ไฟฟ้าสถิต : แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์
คูลอมบ์ ได้ทดลองศึกษาแรงระหว่างประจุโดยใช้อุปกรณ์ดังรูป 1.7 ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ คานเล็กๆ ที่ทำด้วยฉนวนและมีลูกพิทติดที่ปลายคาน A และ B ข้างละลูก โดยแขวนคานกับลวดเงินเส้นเล็กๆ ให้คานวางตัวอยู่ในแนวระดับ ลูกพิทอีกลูกหนึ่งคือ D อยู่ใกล้ A เมื่อทำให้ D และ A มีประจุจะเกิดแรงระหว่างประจุบน D และ A แรงที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดโมเมนต์กระทำต่อคาน เป็นผลให้คานเบนจากแนวเดิม โดยมีลวดเงินเป็นแกนในการหมุน ดังนั้น ลวดเงินจะถูกบิดตามปริมาณการหมุนของคานและแรงต่อต้านการบิดของลวดเงินจะเพิ่มขึ้นตามมุมบิดที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้น สำหรับแรงระหว่างประจุขนาดหนึ่งจะทำให้เกิดมุมบิดค่าหนึ่ง มุมที่คานบิดไปนี้อ่านค่าได้จากสเกล C ที่ติดอยู่กับผนังกล่อง การรู้ค่ามุมบิดจะช่วยในการคำนวณแรงระหว่างประจุได้ต่อไป
จากการทดลองด้วยเครื่องมือดังกล่าว คูลอมบ์สามารถสรุปได้ว่า แรงระหว่างประจุของ D กับ A แปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่างระหว่างประจุของ D กับ A นั่นคือ ถ้าให้ F เป็นขนาดของแรงระหว่างประจุของ D กับ A และ r เป็นระยะระหว่าง D กับ A และ Q1, Q2 เป็นประจุของ D กับ A และ ตามลำดับจะเขียนได้ว่า
เมื่อ K เป็นค่าคงตัวของการแปรผันในระบบเอสไอ แรง F มีหน่วยเป็นนิวตัน Q1 และ Q2 มีหน่วยเป็นคูลอมบ์ r มีหน่วยเป็นเมตร ดังนั้น K มีหน่วย นิวตัน (เมตร)2 ต่อ (คูลอมบ์)2
ในการวัดค่า K เมื่อตัวกลางระหว่างประจุทั้งสองเป็นสุญญากาศหรืออากาศ ค่าคงตัว K นี้จะมีค่าเท่ากับ 9 x 109 นิวตัน (เมตร)2 ต่อ (คูลอมบ์)2
สมการ (1.1) ใช้คำนวณหาขนาดของแรงได้ทั้งในกรณีแรงผลักและแรงดึงดูดระหว่างประจุบนอนุภาค ดังรูป 1.8 ซึ่งเรียกว่า จุดประจุ ความสัมพันธ์ตามสมการนี้ เรียกว่า กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law)
ถ้าแรง 2 แรงทำมุมใด ๆ ที่ไม่ใช่ มุม 90 องศา ให้ใช้ทฤษฎีของสี่เหลี่ยมด้านขนานภาพด้านล่าง
ใช้สามเหลี่ยม ดัง ภาพ