ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ประพจน์ (Propositions/Statement)
สิ่งแรกที่ต้องรู้จักในเรื่องตรรกศาสตร์คือ ประพจน์ ข้อความหรือประโยคที่มีค่าความจริง(T)หรือเท็จ(F) อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้อความรูป คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำปฏิเสธ ซึ่งไม่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า จะเป็นข้อความที่ไม่เป็นประพจน์ สำหรับข้อความบอกเล่าแต่มีตัวแปรอยู่ด้วย ไม่สามารถบอกว่าเป็นจริงหรือเท็จจะไม่เป็นประพจน์ เรียกว่าประโยคเปิด
ประพจน์และการเชื่อมประพจน์ – ประพจน์ (Propositions หรือ Statements)
ระพจน์ คือประโยคที่เป็นจริงหรือเท็จ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ประโยคที่มีลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้
ตัวอย่างประโยคที่เป็นประพจน์
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ จังหวัดเชียงใหม่ไม่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย 9 3 17+8 25 เป็นจำนวนตรรกยะ เซตว่างเป็นสับเซตของเซตทุกเซต |
(จริง) (จริง) (จริง) (เท็จ) (เท็จ) (จริง) |
ตัวอย่างประโยคที่ไม่เป็นประพจน์
ฝนตกหรือเปล่า อย่าเดินลัดสนาม ช่วยด้วย กรุณาเปิดหน้าต่างด้วย ได้โปรดเถิด น่ากลัวจริง ออกไปให้พ้น โปรดให้อภัยในความไม่สะดวก อยากไปเที่ยวเหลือเกิน |
(คำถาม) (ห้าม) (ขอร้อง) (ขอร้อง) (อ้อนวอน) (อุทาน) (คำสั่ง) (ขอร้อง) (ปราถนา) |
การเชื่อมประพจน์
กำหนดให้ p, q, r, … แทนประพจน์ และให้ T แทนค่าความจริง ที่เป็นจริง และ F แทนค่าความจริงที่เป็นเท็จ เมื่อนำประพจน์มาเชื่อมกันด้วยตัวเชื่อมจะเรียกประพจน์ใหม่ว่า ประพจน์เชิงประกอบ
ใช้สัญลักษณ์
แทน ตัวเชื่อม “และ”
แทน ตัวเชื่อม “หรือ”
แทน ตัวเชื่อม “ถ้า…แล้ว…”
แทน ตัวเชื่อม “…ก็ต่อเมื่อ…”
~ แทน นิเสธ