รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงในรูปกรณฑ์
รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงในรูปกรณฑ์
จำนวนจริงในรูปกรณฑ์
กรณฑ์ หรือค่าหลักของราก มีนิยามดังนี้
นิยาม
ให้ x, y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1 จะบอกว่า y เป็นค่าหลักของรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ
- y เป็นรากที่ n ของ x
- xy ≥ 0
จากนิยามจะเห็นว่า ถ้า y จะเป็นค่าหลักของรากที่ n ของ x ได้ จะได้ต้องมีคูณสมบัติครบทั้งสองข้อ มีข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
และเราจะเขียน แทนค่าหลักของรากที่ n ของ x อ่านได้อีกอย่างว่า กรณฑ์ที่ n ของ x
ตัวอย่าง
-3 เป็นกรณฑ์ที่ 3 ของ -27 เพราะว่า
- -3 เป็นรากที่ 3 ของ 3 (เนื่องจาก )
- (-27)(-3) = 81 ≥ 0
-2 เป็นรากที่ 4 ของ 16 แต่ -2 นั้นไม่เป็นกรณฑ์ที่ 4 ของ 16 เพราะว่า (-2)(16) = -32 < 0
สมบัติที่ควรรู้
ให้ a, b เป็นจำนวนจริง และ m, n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1