พื้นฐานตรรกศาสตร์
ความเป็นมาตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คำว่า “ตรรกศาสตร์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ตรฺก” (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด) รวมกับ “ศาสตร์” (หมายถึง ระบบความรู้) ดังนั้น “ตรรกศาสตร์ จึงหมายถึง ระบบวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความคิด” โดยความคิดที่ว่านี้ เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผล มีกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล นักปราชญ์สมัยโบราณได้ศึกษาเกี่ยวกับการให้เหตุผล แต่ยังเป็นการศึกษาที่ไม่เป็นระบบ จนกระทั่งมาในสมัยของอริสโตเติล ได้ทำการศึกษาและพัฒนาตรรกศาสตร์ให้มีระบบยิ่งขึ้น มีการจัดประเภทของการให้เหตุผลเป็นรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นแบบฉบับของการศึกษาตรรกศาสตร์ในสมัยต่อมา เนื่องจากตรรกศาสตร์เป็นวิชาทว่าด้วยกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผล จึงเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เพียงแต่ รูปแบบของการให้เหตุผลนั้น มักจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ และเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับ ผู้ศึกษาที่จะนำไปใช้และศึกษาต่อไป จึงจะกล่าวถึงตรรกศาสตร์และการให้เหตุผลเฉพาะส่วนที่ จำเป็นและสำคัญเท่านั้น
ตรรกศาสตร์(Logic)
ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็นสาระสำคัญ ข้อความหรือการให้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนจนใช้ประโยชน์ในการสรุปความ ความสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ตรรกศาสตร์เป็นแม่บทของคณิตศาสตร์แขนงต่าง ๆ และการประยุกต์
ตรรกศาสตร์เป็นส่วนหนึ่ง ที่อยู่ในส่วนของการประมวนผลข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์ในด้านการประมวลผลข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์ในด้านการประมวลผลเชิงตรรก โดยในเรื่องนี้จะเป็นการประมวลผลค่าความจริงเพียงค่าเดียวซึ่งในการคำนวณจะเน้นเชิงของเหตุและผล ตามหลักของ พิชคณิตบูลีน ซึ่งในการให้ค่าความจริงนั้น จะมีค่าจริงและค่าเท็จ แต่จะให้ผลออกมาค่าใดค่าหนึ่งเท่าหนึ่งเท่านั้น ในการประมวลของตรรกศาสตร์นั้น ยังต้องอาศัยตัวเชื่อมเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้การวิเคราะห์ หรือ ตัดสินใจนี้ให้เหตุผลที่ถูกต้องที่สุดอีกด้วย
ประพจน์ Proposition , Statement
ประพจน์ (Proposition ,Statement) หมายถึง ประโยชน์หรือข้อความ ที่มีค่าความจริงเป็นจริง หรือเป็นเท็จเพียงค่าใดค่าหนึ่งเท่านั้น ซึ่งอาจอยู่ในประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้
กลุ่มข้อความที่จัดว่าเป็นประพจน์
ประโยค | ค่าประพจน์ |
กรุงเทพเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
นกไม่มีปีก ธนาคารมีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในคอมพิวเตอร์ 4+5มีค่าเท่ากับ 9 จังหวัดอุดรธานีไม่ได้อยู่ในภาคอีสาน 2 + 3 = 3 – 1 โลกเป็นดาวเคราะห์ เลขคู่ทุกจำนวนหารด้วยสองลงตัว 17 + 8 = 30 เซตว่างไม่เป็นสับเซตของทุกเซต ปลาและนกเป็นสัตว์บก |
จริง
เท็จ จริง จริง เท็จ เท็จ จริง จริง เท็จ เท็จ เท็จ |
แต่ข้อความที่ไม่จัดได้ว่าเป็นลักษณะของประพจน์ จะเป็นข้อความหรือประโยคประเภท คำถาม คำสั่ง อ้อนวอน ขอร้อง อุทาน ห้าม หรือแสดงความปรารถนา
กลุ่มข้อความที่ไม่จัดว่าเป็นประพจน์
ประโยค | ประเภท |
50 คูณด้วย 40 มีค่าเท่ากับเท่าไร
หยุดเดี๋ยวนี้นะ อย่าส่งเสียงดังในเวลาทำงาน กรุณาปิดไฟทุกครั้งก่อนออกจากห้อง ได้โปรดเถอะนะถือว่าสงสารฉันหน่อย ว้าย! ตะเถรตกกระโถน บรรยากาศสำหรับเราสองคนอยากให้เป็นเช่นนี้จังเลย อย่าคุยเวลาทำงาน อยากดูหนังมากเลย ว้าย! น่ากลัวจัง |
คำถาม
คำสั่ง ห้าม ขอร้อง อ้อนวอน อุทาน ปรารถนา ห้าม ปรารถนา อุทาน |
หลักในการหาค่าความจริง
- เขียนค่าความจริงของประพจน์ย่อย หรือตัวแปรแต่ละตัวก่อน เช่นp,q,r,…
- หาค่าความจริงที่เป็นนิเสธของตัวแปร ถ้ามี~p,~q,…
- หาค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อมที่กินความน้อยที่สุด
- หาค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อมที่กินความมากขึ้นตามลำดับ
- ถ้าตัวเชื่อมกินความเท่ากัน ให้ทำจากซ้ายไปขวา
- ถ้ามีวงเล็บควรทำในวงเล็บก่อน
ตัวเชื่อมที่กินความน้อยที่สุด ไปหามากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้
- ~
- ^
- v
- →
- ↔
ตารางเรียงลำดับคุมความของลักษณ์จากมากไปหาน้อย
สัญลักษณ์ | ความหมาย | ขยายความหมาย |
↔ | ก็ต่อเมื่อ | มีค่าความจริงเป็นจริง เมื่อประพจน์ที่เชื่อมกันมีค่าความจริงเหมือนกัน |
→ | ถ้า…แล้ว | มีค่าความจริงเป็นเท็จเมื่อประพจน์หน้าเป็นจริงและหลังเป็นเท็จ |
^ | และ | มีค่าความจริงเป็นจริง เมื่อทุกประพจน์เป็นจริงทั้งหมด |
v | หรือ | มีค่าความเป็นจริง เมื่อมีประพจน์ใดประพจน์หนึ่งเป็นจริง |
~ | ไม่ | มีค่าความตรงข้าว เช่นเปลี่ยนจากเป็นเท็จ หรือเปลี่ยนจากเท็จเป็นจริง |
จากตารางเรียงลำดับคลุมความจากมากไปน้อย โดยสัญลักษณ์ที่คลุมความน้อยกว่าต้องเริ่มจัดการทำก่อนสัญลักษณ์ที่คลุมความมากกว่า ส่วนกรณี^และvเป็นสัญลักษณ์ที่คลุมความเท่ากัน ดังนั้นจึงต้องใช้วงเล็บกำกับ เพื่อชี้ให้เห็นว่าจะต้องเริ่มทำที่ตัวเชื่อมใดก็ได้
p | q | ~q | pvq | p^~q | pvq→p^~q |
T
T F F |
T
F T F |
F
T F T |
T
T T F |
F
T F F |
F
T F T |
ตัวอย่าง จงหาตารางความจริงของประพจน์ pvq→p^~q
วิธีทำ 1. เขียนค่าของ p, q ก่อน
- หาค่า~q ก่อน
- หาค่าpvq และ p^~q
- หาค่าpvq→p^~q
ในกรณีที่ทราบค่าแน่นอนของตัวแปร (หรือประพจน์ย่อย) เราสามารถหาค่าความจริงของประพจน์รวมได้ทันทีโดยเขียนตารางเพียงแถวเดียว
ตัวอย่าง จงหาค่าความจริงของ (p→q)v(r^s)
เมื่อให้ p เป็นเท็จ q เป็นเท็จ r เป็นเท็จ s เป็นเท็จ
วิธีทำ P(p,q,r,s) = (p→q)v(r^s)
P(F,F,F,F) = T
ตัวอย่าง “ถ้า 1+1 = 3 หรือ 2+2 = 5 แล้ว 1+2 = 4”
วิธีทำ ให้ p คือ 1+1 = 3 เป็น F
q คือ 2+2 = 5 เป็น F
r คือ 1+2 = 4 เป็น F
ประโยคข้างต้นสามารถเขียนแทนด้วย p^q→r
pvq = FvF = F
pvq→r = F→F = T
ตัวอย่าง จงเขียนประโยคที่กำหนดให้ในรูปสัญลักษณ์
(1) ถ้า 4 เป็นเลขคี่แล้ว 5 เป็นเลขคู่
p แทน 4 เป็นเลขคี่
q แทน 5 เป็นเลขคู่
ดังนั้นเขียนแทนด้วย p→q
(2) 2 เท่ากับหรือมากกว่า 3
p แทน 2 เท่ากับ 3
q แทน 2 มากกว่า 3
ดังนั้นเขียนแทนด้วย pvq
(3) 6 หาร 3 ได้ลงตัวก็ต่อเมื่อ 3 บวก 3 เท่ากับ 7
p แทน 6 หาร 3 ลงตัว
q แทน 3 บวก 3 เท่ากับ 7
ดังนั้นเขียนแทนด้วย p↔q
(4) ดอกกุหลาบมีสีแดงและดอกมะลิมีสีฟ้า
p แทนดอกกุหลาบมีสีแดง
q แทนดอกมะลิมีสีฟ้า
ดังนั้นเขียนแทนด้วย p^q