุ่น PL Series ขนาด 17,400 – 42,300 BTU/hr ราคา 29,500 – 65,500 บาท
4. แอร์ฝั่งผนังไดกิ้น รุ่น Cassette FCF-CV2S ขนาด 13,880 – 48,000 BTU/hr ราคา 39,300 – 90,000 บาท
แอร์ ฝั่ง ติด เพดาน แอร์วอลไทป์ ติดผนัง
5.แอร์แบบหน้าต่าง (Window Type)
แอร์ย้อนยุคสุดคลาสสิคที่ตอนนี้เห็นได้ยากแล้ว แต่ก็ยังพอเห็นได้อยู่บ้างในจีนหรือฮ่องกง เป็นแอร์ที่ไม่ต้องใช้คอมเพรสเซอร์ มีขนาดเป็นตู้สี่เหลี่ยมด้านเท่า
ข้อดี
ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดน
ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยา
ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง
ข้อเสีย
มีเสียงดังและเครื่องสั่นระหว่างทำงาน
ปรับอุณหภูมิและการสวิงกระจ่ายความเย็นไม่ค่อยได้
6.แอร์แบบเคลื่อนที่ ( Movable type)
แอร์ กึ่งพัดลม ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ มักนิยมใช้ควบคู่กันไปกับแอร์หลักของบ้าน ใช้เพื่อเสริมการกระจายอากาศเย็น และถ่ายเทอากาศภายในห้อง
แอร์ 6000 btu กินไฟกี่วัตต์
ขอบคุณภาพจาก promotions.co.th
ข้อดี
ขนาดกะทัดรัด
ไม่ต้องติดตั้ง
ข้อเสีย
ใช้ได้แต่ในห้องขนาดเล็ก BTU ต่ำ
หลังจากที่เราไปรู้จักชนิดของเครื่องปรับอากาศกันคร่าว ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ได้ยินบ่อยไม่แพ้กันเลยก็คือ BTU แล้วสิ่งนี้คืออะไร ? สำคัญอย่างไร เราไปดูกันดีกว่าค่ะ เพื่อที่ครั้งต่อไปเวลาที่เราไปเลือกซื้อแอร์แล้วพนักงานถามเราว่าอยากได้แอร์กี่ BTU ครับ/ค่ะ เราจะได้ตอบได้ถูกต้อง
BTU หรือ British Thermal Unit คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในระบบของเครื่องปรับอากาศ ค่า 1 BTU มักจะหมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ หรือ 0.45 กิโลกรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ หรือ 0.56 องศาเซลเซียสค่ะ … ฟังแล้วหลายคนอาจจะงงว่ามันจะไปเกี่ยวข้องกับห้องพักอย่างไร? อันที่จริงแล้ว BTU ในความหมายของแอร์นั้นจะหมายถึงค่า TON (ตัน) ค่ะ โดยคำว่า “1 ตันความเย็น” นั้นจะหมายถึงปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน้ำแข็ง 1 ตัน หรือ 2,000 ปอนด์ ในเวลา 24 ชม. หรือเท่ากับ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมงนั่นเอง แต่ถ้าใครไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร เราไปดูที่ย่อหน้าถัดไปดีกว่า
การจะเลือกขนาดแอร์ว่าเราจะใช้แอร์กี่ตัน BTU นั้น ส่วนมากจะดูจากขนาดของห้องที่เราจะติดตั้งเป็นหลักค่ะ โดยเรามีตารางเปรียบเทียบขนาดห้องกับจำนวนตัน BTU ที่เหมาะสมมาให้ ดังนี้
Btu conversion factors
Energy source/fuel | Physical units and Btu1 |
---|---|
Electricity | 1 kilowatthour = 3,412 Btu |
Natural gas | 1 cubic foot = 1,037 Btu 1 therm = 100,000 Btu |
Motor gasoline | 1 gallon = 120,286 Btu2 |
Diesel fuel | 1 gallon = 137,381 Btu3 |
Heating oil | 1 gallon = 138,500 Btu4 |
Propane | 1 gallon = 91,452 Btu |
Wood | 1 cord = 20,000,000 Btu5 |
1 Btu factors are for end-use consumption in 2020 from Monthly Energy Review, April 2021, excluding wood; preliminary data. |
ทั้งนี้ทั้งนั้น ขนาดห้องที่กล่าวถึงจะเป็นห้องที่มีความสูงปกตินะคะ สำหรับห้องที่สูงมากขึ้น มีคนใช้งานจำนวนเยอะขึ้น หรือว่าเป็นห้องที่ตั้งอยู่ที่ทิศทางที่ไม่ใช่แค่แดดส่องถึง แต่แดดสาดมาเต็มๆ เราก็อาจจะต้องเลือกใช้แอร์ที่มีขนาด BTU ที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ตารางข้างต้นเป็นการคำนวณบีทียูห้องมาตรฐาน การเลือกขนาดแอร์ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติม
คำนวณโดยใช้สูตรพื้นที่ห้อง
BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ตัวแปร
ตัวแปร
750 สำหรับห้องนอนปกติ -ไม่โดนแดดโดยตรง (มีต้นไม้บังหรือระแนง)
800 สำหรับห้องนอนปกติ -โดนแดดมาก
850 สำหรับห้องทำงาน -ไม่โดนแดดโดยตรง (มีต้นไม้บังหรือระแนง)
900 สำหรับห้องทำงาน -โดนแดดมาก
950 – 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน -ไม่โดนแดด (มีต้นไม้บังหรือระแนง)
1,000 – 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน -โดนแดดมาก
1,100 – 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนเยอะ หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า
ตัวอย่างการคำนวณ
ห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 5 เมตร, ยาว 6 เมตร
BTU = [5 เมตร x 6 เมตร] x 700
= 30 ตารางเมตร x 700
= 21,000 => 20,000
เพราะฉะนั้น ควรใช้แอร์ขนาด 20,000-23,000 บีทียู (สามารถสูง-ต่ำได้นิดหน่อย)
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
- ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้องว่ามีแสงส่องเข้ามามากหรือน้อย
- วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ เพราะมีความร้อนสะสมมากหรือน้อย
- ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง พื้นที่ๆมากทำให้การทำความเย็นต้องใช้เวลา
- ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก เป็นส่วนของการกั้นอากาศเข้าและออก
- ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
- จำนวนคนในห้อง คือความร้อนที่ออกจากตัวคนเมื่ออยู่ร่วมกันในห้องเดียวกัน
- จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ
ห้องที่มีฝ้าเพดานสูง คำนวณโดยใช้สูตรปริมาตรของห้อง
BTU = [[กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร) x สูง(เมตร)] x ตัวแปร] / 3
ตัวอย่างการคำนวณห้องที่มีเพดานสูง
ห้องทำงานโดดแดด กว้าง 4 เมตร, ยาว 10 เมตร, สูง 4 เมตร
BTU = [[4 เมตร x 10 เมตร x 4 เมตร ] x 900] / 3
= [160 ตารางเมตร x 900] / 3
= 144,000 / 3
= 48,000 => 48,000
เพราะฉะนั้น ควรใช้แอร์ขนาด 48,000 บีทียู (สามารถสูง-ต่ำได้นิดหน่อย)
หรือ สอบถามกับทางบริษัทฯ เพื่อให้ช่วยตรวจสอบและประเมินความเหมาสมให้ก็ได้ครับ
แนะนำ 5 เทคนิค เลือกแอร์อย่างไรให้คุ้มค่า
หลังจากที่เราไปทำความรู้จักชนิดแอร์และวิธีการเลือกขนาด BTU ที่เหมาะสมกันแล้ว เราลองมาดู 5 เทคนิคที่จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกแอร์ที่ตรงตามความต้องการ และตอบโจทย์ความคุ้มค่ากันดีกว่านะคะ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล Convertible Type)