โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ความสัมพันธ์เป็นหัวข้อทางคณิตศาสตร์ที่มีบทบาทมากในการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องกันระหว่างสมาชิกในเซตเดียวกับหรือสมาชิกต่างเซตกัน โดยสมาชิกที่สัมพันธ์กันจะถูกเขียนในรูปของคู่อันดับ ถ้าเราให้ S เป็นเซตของนักเรียน และ C เป็นเซตของวิชา ถ้านักเรียนคนที่ s ได้ลงเรียนวิชา c นั้นคือนักเรียน s และวิชา c สัมพันธ์กันในลักษณะของการลงเรียนวิชาเขียนแทนด้วยคู่อัน (s,c) โดยที่คู่อันดับ (s,c) เป็นสมาชิกของผลคูณคาร์ทีเซียน S x C เมื่อเรารวบรวมคู่อัน (s,c) ทั้งหมดเราจะได้เซตที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของนักเรียนกับวิชาที่เรียน นอกจากนี้หากนักเรียน s ได้ลงเรียนวิชา c1, c2 และ c4 เราสามารถแทนด้วยคู่อันดับ
( s, { c1, c2, c4 } ) ซึ่งเป็นสมาชิกของผลคูณคาร์ทีเซียน S x P(C) โดยที่ P(C) คือเพาเวอร์เซตของเซต C
ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ A = { a, b } จงหา A x P(A)
วิธีทำ พิจารณา P(A) = { { }, {a}, {b}, { a, b } } จะได้ว่า
A x P(A) = { (a, { }), (a, {a}), (a, {b}), (a, { a, b }), (b, { }), (b, {a}), (b, {b}), (b, { a, b }) }
ตัวอย่างที่ 2 ถ้า A และ B เป็นเซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับ 3 และ 5 ตามลำดับจำนวนความสัมพันธ์ของ A และ B ที่แตกต่างกันมีค่าเท่าใด
วิธีทำ เนื่องจาก n(A) = 3 และ n(B) = 5 จะได้ว่า n( A x B ) = 15 ความสัมพันธ์คือการเลือกหรือรวบรวมผลคูณคาร์ทีเซียนของ A และ B นั้นคือเซตย่อยของ A x B ดังนั้นจำนวนความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดจะเท่ากับจำนวนเซตย่อยของ A x B เท่ากับ 215
โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์คืออะไร เรามาดูความหมายของโดเมน(Domain)และเรนจ์(Range) กัน
ให้ r เป็นความสัมพันธ์ใดๆ
r={(x,y)}r={(x,y)}
โดเมนของความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย DrDr และมีความหมายดังนี้
Dr={x|(x,y)∈r}Dr={x|(x,y)∈r} ความหมายของเซตนี้ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ…ก็คือ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ เซตของสมาชิกตัวหน้าของทุกคู่อันดับที่อยู่ใน r
เรนจ์ของความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย RrRr และมีความหมายดังนี้
Rr={y|(x,y)∈r}Rr={y|(x,y)∈r} ความหมายของเซตนี้ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ…ก็คือ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ เซตของสมาชิกตัวหลังของทุกคู่อันดับที่อยู่ใน r
มาดูตัวอย่างการหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์กัน…คับ
ตัวอย่างที่ 1 ให้ r={(1,2),(3,4),(5,6),(7,8)}r={(1,2),(3,4),(5,6),(7,8)} จงหา DrDr และ RrRr
วิธีทำ จากความหมายของ DrDr คือ Dr={x|(x,y)∈r}Dr={x|(x,y)∈r} จึงได้ว่า
Dr={1,3,5,7}Dr={1,3,5,7}
จากความหมายของ RrRr คือ Rr={y|(x,y)∈r}Rr={y|(x,y)∈r} จึงได้ว่า
Rr={2,4,6,8}Rr={2,4,6,8}
ตัวอย่างที่ 2 ให้ A={(a,b),(c,d),(e,f),(m,n)}A={(a,b),(c,d),(e,f),(m,n)} จงหา DADA และ RARA
วิธีทำ
DADA คือสมาชิกตัวของคู่อันดับในเซต A จึงได้ว่า
DA={a,c,e,m}DA={a,c,e,m}
RARA คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในเซต A จึงได้ว่า
RA={b,d,f,n}RA={b,d,f,n}
ตัวอย่างที่ 3 ให้ M={(x,y)∈I+×I+|x=y}M={(x,y)∈I+×I+|x=y} จงหา DMDM และ RMRM
วิธีทำ จากโจทย์น่ะคับเซต M เป็นการเขียนเซตในรูปแบบการบอกเงื่อนไขน่ะคับ เพื่อความชัดเจนน่ะคับเราต้องเปลี่ยนรูปแบบของเซตใหม่โดยเปลี่ยนจากแบบเงื่อนไข ให้อยู่ในรูปแบบแจกแจงสมาชิกคับ จึงได้ว่า
M={(1,1),(2,2),(3,3),(4,4),(5,5),...}M={(1,1),(2,2),(3,3),(4,4),(5,5),…} ดังนั้นจึงได้ว่า
DM={1,2,3,4,5,6,7,8,....}DM={1,2,3,4,5,6,7,8,….}
RM={1,2,3,4,5,6,7,8,...}RM={1,2,3,4,5,6,7,8,…}
ตัวอย่างที่ 4 ให้ N={(x,y)∈I+×I+|y=x2}N={(x,y)∈I+×I+|y=x2} จงหาDNDN และ RNRN
วิธีทำ จากโจทย์น่ะคับเซต N เป็นเซตที่เขียนในรูปแบบบอกเงื่อนไขน่ะคับ เพื่อความชัดเจนน่ะคับ เราต้องเขียนเซตนี้ใหม่น่ะคับ โดยเขียนให้อยู่ในรูปแบบแจกแจงสมาชิกคับ ดูจากเงื่อนไขในเซตน่ะ(เอ็กซ์เท่ากับวายยกกำลังสอง)แล้วจะเข้าใจ
จึงได้ว่า
N={(1,1),(2,4),(3,9),(4,16),(5,25),(6,36),(7,49),(8,64),...}N={(1,1),(2,4),(3,9),(4,16),(5,25),(6,36),(7,49),(8,64),…} ดังนั้น
DN={1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,...}DN={1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,…}
RN={1,4,9,16,25,36,49,64,81,100,...}RN={1,4,9,16,25,36,49,64,81,100,…}
ตัวอย่างที่ 5 ให้ L={(x,y)∈{0,1,2,3,}×{1,2,3,4}|y=x−1}L={(x,y)∈{0,1,2,3,}×{1,2,3,4}|y=x−1} จงหา DLDL และ RLRL
วิธีทำ ข้อนี้เดี๋ยวจะแสดงให้ดูอย่างละเอียดเลยน่ะ ค่อยๆอ่านน่ะ..และทำความเข้าใจตามด้วย
หาตัวนี้ก่อนน่ะ
{0,1,2,3}×{1,2,3,4}={(0,1),(0,2),(0,3),(0,4),(1,1){0,1,2,3}×{1,2,3,4}={(0,1),(0,2),(0,3),(0,4),(1,1)
,(1,2),(1,3),(1,4),(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(3,1),(3,2),(3,3),(3,4)},(1,2),(1,3),(1,4),(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(3,1),(3,2),(3,3),(3,4)}
ต่อไปก็ดูว่า คู่อันดับตัวไหนที่เป็นไปตามเงื่อนไข y=x−1y=x−1 บ้าง ก็จะมี
(2,1),(3,2)(2,1),(3,2) ดังนั้นจึงได้ว่า
L={(2,1),(3,2)}L={(2,1),(3,2)}
ดังนั้น
DL={2,3}DL={2,3}
RL={1,2}RL={1,2}
ตัวอย่างที่ 6 ให้ A={−3,−2,−1,0,1,2,3}A={−3,−2,−1,0,1,2,3} และกำหนดให้ความสัมพันธ์ r ใน A คือ {(x,y)∈A×A|y=x2}{(x,y)∈A×A|y=x2} จงหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์นี้
วิธีทำ วิเคราะห์โจทย์ก่อนนะคับ เขาให้หาความสัมพันธ์ r ใน A โดยที่สมาชิกใน r นั้นต้องมีสมบัติเป็นดังนี้คือ y=x2y=x2 ความหมายก็คือ เอาเอ็กซ์ยกกำลังสองแล้วได้เท่ากับวาย จะเห็นว่าถ้าผมมีคู่อันดับ (0,0) จะเห็นว่า x=0 และ y=0 เช่นกัน เอ็กซ์ยกกำลังสองจะเท่ากับวาย เพราะ 0=020=02 หรือถ้าผมมีคู่อันดับ (-1,1) จะเห็นว่า x=-1 และ y= 1 เอ็กซ์กำลังสองจะเท่ากับวาย เพราะ 1=(−1)21=(−1)2 จริงไหม ดังนั้นสมาชิกของ r หาไม่ยากแล้ว คิดในใจก็ได้ ถ้าวิเคราะห์โจทย์เป็น ดังนั้น
r={(x,y)∈A×A|y=x2}r={(x,y)∈A×A|y=x2}
r={(0,0),(−1,1),(1,1)}r={(0,0),(−1,1),(1,1)} นี้คือสมาชิกในความสัมพันธ์ r
ดังนั้นหาโดเมนและเรนจ์ของ r ได้แล้ว
Dr={0,−1,1}Dr={0,−1,1}
Rr={0,1}Rr={0,1}