สรุปเนื้อหาเรื่อง สถิติ ม.6 เบื้องต้น
สถิติ คือ ตัวเลขที่ใช้แทนข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะต้องเป็นตัวเลขรวบยอดที่ประมวลมาได้จากข้อมูลเบื้องต้นโดยการวิเคราะห์คำนวณ โดยสถิตินั้นจะครอบคลุมตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล
ข้อมูลสถิติหรือข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจศึกษา โดยข้อมูลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ข้อมูลสถิติหรือข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจศึกษา โดยข้อมูลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ สัมภาษณ์ การสังเกต การใช้แบบสอบถาม การทดลอง
- ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ทะเบียนประวัติ บทความ รายงานต่าง ๆ
ข้อมูล สามารถจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ
- ข้อมูลเชิงปริมาณ
- ข้อมูลตามกาลเวลา
- ข้อมูลตามสภาพภูมิศาสตร์
ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data)
คือ ข้อมูลที่ได้จากการนับหรือการวัด สามารถระบุออกเป็นตัวเลขแสดงปริมาณของสิ่งที่นับหรือสิ่งที่วัดได้ โดยที่ข้อมูลประเภทนี้สามารถนำไปเปรียบเทียบได้ รวมถึงสามารถนำไป บวก ลบ คูณ หรือ หารกันได้ เช่น
- คะแนนสอบ O-NET นักเรียน ม.6
- จำนวนนักเรียนที่เข้าใช้บริการห้องสมุดในเดือน มกราคม พ.ศ.2564
- อุณหภูมิของห้องเรียน ม.6/1
- ยอดขายชานมไข่มุกรายเดือนของร้านแห่งหนึ่ง
- น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน ม.6/2
- อายุการใช้งานหลอดไฟตะเกียบ
นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงปริมาณ ยังสามารถแบ่งตามลักษณะของปริมาณได้อีก 2 ประเภท คือ
ข้อมูลชนิดไม่ต่อเนื่อง (discrete data) เป็นข้อมูลที่จากการนับ เช่น จำนวนนักเรียน (1, 2, 3, … คน) จำนวนหนังสือ (1, 2, 3, … เล่ม) จากตัวอย่างดังกล่าวนักเรียนจะเห็นว่า นักเรียนไม่สามารถนับจำนวนนักเรียนเป็น 1.5 คน หรือ\dfrac{3}{2}คนได้ กล่าวคือ จำนวนที่เกิดขึ้นจากการนับนั้นต้องมีลักษณะเป็นจำนวนเต็ม
ในขณะที่ข้อมูลชนิดต่อเนื่อง (continuous data) จะมีลักษณะเป็นได้ทั้งจำนวนเต็ม เศษส่วน และทศนิยม เนื่องจากข้อมูลประเภทนี้เกิดจากการวัด ตัวอย่างเช่น ความสูงของนักเรียน (อาจเป็น 173, 174.5, 177.8 เซนติเมตร) น้ำหนักของนักเรียน (อาจเป็น 48, 50.6, 67.9 กิโลกรัม) คะแนนสอบปลายภาค (อาจเป็น 20, 20.5, 32.1 คะแนน)
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data)
คือ ข้อมูลที่แสดงลักษณะของสิ่งที่สนใจ ซึ่งไม่สามารถวัดค่าเป็นตัวเลขที่นำมาดำเนินการทางพีชคณิต เช่น บวก ลบ คูณ หารกันได้ ตัวอย่างเช่น สถานะภาพสมรส (เช่นโสด สมรส หย่าร้าง) อาชีพ (เช่น ครู ข้าราชการ พนักงานบริษัท) ระดับชั้น (เช่น ม.6/1 ม.6/2) หมายเลขโทรศัพท์ รหัสไปรษณีย์ ระดับความพึ่งพอใจในการเข้าใช้บริการ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถบอกได้ว่า มีค่ามากหรือน้อย แต่จะสามารถบอกได้ว่าดีหรือไม่ดี หรือบอกลักษณะความเป็นกลุ่มของ ข้อมูล เช่น เพศ ศาสนา สีผม คุณภาพสินค้า ความพึงพอใจฯลฯ เช่น
มากกว่า น้อยกว่าได้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่แสดงฐานะ สถานภาพ คุณสมบัติ ตัวอย่างของข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ ชื่อของพนักงานในบริษัท เพศ วัน เดือน ปี ชนิดของสินค้า เป็นต้น ถึงแม้ว่าข้อมูลประเภทนี้จะกำหนดด้วยตัวเลขก็ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเชิงปริมาณได้เช่น หมายเลขโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือการกำหนดตัวเลขแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น 1 แทนเพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า 2 มีค่ามากกว่า 1 ตัวเลขทั้งสองเป็นแต่เพียงแสดงว่าแตกต่างกัน เท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเบื้องต้นจะกระทำได้ด้วยการเปรียบเทียบจำนวนความถี่ของข้อมูล หรือการเปรียบเทียบ ปริมาณของค่าสัมพัทธ์ ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลประเภทนี้ไม่สามารถบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้