ปัจจุบันนี้เราแบ่งช้างออก 2 ชนิด คือ ช้างเอเชียชนิดหนึ่ง และช้าง แอฟริกาชนิดหนึ่ง ช้างเอเชียเป็น ช้างที่อยู่ในทวีปเอเชีย เช่น ใน ประเทศไทย พม่า อินเดีย ศรีลังกา เขมร ลาว ญวน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วน ช้างแอฟริกามีอยู่ในทวีปแอฟริ กา แม้ว่าช้างสองชนิดนี้จะมี รูปร่างลักษณะภายนอกคล้าย ๆ กันก็ ตาม แต่อยู่คนละสกุลกัน เช่นเดียว กับวัว ซึ่งอยู่คนละสกุลกับควาย
ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ช้างเอเชียที่สมบูรณ์เต็มที่ จะมีความ สูงเฉลี่ยวัดจากพื้นดิน ตรงขาหน้า ถึงไหล่ประมาณ 3 เมตร มีงาเฉพาะช้าง ตัวผู้หรือที่เรียกกันว่า ช้าง พลาย ส่วนช้างตัวเมียหรือช้างพังโดย ปกติไม่มีงา บางครั้งอาจจะพบ ช้างพังมีงาสั้น ๆ บ้าง แต่งา นั้นจะไม่สมบูรณ์และเรียกกันว่า “ขนาย” สำหรับช้างตัวผู้ที่ไม่มีงาก็ มีบ้าง แต่เป็นจำนวนน้อย เราเรียก ช้างพลายที่ไม่มีงาว่า “ช้างสีดอ”
ช้างเอเซียจำแนกได้ 3 ชนิดย่อย (subspecies) ได้แก่
1. ช้างเอเซียพันธุ์ศรีลังกา ( Elephas maximus maximus Linn )
เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาช้างเอเซียทั้งหมด ตัวผู้หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็น ช้างสีดอ (mukna) คือ ไม่มีงา มีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ยาวไม่พ้นปากหรืออาจยาวพ้นปากเพียงเล็กน้อย มีน้อยตัวที่มีงา ส่วนตัวเมียหรือช้างพังมีลักษณะเหมือนกับช้างเอเซียพันธุ์อื่นๆ คือไม่มีงา มีแต่ขนายเท่านั้น
2. ช้างเอเซียพันธุ์อินเดีย ( Elephas maximus indicus Cuvier )
เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติบนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเซีย ได้แก่ ประเทศเนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา แคว้นยูนนาน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ช้างในประเทศไทยยังมีลักษณะที่น่าสังเกตุอีก ดังนี้ คือ
หนังมีขนเส้นห่างๆ ปลายหางมีขนเส็นยาวๆ งอกเป็นแนวด้านหน้าและด้านหลังของปลายหาง (ราว 2-3 นิ้ว) ขนหางยาวราว 7-8 นิ้ว โค้งไปจรดกันตรงปลาย
ลายฟันหน้า มักมีจำนวนตามลำดับชุดของกรามดังนี้ คือ 4, 8, 12, 16, 24 แต่อาจมากน้อยกว่านี้บ้างในบางราย
ช้างตัวผู้บางตัวมีงา เรียกว่าช้างพลาย ถ้างาใหญ่ เรียกว่า ช้างงาปลี ถ้างาเล็ก ยาวเรียว เรียกว่า ช้างงาเครือ ตัวผู้ที่ไม่มีงา เรียกว่า ช้างสีดอ (mukna)
ช้างตัวเมีย เรียก ช้างพัง ช้างสีดอและช้างพัง ไม่มีงา มีแต่ขนายที่ใช้แทนงา
ช้างเผือก คือ ช้างที่มีต่อมทำสีเมลานินผิดปกติ ผิวหนังและขนค่อนข้างเป็นสีหม้อใหม่ นัยน์ตาขาวๆ เหลืองๆ ส่วนอื่นๆ จะเป็นสีจาง ช้างแก่ๆ มักมีโคนงวงและใบหูตกกระเป็นสีหม้อใหม่เหมือนกัน
ช้างป่า เรียกหน่วยนับเป็น ตัว ช้างเลี้ยง เรียกหน่วยนับเป็น เชือก
3. ช้างเอเซียพันธุ์สุมาตรา ( Elephas maximus sumatranus Temmick )
เป็นช้างที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าตามธรรมชาติบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ขนาดร่างกายมักจะเล็กกว่าช้างเอเซียพันธุ์อินเดีย
ช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) ช้างแอฟริกาที่สมบูรณ์เต็มที่ สูงกว่าช้างเอเชีย คือ สูงเฉลี่ย ประมาณ ๓,๕ เมตร ช้างแอฟริกาไม่ว่า จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียล้วนแต่มี งาทั้งสิ้น ฉะนั้น การสังเกตเพศของ ช้างแอฟริกาโดยการดูงาจึงทำ ไม่ได้ หัวของช้างแอฟริกามี ส่วนที่เป็นหน้าผากแหลมแคบและมี โหนกศีรษะเพียงลอนเดียว
ช้างจะกินอาหารประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว/วัน หรือประมาณวันละ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตัว
อาหารช้างแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ประกอบด้วย
1. อาหารจำพวกหญ้า (Grassese) ได้แก่ หญ้าแพรก หญ้ากล้อง หญ้าปากหวาย หญ้าคา หญ้ากก อ้อ พงเขม ฯลฯ
2. อาหารจำพวกไม้ไผ่ (Bamboos) ได้แก่ ไม้ไผ่หนาม ไผ่ป่า ไผ่บ้าน ไผ่หลาม ไม้รวก ไม้ซาง ฯลฯ
3. อาหารจำพวกเถาวัลย์ และไทร (Greepers and Flews) ได้แก่ บอระเพ็ด สัมป่อย เครือสะบ้า กระทงลาย ผัดแปปป่า หวาย สลอดน้ำ ไทร เครือเขาน้ำ เถาวัลย์แดง ฯลฯ
4. อาหารจำพวกไม้ยืนต้น (Trees Palms and Shrubs) ได้แก่ กล้วย ขนุน กุ่ม สัก งิ้วป่า ถ่อน มะพร้าว มะเดื่อ มะขามบ้าน มะเฟือง มะไฟ จามจุรี (ก้ามปูหรือฉำฉา) ปอเสา มะเดื่อปล้อง โพธิ์ มะยมป่า มะขาม มะตูม มะขวิด ระกำ ฯลฯ
5. อาหารจำพวกพืชไร่ (Cultivated Crops) ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เดือย สัปปะรด ต้นถั่วแระ อ้อย ฟัก แตง ฯลฯ