ข้อสอบ TPAT 3 จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ ความรู้ทางคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, และเคมี
- ความถนัดในการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ วิธีการคิดแบบวิศวกร การแก้ปัญหาทางวิศวกรรม รวมถึงการเขียนแบบเชิงวิศวกรรม
TPAT3 คือ ข้อสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทคือ การทดสอบความถนัด (aptitude test) และการทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
ซึ่งน้องปีก่อนๆ อาจจะคุ้นกับข้อสอบแนวนี้ในชื่อ PAT3 การสอบวัดความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในปีการศึกษา 66 เป็นต้นไปจะเปลี่ยนมาเป็นระบบ TPAT ซี่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงขึ้นคือโครงสร้างของข้อสอบนั้นเอง
TPAT 3 สอบอะไร?
TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
มีโครงสร้างข้อสอบทั้งหมด 70 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน ให้เวลาทำทั้งหมด 180 นาที
โดยข้อสอบประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 : การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับในส่วนนี้จะเป็นแนวข้อสอบที่ค่อนข้างจะเน้นไปที่การวัด IQ เป็นหลัก แต่ไม่ต้องกลัวว่ามันจะยากหรือทำไม่ได้ เพราะข้อสอบแนวนี้ก็สามารถฝึกทำเพื่อพัฒนากันได้แน่นอน
.
ส่วนที่ 2 : การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับในส่วนนี้ หลักๆแล้วจะเป็นการวิเคราะห์เหตผลทางวิทยาศาสตร์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร รวมถึงวัดในเรื่องของตรรกะ และสุดท้ายในเรื่องของข่าวสารว่าเราหมั่นติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดหรือไม่
โดยสรุปแล้วพี่อยากจะขอแบ่งข้อสอบ TPAT3 นี้ออกเป็น 5 ส่วนหลักๆด้วยกัน
1.Sense ทางด้านตัวเลข
2.มิติสัมพันธ์
3.Sense ทางกลศาสตร์
4.การวิเคราะห์ และ Logic
5.ความรู้รอบตัว
สรุปการเปลี่ยนแปลง TCAS66
- ลดความซ้ำซ้อนของรายวิชาสอบ
- เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งาน โดยเนื้อหาจะออกไม่เกินหลักสูตร
- GAT/PAT/วิชาสามัญ ไม่มีการสอบแล้ว แต่ปรับเปลี่ยนข้อสอบเป็น TGAT/TPAT/A-Level แทน
- คะแนนเต็ม 100 คะแนน เท่ากันทุกวิชา
ดังนั้น น้อง Dek66 ทุกคน จะต้องอ่านหนังสือและทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราไม่รู้และไม่เข้าใจเนื้อหาการเรียนอย่างแท้จริง
TCAS66 มีทั้งหมด 4 รอบ
รอบที่ 1 Portfolio : รอบแฟ้มสะสมผลงาน สำหรับน้องๆ DEK66 ที่มีทักษะ ความสามารถและคุณสมบัติพิเศษตรงตามความต้องการของมหาวิทยาลัย รวมถึงผลการเรียนที่ดีด้วย
คะแนนที่ใช้ยื่น : GPAX , TGAT , TPAT
รอบที่ 2 Quota : รอบสำหรับนักเรียนในโครงการพิเศษและคนที่ภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ตามเกณฑ์มหาวิทยาลัยกำหนด ที่มีความสามารถพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถด้านการเรียน ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านศิลปะ ฯลฯ
คะแนนที่ใช้ยื่น : GPAX , TGAT , TPAT , A-Level
รอบที่ 3 Admission : รอบรับตรงร่วมกัน พิจารณาคะแนนสอบล้วนๆ เปิดรับสมัครพร้อมกันทั้งประเทศ
คะแนนที่ใช้ยื่น : GPAX , TGAT , TPAT , A-Level
รอบ 4 Direct Admission : รอบรับตรงอิสระ ซึ่งถือเป็นรอบเก็บตกสำหรับน้องๆที่ยังไม่ได้มหาวิทยาลัยที่ถูกใจ หรือยังไม่มีที่เรียน ซึ่งจำนวนที่นั่งที่เปิดรับค่อนข้างน้อย และไม่ได้เปิดรับทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ
คะแนนที่ใช้ยื่น : GPAX , TGAT , TPAT , A-Level