ลำดับและอนุกรมอนันต์ ม.6 คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
ทบทวนลำดับเลขคณิต
ลำดับเลขคณิต คือ ล ำดับที่เพิ่มหรือลดอย่ำงคงที่ โดยกำรบวก
เรำเรียกค่ำคงที่ ที่น ำมำบวก ว่ำ “ผลต่ำงร่วม” ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ 𝑑
เช่น
5 , 8 , 11 , 14 → 𝑑 = 3
1 , 3 , 5 , 7 → 𝑑 = 2
5 , 3 , 1 , −1 → 𝑑 = −2
5 , 5 , 5 , 5 → 𝑑 = 0
พจน์ทั่วไป an = a1 + (n-1)d
โดยที่ an = พจน์ลำดับที่ n
a1 = พจน์ลำดับที่ 1
n = จำนวนพจน์ในลำดับนั้นทั้งหมด
d = ผลต่างร่วม
ลําดับเลขคณิต
- ลำดับเลขคณิต : ขวา-ซ้าย คงที่
- พจน์ทั่วไป คือ a1 + (n-1)d
- am = an + (m-n)d
เทคนิคการทำโจทย์ เมื่อโจทย์ให้ผลบวกของลำดับเลขคณิตโดย
จำนวนพจน์เป็นเลขคี่
a1 + a2 + a3 + a4 + a5
a1 = x – 2d
a2 = x – d
a3 = x
a4 = x + d
a5 = X + 2d
จำนวนพจน์เป็นเลขคู่
a1 + a2 + a3 + a4
a1 = x – 3d
a2 = x – d
a3 = x+d
a4 = x + 3d
ตัวอย่างแบบฝึกหัดพร้อมเฉลย
-
ถ้าลำดับเลขคณิตมีพจน์ที่ 1 เป็น 6 และผลต่างร่วมเป็น 4 จงหาพจน์ที่ 15
วิธีทำ จากโจทย์ จะได้ a1 = 6, d = 4
ต้องการหา a15
จากสูตรพจน์ทั่วไป an = a1 + (n-1)d
แทนค่า a1 = 6, d = 4, n = 15
ดังนั้น a15 = 6 + (15-1)(4) = 62
ตอบ พจน์ที่ 15 คือ 62
-
ลำดับเลขคณิต 16, 3, -10, …., -244 จะมีจำนวนพจน์เท่ากับกี่พจน์
วิธีทำ จากโจทย์ จะได้ a1 = 16 , d = -13 , an = -244 ต้องการหา n
จากสูตรพจน์ทั่วไป an = a1 + (n-1)d
แทนค่า a1 = 16 , d = -13 , an = -244
จะได้ -244 = 16 + (n-1)(-13)
-244 = 16 – 13n + 13
n = 21
ดังนั้นลำดับเลขคณิต 16, 3, -10, …., -244 จะมีจำนวนพจน์เท่ากับ 21 พจน์
ตอบ 21 พจน์
3.ถ้า 𝑎1,𝑎2,𝑎3,…𝑎100 เป็นลำดับเลขคณิตซึ่ง มี 𝑎1 −𝑎2 +𝑎3 −𝑎4 +…+𝑎99 −𝑎100 = 40
แล้วผลต่างร่วมของลำดับเลขคณิตนี้เท่ากับข้อใดเท่าใด [กสพทคณิต2(มี.ค.2561/7)
วิธีทำ
𝑎1 −𝑎2 +𝑎3 −𝑎4 +…+𝑎99 −𝑎100 = 40 (คูณด้วย -1 ทั้งสมการ)
−𝑎1 +𝑎2 −𝑎3 +𝑎4 −…−𝑎99 +𝑎100 = -40
(𝑎2 − 𝑎1) + (𝑎4 − 𝑎3) + … + (𝑎100 − 𝑎99) = -40
𝑑 + 𝑑 +…+ 𝑑 = -40
50𝑑 = -40 (100พจน์เท่ากับ 50คู่)
d = -45
ตอบ d = -45
อนุกรมอนันต์
อนุกรมอนันต์ [Infinite Series]
นิยาม อนุกรมอนันต์ คือ อนุกรมที่มีจำนวนพจน์ไม่จำกัด ; a1 + a2 + a3 + … + an + …
ถ้า
s1 = a1
s2 = a1 + a2
s3 = a1 + a2 + a3
:
:
sn = a1 + a2 + a3 + … + an
แล้ว s1 , s2 , s3 , … , sn แต่ละจำนวนเราเรียกว่า “ ผลบวกย่อย “ [ Partial Sum ] ของอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … และ เรียก s1 , s2 , s3 , … , sn ว่า “ ลำดับผลบวกย่อยของอนุกรม “
ถ้าลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมมีลิมิต [ lim Sn = L ] แสดงว่า อนุกรมนี้หาผลบวกได้
ซึ่งผลบวกของอนุกรมอนันต์จะเท่ากับ L และเรียกอนุกรมนี้ว่า “ อนุกรมคอนเวอร์เจนต์ “
ถ้าลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมหาลิมิตไม่ได้ แสดงว่า อนุกรมนี้หาผลบวกไม่ได้
เราเรียกอนุกรมแบบนี้ว่า “ อนุกรมไดเวอร์เจนต์ “
ข้อสังเกต ผลบวกอนันต์ของอนุกรม ก็คือ ลิมิตของลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมนั้นเอง
การหาผลบวกอนันต์ของอนุกรมเรขาคณิต
เรียก SnSn ว่า ผลบวกย่อย (partialsum)(partialsum) n พจน์แรกของอนุกรม เมื่อ nn เป็นจำนวนเต็มบวก
เรียกลำดับอนันต์ S1,S2,S3,⋯,Sn,⋯S1,S2,S3,⋯,Sn,⋯ ว่าลำดับของผลบวกย่อยของอนุกรม
ไปดูอีกนิยาม ครับ อ่านนิยามให้เข้าใจแล้วลองทำแบบฝึกหัดครับ
บทนิยาม
กำหนดอนุกรมอนันต์ a1 + a2 + a3 + … + an + …
ให้ S1 ,S2 ,⋯,Sn ,⋯S1 ,S2 ,⋯,Sn ,⋯ เป็นลำดับของผลบวกย่อยของอนุกรมนี้ ถ้าลำดับ SnSn เป็นลำดับลู่เข้า โดย limn→∞ Sn =S lim n→∞Sn =S เมื่อ SS เป็นจำนวนจริงแล้วจะกล่าวว่าอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … เป็นอนุกรมลู่เข้า (covergent series) และเรียก SS ว่าผลบวกของอนุกรม
ถ้าลำดับ Sn เป็นลำดับลู่ออก จะกล่าวว่าอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … เป็นอนุกรมลู่ออก (divergent series)
สรุปนะคับ จากนิยาม การหาผลบวกของอนุกรมอนันต์สามาทำได้ 2 ขั้นตอนคือ
1. หาสูตรทั่วไปของผลบวกย่อย n พจน์แรก หรือก็คือ หาสูตรทั่วไปของ Sn นั่นเองครับ
2 นำค่า Sn จากข้อ 1. มาหาค่าลิมิต ลิมิตที่ได้นั้นจะเป็นคำตอบของอนุกรมอนันต์ และอนุกรมอนันต์เป็นอนุกรมลู่เข้า