กฎของบีโอต์-ซาวารต์ (อ่านว่า ซาวา) (Biot-Savart Law) เป็นกฎทางฟิสิกส์ว่าด้วยสนามแม่เหล็ก ณ จุดใด ๆ ที่อยู่ห่างไปจากแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กที่มีกระแสไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่อยู่ โดยระบุได้ทั้งขนาดและทิศทางของสนามแม่เหล็กซึ่งเป็นปริมาณเวกเตอร์ จุดเด่นของกฎของบีโอต์-ซาวารต์นั้นก็คือเป็นคำตอบกำลังสองผกผันของกฎของอองแปร์ กฎนี้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชอง-บับตีสต์ บีโอต์ (Jean-Baptiste Biot) และเฟลีส์ ซาวารต์ (Félix Savart) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่ง
กฎของบีโอต์-ซาวารต์ เป็นสมการสำหรับอธิบายสนามแม่เหล็ก ณ จุดใด ๆ ที่ห่างออกไประยะหนึ่งจากบริเวณที่มีการไหลของกระแสไฟฟ้า หรือมีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่อยู่ ไม่จำกัดว่าจะไหลผ่านโลหะหรือพลาสมา ทั้งนี้ การไหลของกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องคงตัวไม่แปรปรวน จึงจะสามารถใช้สมการดังต่อไปนี้ได้ สำหรับสมการอธิบายสนามแม่เหล็กย่อย เป็นดังนี้
โดยที่
- แทนกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (ที่ถูกเป็นอองแปร์)
- เป็นเวกเตอร์ทิศทางที่ที่มีขนาดสั้นมาก ๆ (ในทางแคลคูลัส) มีทิศทางเดียวกับการไหลของกระแสไฟฟ้าในตัวนำนั้น ๆ
- เป็นสนามแม่เหล็กย่อย ซึ่งเกิดจากเวกเตอร์ทิศทาง ที่มีขนาดเล็กมากเช่นกัน
- เป็นค่าซึมซาบแม่เหล็กในอวกาศ (magnetic permeability of free space)
- r เป็นเวกเตอร์ชี้จากจุดกำเนิดสนามแม่เหล็ก (คือตัวนำ) ไปยังจุดที่ต้องการจะคำนวณ
- เป็นระยะทางจากจุดกำเนิดสนามแม่เหล็กไปยังจุดที่ต้องการคำนวณ กล่าวให้ง่ายก็คือขนาดของเวกเตอร์ r นั่นเอง
- เป็นตัวดำเนินการผลคูณเชิงเวกเตอร์ (cross product) หรือการคูณเวกเตอร์ด้วยกันเองแล้วให้ผลเป็นเวกเตอร์
ฎของบิโอต์-ซาวารต์
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆเส้นลวด:
ในรูปของเวกเตอร์: