การดำเนินการของเซตและสมบัติการดำเนินการบนเซต
การดำเนินการของเซต
การดำเนินการของเซต
การดำเนินการที่สำคัญของเซตที่จำเป็นต้องรู้และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้มี 4 ชนิด ได้แก่
1. การยูเนียนของเซต
2. การอินเตอร์เซคชั่นของเซต
3. คอมพลีเม้นท์ของเซต
4. ผลต่างของเซต
1 การยูเนียนของเซต ใช้สัญลักษณ์ “∪ ”
บทนิยาม A ∪ B = { x | x ∈ A ∨ x ∈ B } เรียกว่า ผลบวก หรือผลรวม (union)
ของ A และ B
ตัวอย่าง 1. ถ้า A = {0 , 1 , 2 , 3} และ B = {1 , 3 , 5 , 7}
จะได้ A ∪ B = {0 , 1 , 2 , 3 , 5 , 7}
ตัวอย่าง 2. ถ้า M = {x | x เป็นจำนวนเต็มบวก} และ L = {1 , 2 , 3 , 4}
จะได้ M ∪ L = M
ตัวอย่าง 3. ถ้า W = {a , s , d , f} และ Z = {p , k , b}
จะได้ W ∪ Z = {a , s , d , f , p , k , b}
ตัวอย่าง 4 A ={1,2,3} , B= {3,4,5}
จะได้ A ∪ B = {1,2,3,4,5}
2 การอินเตอร์เซคชัน ใช้สัญลักษณ์ “∩ ”
บทนิยาม A ∩ B = { x|x∈ A ∧ x∈B } เรียกว่า ผลตัด หรือผลที่เหมือนกัน
(intersection) ของ A และ B
ตัวอย่าง 1. ถ้า A = {0 , 1 , 2 , 3} และ B = {1 , 3 , 5 , 7}
จะได้ A ∩ B = {1 , 3}
ตัวอย่าง 2. ถ้า M = {x | x เป็นจำนวนเต็มบวก} และ L = {1 , 2 , 3 , 4}
จะได้ M ∩ L = L
3 คอมพลีเม้นต์ของเซต ใช้สัญลักษณ์ “ / ”
บทนิยาม ถ้า U เป็นเอกภพสัมพัทธ์ คอมพลีเมนต์ของ A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิก
ที่อยู่ใน ∪ แต่ไม่อยู่ใน A เขียน A′ แทนคอมพลีเม้นท์ของ A
ดังนั้น A′ = { x | x ∉ A }
ตัวอย่าง 1. ถ้า U = {0, 1, 2, 3, 4, 5} และ A = {0 ,2}
จะได้ = {1, 3,4, 5}
ตัวอย่าง 2. ถ้า U = {1, 2, 3, … } และ C = { x|x เป็นจำนวนคู่}
จะได้ = { x |x U และ x เป็นจำนวนคี่ }
4 ผลต่างของเซต ใช้สัญลักษณ์ “ – ”
บทนิยาม ผลต่างระหว่างเซต A และเซต B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A ซึ่ง
ไม่เป็นสมาชิกของเซต B ผลต่างระหว่างเซต A และ B เขียนแทนด้วย A – B ซึ่ง A – B = { x | x ∈ A∧ x ∉ B }
ตัวอย่าง 1. ถ้า A = {0, 1, 2, 3, 4} และ B = {3 , 4 , 5 , 6 , 7}
จะได้ A – B = {0, 1, 2} และ B – A = {5 , 6 , 7}
46
ตัวอย่าง 2. ถ้า U = {1, 2, 3, … } และ C = { x|x เป็นจำนวนคู่บวก}
จะได้ U – C = {x|x เป็นจำนวนคี่บวก}
สมบัติการดำเนินการบนเซต
สมบัติพื้นฐาน
1. A ∪ ∅ = A, A ∪ U = U
A ∩ ∅ = ∅, A ∩ U = A
2. A ∪ B ∪ C = A ∪ (B ∪ C) = (A ∪ B) ∪ C
A ∩ B ∩ C = A ∩ (B ∩ C) = (A ∩ B) ∩ C
3. A ∪ (B ∩ C) = (A ∪ B) ∩ (A ∪ C)
A ∩ (B ∪ C) = (A ∩ B) ∪ (A ∩ C)
4. (A’)’ = A
(A ∪ B)’ = A’ ∩ B’
(A ∩ B)’ = A’ ∪ B’
5. A – B = A ∩ B’
เพิ่มเติม
ถ้า A ⊂ B เเล้ว 1. A – B = ∅
2. A ∩ B = A
3. A ∪ B = B
การหาจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด
1. เซตจำกัด 2 เซต
n(A ∪ B) = n(A) + n(B) – n(A ∩ B)
n[(A – B) ∪ (B – A)] = n(A) + n(B) – 2[n(A ∩ B)]
2. เซตจำกัด 3 เซต
n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(A ∩ C) – n(B ∩ C)
+ n(A ∩ B ∩ C)
เพาเวอร์เซต (Power Set)
ถ้า A เป็ตเซต เเล้ว เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตที่มีสมาชิกประกอบไปด้วยสับเซตของ A ทั้งหมด
สัญลักษณ์ เพาเวอร์เซตของเซต A เขียนแทนด้วย P(A) = {สับเซตทั้งหมดของ A}
ตัวอย่าง A = {1, 2}
วิธีทำ สับเซตของ A คือ ∅, {1}, {2}, A
ดังนั้น P(A) = { ∅, {1}, {2}, A }
สมบัติของเพาเวอร์เซต
กำหนดให้ A และ B เป็นเซตใดๆ
1. ∅ ∈ P(A) เพราะ ∅ ⊂ A เสมอ
2. ∅ ⊂ P(A) เพราะเซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต เเล้ว P(A) ก็เป็นเซตเช่นกัน
3. A ∈ P(A) เพราะ A ⊂ A เสมอ
4. ถ้า A เป็นเซตจำกัด เเละ n(A) คือจำนวนสมชิกของ A เเล้ว P(A) จะมีสมาชิก 2^ n(A) ( 2 ยกกำลัง n(A) ) ตัว (เท่ากับจำนวนสับเซตของ A)
5. A ⊂ B ก็ต่อเมื่อ P(A) ⊂ P(B)
6. P(A) ∩ P(B) = P(A ∩ B)
7. P(A) ∪ P(B) ⊂ P(A ∪ B)
สรุป สมบัติของเซตที่ควรจำ
ให้ A,B และ C เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ U สมบัติต่อไปนี้เป็นจริง
1) กฎการสลับที่
A∪ B = B ∪ A
A∩ B = B ∩ A
2) กฎการเปลี่ยนกลุ่ม
A∪(B ∪C) = (A∪ B)∪C
A∩(B ∩C) = (A∩ B)∩C
3) กฎการแจงแจง
A∪(B ∩C) = (A∪ B)∩(A∪C)
A∩(B ∪C) = (A∩ B)∪(A∩C)
4) กฎเอกลักษณ์
φ ∪ A = A∪φ = A
U ∩ A = A∩U = A
5) A∪ A′ =U
6) φ ′ =U และ U′ =φ
7) (A′)′ = A
8) A∪ A = A และ A∩ A = A
9) A − B = A∩ B′
10) A∩φ =φ และ A∪φ = A
เพิ่มเติม
ถ้า A ⊂ B เเล้ว 1. A – B = ∅
2. A ∩ B = A
3. A ∪ B = B
การหาจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด
1. เซตจำกัด 2 เซต
n(A ∪ B) = n(A) + n(B) – n(A ∩ B)
n[(A – B) ∪ (B – A)] = n(A) + n(B) – 2[n(A ∩ B)]
2. เซตจำกัด 3 เซต
n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(A ∩ C) – n(B ∩ C)
+ n(A ∩ B ∩ C)
ขอบคุณข้อมูล https://www.chulatutor.com/