พาเรโต้ หรือ เพรโต้ (Pareto) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้แสดงรายละเอียดของสิ่งที่เราสนใจในรูปแบบของกราฟผสมระหว่างกราฟแท่ง กับกราฟเส้น โดยเรียงลำดับของรายละเอียดในแต่ละหัวข้อตามลำดับความถี่มากไปหาถี่ที่น้อยกว่า ตามหลักของกฎ 80:20 หรือ กฏของเพลโต ที่ว่า สาเหตุหลัก 20% ส่งผลทำให้เกิดผลลัพธ์ 80% เช่น ปัญหางานแตก เกิดจากการขนย้ายซึ่งเป็นปัญหาหลัก ถ้าเราแก้ไขปัญหาการขนย้ายได้ โอกาสที่ของเสียจะลดลงถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาสาเหตุ หรือต้นตอของปัญหาหลักให้เจอ และแก้ไขโดยเร็วที่สุด สำหรับรายละเอียดส่วนใหญ่ที่นำเสนอมีหลายประเภท เช่น ปริมาณของเสีย คุณภาพสินค้า อุบัติเหตุ ความปลอดภัย การส่งมอบ ค่าใช้จ่าย ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะนำไปสู๋การแก้ไขปัญหา หรือวางแผนการดำเนินงานต่อไป และพาเรโต้นี้ยังนิยมใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมคิวซีซีเป็นอย่างมาก
สำหรับประโยชน์ที่ได้รับของพาเรโต้ มีหลายประการ ได้แก่ 1)ทำให้ทราบถึงหัวข้อที่มีความถี่สูงสุด เช่น ปัญหาที่มีความสูญเสียมากที่สุด ชนิดของปัญหาที่มีความถี่มากที่สุด 2) ทำให้ทราบอัตราส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นๆ 3) ทำให้ทราบลำดับ และความสำคัญของปัญหา เป็นต้น
แนวทางในการจัดทำพาเรโต้ มีสองขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้
การประยุกต์ใช้กฏของพาเรโต้ หรือกฏ 80/20
จากสภาพการแข่งขันในปัจจุบันการเรียนรู้กฎของพาเรโต้ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง
เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้ทัน แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น
ถ้าใครยังไม่รู้จักกฏพาเรโต้ วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกันค่ะ
กฏของพาเรโต้ คืออะไร
- สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 % และที่เหลือจะเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 % และจำนวนเปอร์เซ็นต์ไม่จำเป็นต้อง 20/80 เสมอไป อาจแตกต่างได้ แต่ให้สนใจสิ่งสำคัญเป็นหลัก
- การนำกฎพาเรโต้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเป็นลักษณะ ทำน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มาก และทำให้เราสามารถเรียงลำดับความสำคัญว่าสิ่งไหนควรจะต้องพัฒนาก่อนหรือหลัง จะช่วยให้ผู้บริหาร รวมถึงพนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- เป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในองค์กร รวมถึงในประเทศ
แผนกการขายและการตลาด เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
– การจัดกลุ่มลูกค้า เป็นประเภท A, B, C หรือกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเยอะไปจนถึงซื้อน้อย รวมถึงนำเอาความถี่ในการซื้อของลูกค้ากลุ่มที่ซื้อบ่อยไปจนซื้อไม่บ่อย เป็นต้น เมื่อจัดกลุ่มของลูกค้าแล้ว เราจะสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ให้กับองค์กรได้ ว่าควรจะจัดโปรโมชั่นกับลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างไรดี ควรจะโฟกัสลูกค้ากลุ่มที่ทำรายได้ให้กับบริษัท 80% ก่อน หรือแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ จัดกลุ่มของลูกค้า เรียงลำดับตามอายุการเป็นลูกค้า จากนั้นก็ทำโปรโมชั่นให้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป
– การจัดกลุ่มสินค้า กลุ่มไหนขายได้มากไปจนถึงขายได้น้อย และแบ่งเกรดให้กับสินค้า จากนั้นเราก็เลือกโฟกัสสินค้าที่ขายได้มาก ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มสินค้า 20% เท่านั้นที่ทำรายได้ให้กับบริษัทถึง 80%
– การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ หากเรามีการเก็บแบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อร้องเรียนต่างๆและเรานำมาแสดงผลเป็นกราฟ โดยเรียงลำดับข้อร้องเรียนจากมากไปหาน้อย และแยกตามผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เราจะพบว่าสินค้าและบริการใดมีข้อร้องเรียนมาก และถ้าต้องการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับรายได้ 80% ของบริษัทจะต้องโฟกัสสินค้าและบริการเหล่านี้ เป็นต้น ในทางกลับกันถ้าเรามีแบบสอบถามความพึงพอใจเรื่องของผลิตภัณฑ์และบริการ และถ้าบริษัทต้องการเพิ่มความพึงพอใจของสินค้าและบริการจากเดิม 80% ไปเป็น 90% เราควรจะไปพัฒนาเรื่องใดบ้าง ก็เอาความพึงพอใจของลูกค้ามาแสดงผลเป็นกราฟ และดูว่าเรื่องไหนที่ลูกค้าพึงพอใจมากไปหาน้อย และเราจะสามารถเพิ่มได้อย่างไรบ้าง ให้ โฟกัส 20% เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำทุกเรื่อง
การจัดทำตาราง
1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำพาเรโต้ เช่น เพื่อแสดงอัตราของเสียแต่ละชนิด เพื่อแสดงสาเหตุของปัญหา เพื่อแสดงความถี่ที่เป็นสาเหตุของของอุบัติเหตุ เป็นต้น
1.2 รวบรวมข้อมูล โดยการออกแบบเช็คชีท เพื่อใช้บันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน
1.3 ตีตารางสี่แถวตามแนวตั้ง (column) แถวแรกเขียนชื่อหัวข้อของปัญหา แถวที่สองเขียนความถี่ของปัญหา แถวที่สามเขียนเปอร์เซ็นต์ และแถวที่สี่เขียนเปอร์เซ็นต์สะสม ส่วนจำนวนบรรทัด (row) ขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อ เช่น ถ้ามีสามหัวข้อ ก็ให้เพิ่มไปอีก 1 บรรทัด (ดังรูป)
1.4 แถวแรก ให้เขียนชื่อหัวข้อตามลำดับความถี่ โดยความถี่ที่มากที่สุดจะอยู่บรรทัดบนสุด (รองจากหัวข้อปัญหา) และเขียนลงมาเรื่อยๆ จนครบทุกหัวข้อ (จากตาราง ใส่ Broken Blur และ Scratch )
1.5 แถวที่สอง ให้ใส่ความถี่ที่รวบรวมมาจากเช็คชีท ให้ตรงกับหัวข้อ (จากตารางใส่ 30 15 และ 5)
1.6 แถวที่สาม คำนวนหาเปอร์เซ็นต์ โดยเทียบบัญญัติไตรยางค์ เปรียบเทียบจำนวนเต็ม กับความถี่ในช่องที่สอง (ตัวอย่าง จำนวนปัญหา 50 เกิดปัญหา Broken 30 ถ้าเทียบกับ 100 จะได้เท่ากับ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยคำนวนจาก (30×100)= 3,000 จากนั้นก็นำ 3,000 มาหารด้วย 50 จะได้เท่ากับ 60 เปอร์เซ็นต์ นั่นเอง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกบรรทัด จากนั้นก็นำค่าที่ได้มารวมกันในบรรทัดผลรวม จะได้ค่าเท่ากับ 100 หรือใกล้เคียง เช่น 99.98 100.02 อันนี้ก็ถือว่าใช้ได้ครับ)
1.7 คำนวน หาเปอร์เซ็นต์สะสม เราก็ไปดูที่แถวที่สาม คือ แถวเปอร์เซ็นต์ จากนั้นเราก็นำมารวมกันไปเรื่อยๆ จากบรรทัดบน จนถึงบรรทัดล่าง แล้วก็นำมาเขียนในช่องนี้ เพราะช่องนี้ชื่อเขาก็บอกแล้วว่า เอาเปอร์เซ็นต์มาสะสมกัน หรืออธิบายง่ายๆ คือ เอาข้อมูล เปอร์เซ็นต์จาแถวสาม มารวบรวม หรือสะสมให้กลายเป็นแถวสี่ (จากตาราง ค่าแรก คือ 60 เพราะไม่มีค่ามาก่อน ส่วนค่าต่อไป เราก็เอา 60+30 ก็จะเท่ากับ 90 และนำ 90+10 จะเท่ากับ 100)
สำหรับบทความตอนนี้ผมขอนำเสนอแค่นี้ก่อนนะครับ ลองนำไปศึกษาก่อน สำหรับตอนต่อไป ผมจะนำเสนอ
ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำกราฟ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้การสร้างกราฟพาเรโต้ที่สมบูรณ์ แล้วพบกันตอนหน้านะครับ
ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com
ขอบคุณข้อมุล https://rdbi.co.th/