ศิลปะการแกะสลักไม้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ตกทอดสืบต่อเรื่อยมาจนปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้ทรงคุณค่าจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาครูมาสอนวิชานี้แก่สมาชิกศิลปาชีพ โดยทรงเน้นให้ใช้ไม้อย่างคุ้มค่าและและเหมาะที่สุด
งานแกะ คือการสร้างให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีการใช้มีดแกะ
งานสลัก คือการสร้างให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วเจาะ
การแกะสลัก จัดเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่รวมอยู่ในสาขาประติมากกรรม แต่ที่แตกต่างก็คือ กรรมวิธีของการแกะสลักคือการเฉือนออก และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำรายได้ให้กับผู้ผลิตแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมที่แสดงออกถึงความมีศิลปะอันประณีตของชาติไทยอีกด้วย
การแกะสลัก (Carving) เป็นเทคนิคการสร้างสรรค์งานประติมากรรมมาแต่โบราณ ในการสร้างสรรค์จะต้องวางแผนงานไว้ก่อน เพราะการแกะสลักออกไปแล้ว ไม่สามารถจะเพิ่มเข้าไปใหม่อีกได้ เพราะวัสดุที่ใช้แกะสลักนั้นเป็นชนิดของแข็ง ได้แก่ หิน ไม้ ส่วนในการศึกษาของนักเรียนระดับนี้นั้น อาจจะใช้วัสดุจำพวกไม้เนื้ออ่อน สบู่ ปูนปลาสเตอร์ ผัก ผลไม้ เช่น มัน เผือก มะละกอ เป็นต้น
1. การแกะสลัก เครื่องไม้แกะสลักภาพแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ภาพลอยตัว หรือภาพพกไม้ตัวกลม คือสามารถดูภาพนั้นได้รอบตัวเช่นเดียวกับงานประติมากรรม
2. ภาพนูนสูงหรือภาพครึ่งซีก คือภาพที่มองได้ครั้งเดียว 3 มิติ
3. ภาพนูนต่ำ คือภาพที่มองได้เพียงเฉพาะหน้าตรงเท่านั้น
งานสลักไม้ที่เลื่องลือ เป็นที่รู้จัักันทั่วไปนั้น คืองานไม้ของชาวล้านนา ซึ่งได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากพม่า ประกอบกับภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้โดยเฉพาะไม้สัก จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสลักไม้ได้รับการพัฒนาถึงขั้นที่สุด ทั้งความงามและฝีมือช่าง
2. การแกะสลักหิน การแกะสลักหินแบบดั้งเดิมของไทยนั้นส่วนใหญ่นิยมนำหินทรายมาใช้ในการแกะ
3. การแกะสลักเครื่องสด เป็นการแกะสลักผลหรือหัวของพืช การแกะสลักเครื่องสดนี้มักเป็นงานที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีการต่าง ๆ
Author: Tuemaster Admin
ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)