ตรรกศาสตร์กับวงจรไฟฟ้า
2. ตรรกศาสตร์กับวงจรไฟฟ้า
ตรรกศาสตร์เป็นเนื้อหาหนึ่งซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง จำทำให้การเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นเพียงการเรียนการสอนตามระบบ ตามประเพณี ทั้งที่ระบบตรรกศาสตร์มีบทประยุกต์มากมาย นอกจากจะเป็นรากฐานสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์แล้ว ตรรกศาสตร์ยังมีบทประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อวงจรของสวิตซ์ ซึ่งอาศัยเพียงความรู้เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็สามารถเข้าใจได้
วงจรตรรกะ พีชคณิตบูลีนและการเขียนวงจรตรรกะเบื้องต้น
พีชคณิตบูลีน
พีชคณิตแบบบูลีน เป็นเทคนิคแบบหนึ่งที่ใช้ในการลดรูป Switching Function ในพีชคณิตบูลีนเราใช้ ตัวอักษร A,B,C,… แทนตัวแปรค่า 2 สภาวะ คือ 0 หรือ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแต่ละตัวเราใช้ เครื่องหมายทางเลขคณิตแทนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรค่านั้น เครื่องหมายทางเลขคณิตดังกล่าวได้แก่
– เครื่องหมาย . (จุด) แทนความหมาย AND
– เครื่องหมาย + (บวก) แทนความหมาย OR
– เครื่องหมาย – (Bar) แทนความหมาย NOT
1) แสดงในรูปแบบของตัวแปรเชิงพีชคณิตและตารางค่าความจริง (Truth Table) ระหว่างตัวแปรแต่ละตัว
2) แสดงในรูปแบบของตัวแปรเชิงพีชคณิต บ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างอินพุต-เอาต์พุต ของวงจรดิจิตอล (Digital Logic Circuit)
3) แสดงในรูปแบบของวงจรลดรูป (Simpler Circuit) สำหรับฟังก์ชั่นนั้น ๆ
– A + B = B + A
– A . B = B . A
– (A + B) + C = A + (B + C)
– (A . B) . C = A . (B . C)
– A . (B + C) = (A . B) + (A . C)
– A + (B . C) = (A + B) . (A + C)
– A + A = A
– A . A = A
การออกแบบวงจรลอจิก จาก Switching function ใด ๆ ก็ตาม จำเป็นที่จะต้องทำการลดรูป Switching function นั้น ๆ ให้เหลือตัวแปรน้อยที่สุดเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในความประหยัด และข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือลดเวลาหน่วง (Delay Time) ให้น้อยที่สุด ดังนั้น Switching function ที่ยืดยาวต้องทำให้สั้นลง โดยใช้ทฤษฎีของพีชคณิตบูลีน