ปัญหาในการทำสมาธิ (Hindrances to Meditation)
พวกเราหลายคนประสบปัญหาการทำสมาธิ จิตไม่นิ่ง ซัดส่าย คิดโน่นคิดนี่ไม่รู้จบ หรือจิตขาดกำลัง อ่อนแรง หลุดจากสมาธิ ง่วงนอนและบางคนก็เลยหลับไปในสมาธิ คัมภีร์ลัมริม ดวงประทีปชัดใสแห่งคำสอน มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะช่วยให้เราทำสมาธิได้ดีขึ้น
ประการแรก – เราควรมีจิตไม่ยึดติดในสังสารวัฏ เห็นความไร้แก่นสาร และสามารถปล่อยวางได้ เพราะการไม่ยึดติดเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การทำสมาธิให้ได้ดี
ประการที่สอง – ยึดพระอาจารย์และพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ด้วยศรัทธาจากก้นบึ้งของหัวใจ และเจริญโพธิจิต ด้วยจิตที่ปรารถนาจะนำพาทุกชีวิตไปสู่การหลุดพ้น ไม่ให้ชีวิตใดต้องทนทุกข์ในสังสารวัฏ
ประการที่สาม – รักษาศีล ข้อนี้คัมภีร์เน้นว่าเป็นหัวใจของการทำสมาธิให้ได้ดี ดังข้อความที่ว่าในลำต้นแห่งศีลที่เปล่งประกายดวงประทีปแห่งสมถะส่องสว่างและแสงแห่งปัญญาญาณซึ่งดับความมืดมนฉายออกมา
ประการที่สี่ – ศึกษาข้อเสียของการทำสมาธิเพื่อให้จิตนิ่ง (สมถะ) และเพื่อให้เกิดปัญญาในการตระหนักรู้สภาวธรรม (วิปัสสนา) ซึ่งมีหกข้อ การหมั่นนึกถึงข้อเสียเหล่านี้จะทำให้เราระมัดระวังตัวก่อนทำสมาธิข้อเสียเหล่านี้ ได้แก่1. ลืมสิ่งที่จะจดจ่อ (เครื่องรองรับของสมาธิ เช่น ลมหายใจ รูปองค์พระ หรืออักขระ)2. จิตไม่อยากปฏิบัติ เกียจคร้านสองข้อนี้เป็นอุปสรรคลำดับแรกๆ ของการฝึกสมถะ3. จิตขาดความชัดใส อ่อนแรง ง่วงนอน ซึ่งมักเกี่ยวกับลักษณะของธาตุเจ้าเรือนและประเภทของอาหารที่กิน4. จิตซัดส่าย อยู่กับสิ่งที่จดจ่อเพียงครู่หนึ่ง เมื่อมีสิ่งมากระทบอายตนะ ก็เผลอไปตามสิ่งนั้น
สมาธิกับคลื่นสมอง
คนทั่วไปในเวลาปกติมักจะส่งคลื่นเบต้า ออกมา ซึ่งมีความถี่ของคลื่นประมาณ ๒๑ รอบต่อวินาที เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก เช่น โกรธ กลัว เกลียด อิจฉา ตื่นเต้น ฯลฯ คลื่นสมองก็จะมีความถี่สูงขึ้นทันที ซึ่งจะทำให้บุคคลผู้นั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง มีความตึงเครียดสูง มีสมาธิน้อยลง มีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำลง มีภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายลดลง ฯลฯ
สมาธิกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ได้กล่าวมาแล้วว่า การศึกษาสมาธิด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ต่อไปนี้จะเป็นรายงานการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆ ที่ได้พิมพ์ออกมาเป็นเอกสารทางวิชาการ เช่น The American Journal of Philosophy, International Journal of Neuroscience, Phychosomatic medicine, American Pshchologist, India Journal of medical Research
ข้อดีของการนั่งสมาธิแบบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
- สมาธิที่มีผลต่อการเผาผลาญในร่างกาย
- สมาธิที่มีต่อการเรียน
- สมาธิที่มีต่ออัตราการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
- สมาธิที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง
- สมาธิและความสัมพันธ์ของการรักษาโรค
- สมาธิที่มีต่อการทำงานของคลื่นสมอง
- สมาธิที่มีต่อระบบเลือดในสมอง
- สมาธิที่มีต่อสมองทั้งสองซีก
- สมาธิที่มีผลต่อระบบการหายใจ
ขอบคุณข้อมูล https://www.kalsangdawa.org