แนวสอบความถนัดแพทย์ กสพท PART เชื่อมโยง
ข้อสอบความถนัดแพทย์ PART ความคิดเชื่อมโยง กับ GAT เชื่อมโยง (GAT ส่วนที่ 1 ของ สทศ) ต่างกันอย่างไร ?
ประเด็นเปรียบเทียบ |
PART ความคิดเชื่อมโยง (ความถนัดแพทย์) |
GAT เชื่อมโยง (GAT ส่วนที่ 1 ของ สทศ) |
เวลาที่ใช้ทำข้อสอบ | 75 นาที | 90 นาที |
จำนวนบทความ/ รหัสข้อความ | 1 บทความ : 20 รหัส | 2 บทความ : บทความละ 10 รหัส |
การเน้นข้อความในบทความ | ไม่เน้นตัวหนาเข้ม | เน้นตัวหนาเข้ม |
ข้อความที่มีรหัสกำกับในตารางกับข้อความที่ปรากฏในบทความ | ต่าง > เหมือน | เหมือน > ต่าง |
จำนวนคำตอบที่จะเกิดขึ้นได้ | 1 – 5 คำตอบ : 1 ข้อ | 1 – 4 คำตอบ : 1 ข้อ |
ความยากง่าย | ยาก-ซับซ้อนมาก | ง่าย-ซับซ้อนมาก |
สำหรับหลาย ๆ คน แค่ได้ยินว่าอยากเรียนแพทย์ ทันตะ เภสัช หรือสัตวแพทย์ ก็มักรู้สึกว่าเป็นหนทางที่ยากแสนยาก ทั้งด้วยความยากที่ต้องมานะบากบั่นตั้งใจเรียนวิชาสายวิทย์ คณิต ฟิสิกส์ ชีวะให้ดีแล้วนั้น เรื่องของ “เส้นทางกระบวนการสอบเข้า” ก็ฟังดูซับซ้อนไม่แพ้กัน อย่างไรก็ดี แม้ฟังดูยากซับซ้อน โดยน้อง ๆ อาจไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นจากตรงไหน แต่ทว่า chulatutor สามารถบอกได้ตรงนี้ กระบวนการเดินหน้าตามหาฝันสู่หนทางวิชาชีพแพทย์ นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขอเพียงให้ทุกคนได้เริ่มต้นจาก รู้จัก “กสพท” กันก่อนค่ะ
กสพท คืออะไร
กสพท ย่อมาจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มกันระหว่างคณะต่าง ๆ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อดำเนินการร่วมกันคัดเลือกนักศึกษาเข้าสู่คณะทั้ง 4 ในสถาบันต่าง ๆ นั่นเองค่ะ ดังนั้น หากน้อง ๆ คือคนหนึ่งที่ต้องการเดินตามฝันในการประกอบวิชาชีพ แพทย์ เภสัช ทันตะ หรือสัตวแพทย์ เรื่องของการสอบ กสพท คือหนึ่งในขั้นตอนแรก ๆ ที่มีความสำคัญมากกกกก น้อง ๆ จึงควรต้องทำความรู้จักรายละเอียดให้ครบถ้วน เพื่อทราบกันเสียก่อนว่า การผ่านคุณสมบัติกสพท ให้ได้เข้าเรียนต่อในคณะในฝันนี้ มีเกณฑ์การคัดเลือกอย่างไร วิธีการสมัครสอบแบบใด หรือมีการกำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร ไว้เช่นไรกันบ้างค่ะ
คณะที่เปิดรับ กสพท
และหาก กำลังสงสัยว่าคณะจากมหาวิทยาลัยที่กำลังเล็งอยู่ จะเป็นคณะหรือสถาบันที่เข้าร่วมกับกสพท ด้วยหรือไม่ chulatutor ได้รวบรวมข้อมูลคณะและสถาบันที่เปิดรับกสพท.
คณะแพทยศาสตร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ | คณะสัตวแพทยศาสตร์ | คณะเภสัชศาสตร์ |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยมหิดล | มหาวิทยาลัยมหิดล | มหาวิทยาลัยมหิดล | มหาวิทยาลัยมหิดล |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | มหาวิทยาลัยพายัพ |
มหาวิทยาลัยนเรศวร | มหาวิทยาลัยนเรศวร | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
มหาวิทยาลัยรังสิต | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก | มหาวิทยาลัยสยาม |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | |
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช | |||
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า | |||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | |||
มหาวิทยาลัยบูรพา | |||
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
มหาวิทยาลัยสยาม |
กสพท เกณฑ์ในการคัดเลือก
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาของกสพท นั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะการทำข้อสอบเท่านั้น แต่การพิจารณาเพื่อคัดเลือกของ กสพท จะแบ่งเกณฑ์การคัดเลือกทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนของวิชาเฉพาะหรือวิชาความถนัดแพทย์ ส่วนของวิชาสามัญ และ ส่วนของ O-NET ซึ่งแต่ละส่วนมีเกณฑ์การพิจารณาและสัดส่วนน้ำหนักคะแนน ดังนี้ค่ะ
- ส่วนของวิชาเฉพาะหรือวิชาความถนัดแพทย์ (30%) : ในส่วนนี้ ข้อสอบจะสอบเกี่ยวกับความถนัดวิชาแพทย์โดยเฉพาะ เพื่อดูว่าผู้สอบมีปัญญาไหวพริบเพียงพอสำหรับการเล่าเรียนวิชาดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้ ข้อสอบส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ดังต่อไปนี้ (ทั้ง 3 ส่วนจะมีสัดส่วนคะแนนที่ 30%)
- ส่วนเชาว์ปัญญา เน้นความสามารถทางการตรรกะ การคำนวณเป็นหลัก เนื้อหาการทดสอบเน้นที่วิชาคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ อนุกรม การจับคู่ ความสัมพันธ์ รวมไปถึงภาษาในรูปแบบบทความ เพื่อทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์และจับใจความ
- ส่วนจริยธรรมทางการแพทย์ เป็นส่วนที่ทดสอบจริยธรรมของผู้เรียน ซึ่งส่วนนี้ไม่ได้ทดสอบถึงวิชาที่สอนกันในห้องเรียนค่ะ
- ส่วนความคิดเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล ลักษณะคล้าย ๆ ข้อสอบ GAT
- ส่วนของวิชาสามัญ (70%): นอกเหนือจากการสอบวิชาเฉพาะหรือความถนัดแล้วนั้น อีกส่วนหนึ่งของกสพท ที่ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย โดยในส่วนนี้น้อง ๆ จะต้องทำการทดสอบที่จัดสอบโดยสทศ. ซึ่งเป็นการสอบทั้งหมด 7 วิชา ดังนี้ค่ะ (ในส่วนนี้มีสัดส่วนน้ำหนักทั้งหมด 70% โดยแต่ละกลุ่มวิชามีสัดส่วนคะแนนไม่เท่ากัน แต่มีเกณฑ์เพิ่มเติมว่าต้องทำข้อสอบของแต่ละกลุ่มวิชาให้ได้ไม่ต่ำกว่า 30 คะแนนจากคะแนนเต็ม)
- คณิตศาสตร์ 1 20%
- ภาษาอังกฤษ 20%
- ภาษาไทย 10%
- สังคมศึกษา 10%
- ส่วนของ O-NET : น้อง ๆ ที่จะผ่านการคัดเลือกจากกสพท จะต้องสอบ O-NET ทั้งนี้ แม้กสพท. จะไม่ได้นำการสอบ O-NET มาเป็นสัดส่วนน้ำหนักการพิจารณา แต่ทว่าจะต้องทำคะแนนรวม 5 วิชา ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคม ให้ได้คะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน จึงจะผ่านเกณฑ์ค่ะ
คุณสมบัติผู้สมัคร กสพท
ผู้มีสิทธิสมัคร กสพท จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครสอบ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ และตรวจสุขภาพ
- เป็นผู้ที่สมัครหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในสายวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า เท่านั้น
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย ยกเว้นผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในสถาบันเอกชนที่เข้าร่วมกับ กสพท
- เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะไปปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ตามระเบียบของทางราชการ เรื่องการปฏิบัติงานชดใช้ทุน สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัญฑิต และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ยกเว้นผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในสถาบันเอกชนที่เข้าร่วมกับ กสพท
- ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของรัฐ ยกเว้น ผู้ได้รับการอนุมัติให้ลาออกจากการศึกษา
- ไม่เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบันที่เข้าร่วมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (TCAS)
- ไม่มีปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพแพทย์หรือทันตแพทย์หรือสัตวแพทย์หรือเภสัชกร ตามแนวทางคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรเภสัชศาสวตรบัณฑิต ของ กสพท (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ www.9.si.mahidol.ac.th)
- สำหรับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อเป็นนักเรียนแพทย์ทหารหรือนักศึกษาแพทย์ ตามที่ทางวิทยาลัยฯ กำหนด ดูรายละเอียดทางเว็บไซต์ ได้ที่ www.pcm.ac.th
ขอบคุณข้อมูล https://www.chulatutor.com/ และ https://www.webythebrain.com/