คณิตศาสตร์เรื่องเซต -เซตจำกัด และเซตอนันต์
เซต (SET)
• เซต คือกลุ่มของสมำชิก (element) ของสิ่งที่สนใจ
• ด้วยวงเล็บปีกกำ { } เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซต
• เซตในควำมหมำยของค ำว่ำ กลุ่ม หมู่ เหล่ำ กอง ฝูง ชุด
• เพื่ออธิบำยว่ำภำยในเซตประกอบด้วยสมำชิกใดบ้ำง
• สำมำรถเขียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสมำชิก หรือไม่เป็นสมำชิก
https://www.picclickimg.com/d/l400/pict/312610426146_/Plastic-3D-Geometric-Solid-Model-Geometry-Educational-Math.jpg
A = {1, 2, 3} จะได้ว่า 1 ∈ A, 2 ∈ A, 3 ∈ A และ 5 ∉ A
การเขียนเซต
การเขียนเซต | |||
การเขียนเซตนิยมใช้อักษรตัวใหญ่เขียนแทนชื่อเซต และสามารถเขียนได้ 2แบบ | |||
1. แบบแจกแจงสมาชิกของเซต | |||
ตัวอย่างเช่น | A = {1, 2, 3, 4, 5} | ||
B = { a, e, i, o, u} | |||
C = {…,-2,-1,0,1,2,…} | |||
2. แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิกในเซต | |||
ตัวอย่างเช่น | A = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5} | ||
B = { x | x เป็นสระในภาษาอังกฤษ} | |||
C = {x | x เป็นจำนวนเต็ม} | |||
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตของจำนวนต่างๆมีดังนี้ | ||
I– แทนเซตของจำนวนเต็มลบ | Q– แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นลบ | |
I+ แทนเซตของจำนวนเต็มบวก | Q+ แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นบวก | |
I แทนเซตของจำนวนเต็ม | Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ | |
N แทนเซตของจำนวนนับ | R แทนเซตของจำนวนจริง |
นิยามของเซตอนันต์
รู้จักเซตจำกัดกันแล้ว มาต่อที่เซตอนันต์ (infinite set) กันได้เลย โดยเซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่สามารถเขียนแจกแจงสมาชิกได้ หรือเป็นเซตที่มีสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน มาดูตัวอย่างของเซตอนันต์กัน
ตัวอย่างที่ 3
C = {c | c เป็นจำนวนจริงที่น้อยกว่า 888 }
จะเห็นว่าเซต C มีสมาชิกเป็นจำนวนจริงมากมายนับไม่ถ้วน เพราะรวมทั้งเศษส่วน ทศนิยม และตัวเลขอื่น ๆ ที่เป็นจำนวนจริง และมีค่าน้อยกว่า 999 ดังนั้น เราจึงไม่สามารถนับจำนวนสมาชิก หรือเขียนแจกแจงสมาชิกให้กับเซต C ได้ จะได้ว่าเซต C เป็นเซตอนันต์
ข้อสังเกตเกี่ยวกับเซตจำกัด และเซตอนันต์
1. การมีสัญลักษณ์ … ไม่ได้บอกว่าเซตนั้น ๆ เป็นเซตจำกัด หรือเซตอนันต์
• เซตจำกัด
บทนิยาม เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถระบุจำนวนสมาชิกในเซตได้
ตัวอย่างเช่น
A = {1, 2, 3, 4, 5} มีสมาชิก 5 สมาชิก
B = { a, e, i, o, u} มีสมาชิก 5 สมาชิก
• เซตอนันต์
เซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด หรือเซตที่มีจำนวนสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน
ตัวอย่างเช่่น
C = {…,-2,-1,0,1,2,…}
• เซตที่เท่ากัน
เซต A และเซต B จะเป็น เซตที่เท่ากัน ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B
และสมาชิกทุกตัวของเซต B เป็นสมาชิกทุกตัวของเซต A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A= B
ตัวอย่างเช่่น
A = {1, 2, 3, 4, 5}
B = { x | x เป็นจำนวนนับที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}
∴ A = B
• เซตว่าง
เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิกในเซตเป็นศูนย์ สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ {} หรือ Ø
ตัวอย่างเช่่น
A = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 1 < x < 2} ∴ A = Ø
B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x + 1 = 0 } ∴ ฺB = Ø
เนื่องจากเราสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตว่างได้ ดังนั้น เซตว่างเป็นเซตจำกัด
เซตว่าง
• เซตที่ไม่มีสมำชิก หรือมีจ ำนวนสมำชิกในเซตเป็นศูนย์
• ตัวแปรอำร์เรย์ที่ไม่ได้ก ำหนดค่ำ
• คุณสมบัติของเซตว่ำง เช่น ∅ ⊆ A, A ∪ ∅ = A, A ∩ ∅ = ∅, A ⊆ ∅ ⇒ A = ∅
• เอกภพสัมพัทธ์
เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดของสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ u
ตัวอย่างเช่่น ถ้าเราจะศึกษาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม
U = {…,-2,-1,0,1,2,…}
หรือ U = {x | x เป็นจำนวนเต็ม.}
สมบัติเกี่ยวกับสับเซต
- ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ A แล้ว A = B
- ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C
- เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวเอง คือ ถ้า A เป็นเซตใดๆ แล้ว A ⊂ A
- เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต คือ ถ้า A เป็นเซตใดๆ แล้ว ∅ ⊂ A
- ถ้า n(A) = n แล้ว จำนวนสับเซตของเซต A เท่ากับ 2n สับเซต
พาวเวอร์เซต พาวเวอร์เซตของ A เขียนแทนด้วย P(A) หมายถึง เซตของสับเซตทั้งหมดของ A และจำนวนของสมาชิกของพาวเวอร์เซตหาได้จาก
n(P(A))= 2n
เช่น กำหนดให้ A = { 1, 2 } จงหาสับเซต และพาวเวอร์เซตของ A
วิธีทำ
- สับเซตทั้งหมดของ A คือ ∅, {1}, {2}, {1,2}
- ดังนั้น พาวเวอร์เซตของ P(A) = { ∅, {1}, {2}, {1,2} }
- n(P(A))= 2n = 22 = 4
สมบัติเกี่ยวกับพาวเวอร์เซต เมื่อ A, B, X เป็นเซต
- X ∈ P(A) ก็ต่อเมื่อ X ⊂ A
- A ∈ P(A)
- สำหรับทุกเซต A ใดๆ จะได้ว่า ∅ ∈ P(A) และ ∅ ⊂ P(A) ด้วย
- P(A) ≠ ∅ สำหรับทุกๆเซต A
- P(∅) = {∅}
- A ⊂ B ก็ต่อเมื่อ P(A) ⊂ P(B)
- ถ้า A เป็นเซตจำกัด ซึ่ง n(A) = n แล้ว n(P(A)) = 2n
- ถ้า A เป็นเซตอนันต์ แล้ว P(A) เป็นเซตอนันต์