สมบัติการบวกและการคูณเรื่องของจำนวนจริง (Real number)
สมบัติของจำนวนจริงเกี่ยวกับการบวก
1. สมบัติปิดของการบวก
ถ้า a R และ b R แล้ว a + b R
ตัวอย่าง ถ้า 4 , 5 R แล้ว 4 + 5 = 9 ซึ่ง 9 R ด้วย
2. สมบัติการสลับที่ของการบวก
ถ้า a R และ b R แล้ว a + b = b + a
ตัวอย่าง 2 + 3 = 3 + 2
3. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการบวก
ถ้า a R , b R และ c R แล้ว a + ( b + c ) = ( a + b ) + c
ตัวอย่าง 2 + ( 4 + 5 ) = ( 2 + 4 ) + 5
4. สมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก
จำนวนจริงที่นำมาบวกกับจำนวนจริง a แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ a เรียกจำนวนจริงที่นำมาบวกว่าเอกลักษณ์การบวก ในระบบจำนวนจริงมีเอกลักษณ์การบวกจำนวนเดียว คือ 0
ตัวอย่าง 2 + 0 = 2 = 0 + 2
5. สมบัติการมีอินเวอร์สของการบวก
จำนวนจริงที่บวกกับจำนวนจริง a แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 คือ – a เรียก – a ว่าเป็นอินเวอร์สการบวกของ a
ตัวอย่าง ( – 5 ) + 5 = 0 = 5 + ( – 5)
1. จำนวนอตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น √2 , √3, √5, -√2, – √3, -√5 หรือ ¶ ซึ่งมีค่า 3.14159265… | ||
2. จำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น | ||
เขียนแทนด้วย 0.5000… | ||
เขียนแทนด้วย 0.2000… | ||
• ระบบจำนวนตรรกยะ | ||
จำนวนตรรกยะยังสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ | ||
1. จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนหรือทศนิยมซ้ำได้ แต่ไม่เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น | ||
2. จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I = {…, -4, -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3, 4, …} เมื่อกำหนดให้ I เป็นเซตของจำนวนเต็ม | ||
• ระบบจำนวนเต็ม | ||
จำนวนเต็มยังสามารถแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน | ||
1. จำนวนเต็มลบ หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I – โดยที่ I – = {…, -4, -3, -2, -1} เมื่อ I – เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ |
||
2. จำนวนเต็มศูนย์ (0) | ||
3. จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I+ โดยที่ I+ = {1, 2, 3, 4, …} เมื่อ I+ เป็นเซตของจำนวนเต็มบวก |
||
จำนวนเต็มบวก เรียกได้อีกอย่างว่า “จำนวนนับ” ซึ่งเขียนแทนเซตของจำนวนนับได้ด้วยสัญลักษณ์ N โดยที่ N = I+ = {1, 2, 3, 4, …} |
||
• ระบบจำนวนเชิงซ้อน | ||
นอกจากระบบจำนวนจริงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีจำนวนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งได้จากการแก้สมการต่อไปนี้ | ||
x2 = -1 | ∴ x = √-1 = i | |
x2 = -2 | ∴ x = √-2 = √2 i | |
x2 = -3 | ∴ x = √-3 = √3 i | |
จะเห็นได้ว่า “ไม่สามารถจะหาจำนวนจริงใดที่ยกกำลังสองแล้วมีค่าเป็นลบ” เราเรียก √-1 หรือจำนวนอื่นๆ ในลักษณะนี้ว่า “จำนวนจินตภาพ”และเรียก i ว่า “หนึ่งหน่วยจินตภาพ” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ i | ||
ยูเนียนของเซตจำนวนจริงกับเซตจำนวนจินตภาพ คือ ” เซตจำนวนเชิงซ้อน ” (Complex numbers) |
สมบัติของจำนวนจริง
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ |
1. สมบัติการสะท้อน a = a |
2. สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a |
3. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c |
4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c |
5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc |