16 คณะแพทย์ ของมหาวิทยาลัยไทย
ที่ดีที่สุด
ซึ่งมีสถาบันผลิตแพทย์ 16 แห่งจากทั้งหมด 22 แห่ง โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก ทั้ง สรพ. และ สมพ.
1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
นับได้ว่าเป็นคณะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด และเป็นคณะแพทยศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีอายุ 128 ปี มีแพทย์สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 130 รุ่น
2. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
เป้าหมายของคณะฯ คือการผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆพยาบาล และบุคลากรอื่นทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การดูแลรักษาแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและสามารถทำงานในชุมชนได้
3. คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย
4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 21 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
5. คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเปิดสอนในสายวิชาชีพแพทยศาสตร์ และสายวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
6. คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
เเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 2 ของส่วนภูมิภาค ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสถานปฏิบัติการคือโรงพยาบาลศรีนครินทร์
7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
เป็นสถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 7 ของประเทศ จากกระแสพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล
8. คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา
เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นแห่งแรกในภาคตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งประกอบด้วยคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมถึงคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่จะดำเนินการเปิดสอนในอนาคต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้ว โดยมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการแก่สังคมและชุมชน
9. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช
เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455 วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และเป็นที่ทำการเรียนการสอนของ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
10. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต
เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 9 ในจำนวนโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ 21 สถาบัน ได้รับการรับรองจากแพทยสภาเปิดเป็นโรงเรียนแพทย์โดยสมบูรณ์ ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผลิตผลิตบัณฑิตในสาขาที่ประเทศขาดแคลนต่อการพัฒนาประเทศ
11. คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับพรีคลินิค โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
12. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ในกำกับของรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปีการศึกษา 2549 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในโครงการผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
13. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 8 ของประเทศไทย โดยในช่วงแรกนั้นได้ทำการร่วมมือกับทางโรงพยาบาลวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลตำรวจ ในการร่วมผลิตแพทย์ และหลังจากนั้นทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงเริ่มทำการเรียนการสอน ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งเป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
14. คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีวิสัยทัศน์ที่จะผลิตบัณฑิตแพทย์คุณภาพ บริการทางการแพทย์มาตรฐานสากล และ สร้างเสริมงานวิจัยทั้งระดับพื้นฐานและประยุกต์ ให้บริการทางการแพทย์ระดับมาตรฐานสากล ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เน้นการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและเข้าถึงประชาชน ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 15 ภาควิชา
15. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลราชธานี
เป็นคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อจากคณะเภสัชศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตแพทย์ในเขตพื้นที่ชนบท และรองรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งการวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเขตภูมิภาค
16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
อ้างอิงข้อมูลที่มา scholarship
และ https://teen.mthai.com/education/176973.html