เครื่องปรับอากาศคืออะไร ?
เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ใช้ในการปรับอุณหภูมิให้กับภายในห้องที่ต้องการให้เย็นลง และคงที่ ซึ่งจริงๆ แล้วเครืองปรับอากาศจะไม่ได้มีเฉพาะทำความเย็นอย่างเดียว ในต่างประเทศที่มีอากาศหนาวอยู่แล้วก็จะใช้อีกชนิดหนึ่งนั่นคือ เครื่องทำความร้อน (Heater) แทน สำหรับในบทความนี้จะพูดถึงเครื่องปรับอากาศที่ทำความเย็น
ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ
- คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกของเครื่องปรับอากาศ มีหน้าที่ในการเคลื่อนสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ทำให้สารทำความเย็นมีคุณหภูมิและความดันสูงขึ้น
- คอยล์ร้อน (Condenser) เป็นอุปกรณ์ที่จะติดตั้งภายนอก ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนจากสารทำความเย็นออก
- คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นอุปกรณ์ที่ติดตังอยู่ภายใน ทำหน้าที่ในการดูดซับความร้อนจากภายในให้เข้าไปสู่สารทำความเย็น
- อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลดความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น
ขั้นตอนการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
- คอมเพรสเซอร์ จะดูดและอัดความดันเข้าสู่สารทำความเย็นและส่งต่อไปยังคอยล์ร้อน
- น้ำยาจะไหลผ่านแผงคอยล์ร้อน และใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้อุณหภูมิลดลง และส่งต่อไปยังอุปกรณ์ลดความดัน
- น้ำยาจะไหลผ่านจากอุปกรณ์ลดความดันไปยังคอยล์เย็น โดยผ่านท่อ ซึ่งน้ำยาที่ไหลในส่วนนี้จะมีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ
- น้ำยาจะไหลผ่านแผงคอยล์เย็น โดยมีพัดลมเป่า ทำให้สารทำความเย็นดูดซับความร้อนออกจากภายในห้อง ทำให้น้ำยามีความร้อนสูงขึ้น และจะถูกส่งกลับไปยังคอมเพรสเซอร์
ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
1. แอร์ติดผนัง (Wall Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นเครื่องปรับอากาศที่สามารถติดตั้งได้ง่าย บำรุงรักษา-ซ่อมได้ง่าย มีหลากหลายฟังก์ชั่นให้ใช้งาน มีความเงียบ แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยมักจะมี BTU อยู่ที่ 9,000 BTU จนถึง 20,000 BTU เลยทีเดียว
2. แอร์แบบตั้งพื้นหรือแขวน ( Ceiling / Floor Type)
เป็นแอร์ที่ใช้งานคล้ายๆ กับเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง แต่ชนิดนี้จะวางไว้กับพื้น ที่ห้อยแขวนไว้บนผนัง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับการติดตั้งบนพื้นควรจะคำนึงถึงการกระจายความเย็นด้วย ถ้าหากวางไว้ในตำแหน่งที่ไม่ดี ก็จะไม่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึง
3. แอร์แบบฝังติดเพดาน
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ จะเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง มีการติดตั้งที่ซับซ้อน แต่จุดเด่นของเครื่องปรับอากาศชนิดนี้คือ จะมองไม่เห็นตัวเครื่องปรับอากาศโผล่ออกมาด้านนอก ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ นอกจากจะใช้ภายในบ้านแล้ว ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ก็ใช้งานเช่นกันเพราะเครื่องปรับอากาศชนิดนี้สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึง
4. ระบบปรับอากาศในอาคาร (HVAC)
เป็นระบบในการปรับอากาศขนาดใหญ่กว่าการติดตั้งแอร์บ้างทั่วไป โดยระบบนี้จะมีเครืองทำความเย็นและส่งและระบายลมออกผ่าน ท่อลม ซึ่งระบบนี้มักจะใช้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ขนาดใหญ่
5. แอร์แบบตู้ตั้งพื้น (Package Type)
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ไม่ค่อยนิยมใช้งานภายในบ้าน เพราะตัวตู้มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้น ซึ่งเครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะเหมาะใช้ในพื้นที่มีขนาดใหญ่ เช่น ห้องประชุม สนามบิน
6. แอร์แบบเคลื่อนที่ (Movable Type)
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะเริ่มพบเห็นได้บ่อย เพราะมีขนาดเล็ก และยังเคลื่อนที่ได้อีกด้วย แต่แอร์ชนิดนี้มีขนาด BTU ที่ต่ำ จึงไม่เหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่
7. แอร์แบบหน้าต่าง
เป็นเครื่องปรับอากาศชนิดที่พบเห็นได้ยากในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ไม่จำเป็นต้องใช้คอมเพรสเซอร์ ใช้ติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้ดี แต่จะปรับอุณหภูมิและกระจายความเย็นได้ไม่ดี และมีเสียงดังในระหว่างการทำงาน
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศเป็นขนาดเป็น BTU ย่อมาจาก British thermal unit เป็นหน่วยวัดที่บอกถึงประสิทธิภาพในการทำความเย็น ซึ่งการเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดห้องที่ใช้งาน
- ถ้าหากใช้แอร์ที่มี BTU ต่ำไป จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องทำงานหนักเกินไป ทำให้เครื่องปรับอากาศเสียได้เร็วขึ้น
- ถ้าหากใช้แอร์ที่มี BTU สูงเกินไป ทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดการทำงานบ่อย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำให้มีความชื้นในห้องสูง อยู่แล้วไม่สบายตัว
ตารางขนาดของห้องเทียบกับ BTU
ขนาด BTU | ขนาดของห้อง (ตารางเมตร) | ขนาดของห้องที่โดนแสงแดด (ตารางเมตร) |
9,000 | 12-15 | 11-14 |
12,000 | 16-20 | 14-18 |
18,000 | 24-30 | 21-27 |
21,000 | 28-35 | 25-32 |
24,000 | 32-40 | 28-36 |
26,000 | 35-44 | 30-39 |
30,000 | 40-50 | 35-45 |
36,000 | 48-60 | 42-54 |
48,000 | 64-80 | 56-72 |
60,000 | 80-100 | 70-90 |
ขอบคุณที่มา :
worthen-life.com/air-walltype
th.wikipedia.org