อนุกรมเรขาคณิต (Geometric Series)
อนุกรมเรขาคณิตคือ อนุกรมที่เกิดจากการนำลำดับเรขาคณิตมาบวกกัน
Sn = a1 + a1r + a1r2 + … + a1rn-2+ a1rn-1 — (1)
สมการ (1) คูณ r จะได้
rSn = a1r + a1r2+ a1r3 + … + a1rn-2+ a1rn-1 + a1rn — (2)
(1) – (2) จะได้
Sn – rSn = a1 – a1rn
ลำดับเรขาคณิต
ลำดับเรขาคณิต
บทนิยาม ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีอัตราส่วนของพจน์ที่ n+1 ต่อพจน์ที่ n มีค่าคงที่ และเรียกค่าคงที่นี้ว่า “ อัตราส่วนร่วม ”
ถ้า a1, a2, a3, …, an , an+1 เป็นลำดับเรขาคณิต แล้ว จะได้เท่ากับค่าคงที่ เรียกค่าคงที่นี้ว่า “ อัตราส่วนร่วม ” (Common ratio)
เขียนแทนด้วย r
ให้ a1, a2 , a3 , …, an เป็นลำดับเรขาคณิต และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ r
จากนิยามจะได้
a2 ÷ a1 = r >>>> a2 = a1r
a3 ÷ a2 = r >>>> a3 = a2r >>>> a3 = a1r2
a4 ÷ a3 = r >>>> a4 = a3r >>>> a4 = a1r3
สรุป พจน์ทั่วไป หรือพจน์ที่ n ของลำดับเรขาคณิต คือ
an = a1 r n-1
|
เมื่อ an คือ พจน์ที่ n และ a1 คือ พจน์แรก
ลำดับเลขคณิต
นิยาม ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับที่มีผลต่างของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n มีค่าคงที่เสมอ และเรียกค่าคงที่ว่าผลต่างร่วม
(Common difference )
ถ้า a1, a2, a3, …, an, an+1 , … เป็นลำดับเลขคณิต แล้วจะได้ a2 – a1 = a3 – a2 = … = an+1 – an เท่ากับ ค่าคงที่ เรียกค่าคงที่นี้ว่า ผลต่างร่วม เขียนแทนด้วย “ d “
จากบทนิยาม d = an+1 – an
หรือ an+1 = an + d
ตัวอย่าง ลำดับเลขคณิต
1. ลำดับ 1, 3, 5, …, 99 เป็นลำดับเลขคณิต มีผลต่างร่วม ( d ) เท่ากับ 2
2. ลำดับ 6, 3, 0, …, -27 เป็นลำดับเลขคณิต มีผลต่างร่วม ( d ) เท่ากับ –3
3. ลำดับ 5, 5, 5, …, 5 เป็นลำดับเลขคณิต มีผลต่างร่วม ( d ) เท่ากับ 0
4. ลำดับ 0, 0, 0, …, 0 เป็นลำดับเลขคณิต มีผลต่างร่วม ( d ) เท่ากับ 0
จากตัวอย่างข้างต้น จะพบว่า d เป็นจำนวนจริงใด ๆ และ ถ้า d = 0 จะได้ว่าทุกพจน์ของลำดับมีค่าเท่ากัน และเรียกลำดับนี้ว่า “ ลำดับคงตัว ” เช่น ข้อ 3 และข้อ 4
การหาพจน์ต่าง ๆ ของลำดับเลขคณิต
กำหนดลำดับเลขคณิต a1, a2, a3 , … ให้ a1 เป็นพจน์แรกของลำดับและ d เป็นผลต่างร่วม จะเขียนพจน์อื่นๆ ของลำดับเลขคณิตในรูปของ a1 และ d ดังนี้
a1 = a1
a2 = a1 + d
a3 = a1 + 2d
a4 = a1 + 3d
.
.
.
an = a1 + ( n – 1 )d
สรุป พจน์ทั่วไปหรือพจน์ที่ n ของลำดับเลขคณิต คือ
an = a1 + ( n – 1 )d
|
เมื่อ an คือ พจน์ที่ n ของลำดับเลขคณิ
a1 คือ พจน์ที่ 1 ของลำดับเลขคณิต
n คือ ตำแหน่งของพจน์ที่ n
d คือ ผลต่างร่วม (พจน์ที่ n+1 ลบด้วย พจน์ที่ n)