ปัจจัยที่กำหนดลักษณะภูมิอากาศของโลก บริเวณภูมิภาคและทวีปต่าง ๆ ของโลกมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือสาเหตุดังต่อไปนี้
1.ที่ตั้งละตกจูด เป็นตัวกำหนดอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่ของภูมิภาคต่าง ๆ
1.เขตละติจูดต่ำ บริเวณเส้นศูนย์สูตร มีอุณหภูมิของอากาศสูง
2.เขตละติจูดกลาง เป็นเขตอากาศอบอุ่น
3.เขตละติจูดสูง บริเวณใกล้ขั้วโลก มีอุณหภูมิของอากาศต่ำ
2.ระยะทางอยู่ใกล้หรือไกลจากทะเล
1.ดินแดนที่อยู่ห่างไกลจากทะเลมาก ๆ จะไม่ได้รับอิทธิพลความชื้นจากทะเลทำให้มีภูมิอากาศแห้งแล้งมีปริมาณฝนน้อย หรือเป็นทะเลทราย เช่น ทะเลทรายโกบีในมองโกเลีย เขตซินเกียง และบริเวณตอนกลางของจีน เป็นต้น
2.ดินแดนที่อยู่ใกล้ทะเล เช่น ที่ราบชายฝั่งทะเลภาคใต้อขงไทย จะได้รับความชื้นจากจากทะเล ทำให้มีอากาศเย็นสบายไม่ร้อน และมีฝนตกชุก
3.ทิศทางของลมประจำถิ่น ทำให้เกิดฤดูกาลและสภาพอากาศของแต่ละท้องถิ่น เช่น
1.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมมรสุมฤดูฝน พัดผ่านพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเข้าสู่ฤดูฝน
2.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมมรสุมฤดูหนาว พัดพาความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาสู่ทุกภูมิภาคของไทย
4.อิทธิพลของพายุหนุน ทำให้เกิดพายุฝนในภูมิภาคต่าง ๆ
1.ประเภทของพายุหมุน จำแนกตามระดับความร็วของลมจากน้อยไปหามากได้ 3 ประเภท คือ ดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และไต้ฝุ่น เฉพาะลมพายุไต้ฝุ่นมีความเร็วของลมหมุนที่ศูนย์กลางเกินกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นลมพายุหมุนที่มีความรุนแรงมากที่สุด
2.บริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน เรียกชื่อแตกต่างกันดังนี้
-พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เกิดในทะเลจีนใต้
-พายุไซโคลน (Cyclone) เกิดในอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย
-พายุเฮอริเคน (Hurricane) เกิดในบริเวณอ่าวเม็กซิโก และทะเลแคริบเบียน
5.ความสูงของพื้นแผ่นดิน บริเวณพื้นที่สูงเป็นภูเขาจะมีอุณหภูมิของอากาศต่ำหรือหนาวเย็นกว่าบริเวณพื้นที่ราบ เช่น ยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และภูเรือ จังหวัดเลย เป็นต้น
6.การวางตัวของเทือกเขาสูง ตำแหน่งที่ตั้งของเทือกเขาสูงวางตัวขวางกั้นทิศทางของลมมรสุมหรือตั้งรับลมมรสุมประจำปี ทำให้ภูมิอากาศของในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันออกไป ดังเช่น
1.การวางตัวของเทือกเขาตะนาวศรี ด้านชายแดนภาคตะวันตก ขวางกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เป็นเขตเงาฝนหรือเขตอับลมฝน มีปริมาณฝนน้อย
2.การวางตัวของเทือกเขาบรรทัด ภาคตะวันออก ตั้งรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้พื้นที่จังหวัดจันทบุรี และตราดที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของเทือกเขาบรรทัดเป็นเขตฝนภูเขา มีฝนตกชุกได้รับปริมาณฝยอย่างเต็มที่
7.กระแสน้ำในมหาสมุทร มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศบนพื้นแผ่นดิน ดังเช่น
1.กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ ไหลเลียบชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีความชื้นในอากาศต่ำจึงมีภูมิอากาศแห้งแล้งเนทะเลทราย
2.การแสน้ำอุ่นกุโรซิโว ไหลผ่านหมู่เกาะประเทศญี่ปุ่นในฤดูหนาว ทำให้อุณภูมิของอากาศอบอุ่นขึ้น ช่วยลดความหนาวเย็นลงได้บ้าง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิอากาศบนโลกของเรา ที่ส่งผลให้อากาศบนโลกแตกต่างกันในแต่ละประเทศไม่มากก็น้อยนะครับ
ขอบคุณข้อมูล https://www.trueplookpanya.com