เกษตรทฤษฎีใหม่
การปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสามารถปฏิบัติได้หลายแนวทาง แต่จะขอเสนอเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ใช้ในการจัดพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”ทฤษฎีใหม่” เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้้า เพื่อ
การเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชด้ารินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากล้าบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้้าได้โดยไม่เดือดร้อนและยากล้าบากนัก การด้าเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3ขั้นตอน คือ
1) การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามก้าลัง ให้พอมีพอกิน
2) การรวมพลังกันในรูปแบบ หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกัน ในด้านการผลิต
การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา
3) การด้าเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ได้แก่
- ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
- ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
- ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
- ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
- ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
- ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
- ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
- ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น : ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอด ปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ
ปรัซญาเศราฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ประชาชน ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆ “ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
เนื้อหา คณิตศาสตร์ การคำนวณหาพื้นที่ตามอัตราส่วน การทำแผนภูมิรูปวงกลม การคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ร้อยละ
บูรณาการ สังคมศึกษา โครงงานคุณธรรม ความพอประมาณ การประหยัด ความพอดี การประกอบอาชีพ
การงานอาชีพ ฯ การประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ค้าขาย ฯ
กรณีศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้บริหาร จัดการที่ดินและนำเพื่อการเกษตรตามแนว การเกษตรทฤษฏีใหม่
1 การบริหารจัดการที่ดินและนำเพื่อการเกษตรตามแนว การเกษตรทฤษฏีใหม่ มีอย่างไร
พื้นที่ปลูกข้าว 30 % พื้นที่ปลูกพืชผักผลไม้ 30 %
พื้นที่เป็นแหล่งน้ำ 30 % พื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ 10 %
2 ตามแนว การเกษตรทฤษฏีใหม่ หากเรามีที่ดิน 40 ไร่ เราจะแบ่งที่ดินสำหรับปลูกข้าว ปลูกพืชผักผลไม้ เป็นแหล่งนำ เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ เป็นพื้นที่อย่างละกี่ไร่
ทักษะการคิด
การหาพื้นที่ปลูกข้าว
– พื้นที่ 100 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 30 ไร่
พื้นที่ 1 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 30 ÷ 100
พื้นที่ 40 ไร่ ไร่ เป็นพื้นที่ปลุฏข้าว
30 ÷ 100 × 40 = 12 ไร่
พื้นที่ปลูกข้าว 12 ไร่
การหาพื้นที่พืชผักผลไม้ คิดเช่นเดียวกัน
พื้นที่ปลูกผักผลไม้ 30 ÷ 100 × 40 = 12 ไร่
การหาพื้นที่แหล่งนำ คิดเช่นเดียวกัน
พื้นที่แหล่งน้ำ 30 ÷ 100 × 40 = 12 ไร่
การหาพื้นที่ที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์
พื้นที่ที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ 10 ÷ 100 × 40 = 4 ไร่
รวมพื้นที่ทั้งหมด ปลูกข้าว 12 ไร่ พื้นที่ปลูกผักผลไม้ 12 ไร่
พื้นที่แหล่งน้ำ 12 ไร่ และพื้นที่ที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ 4 ไร่
รวมพื้นที่ทั้งหมด 12 + 12 + 12 + 4 = 40 ไร่