ประเภทของโฟลเดอร์
1. Quick File Folder
โฟลเดอร์ประเภทนี้จะถูกสแกนด้วยคีย์ Quick File ในแต่ละครั้งที่สร้างจะได้รับชื่อผู้ใช้และชื่อไฟล์แบบค่าเริ่มต้นมาให้
2. Main Folder
โฟลเดอร์หลักของ ระบบปฏิบัติการ Windows ที่จะมีชื่อแบบเฉพาะเจาะจงมาเลย สำหรับเก็บไฟล์, ซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการ, โปรแกรม, และไฟล์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนข้อมูลส่วนตัวจะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ Documents and Settings ในขณะที่ โปรแกรมยูทิลิตี้อื่น ๆ อย่างเช่น โปรแกรม Notepad และ Paint ก็จะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ชื่อว่า System32 นั่นเอง
3. Custom Folder
เพื่อจัดเรียงไฟล์หรือเอกสารต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบในฮาร์ดไดรฟ์ คุณสามารถสร้างโฟลเดอร์ของตัวเอง และตั้งชื่อได้เองตามชอบ
โฟลเดอร์ (Folder) หรือไดเรกทอรี (Directory) ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ Windows, MacOS, Linux ฯลฯ จริง ๆ แล้วมันคืออันเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร ? แบบไหนที่เรียกว่าโฟลเดอร์ แบบไหนที่เรียกว่าไดเรกทอรี เราจะพาคุณไปหาคำตอบกัน
คำว่า “Folder” นั้น ถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับโปรแกรม หรือแอปพลิเคชัน ที่เรียกว่า “Windows Explorer” ที่ติดมาพร้อมกับ ระบบปฏิบัติการ Windows 95 ทำให้บางคนเชื่อว่าใน Windows 95 นั้น แค่เปลี่ยนชื่อจากคำว่า Directory ไปเป็น Folder เฉย ๆ แค่นั้นเอง แต่อันที่จริงแล้วมันมีอะไรมากกว่านั้นนะ
โดย Windows Explorer เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้คุณสามารถเปิดหาโฟลเดอร์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกของมันเองในแต่ละโฟลเดอร์ และไดเรกทอรีคือประเภทหนึ่งของโฟลเดอร์ ถูกจัดเรียงตามลำดับชื่อภายในระบบ นอกจากนั้นยังมีโฟลเดอร์ประเภทอื่น ๆ เช่น Control Panel, Network Neighborhood, หรือ Printers ซึ่งโฟลเดอร์เหล่านี้ที่กล่าวถึง คือประเภทที่ถูกเรียกว่า Virtual Folder มักหมายถึงโฟลเดอร์ที่ไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรีใดใด
Virtual Folders = Folders – Directories
เครดิตภาพ : https://superuser.com/questions/169457/directory-vs-folder
Directory คืออะไร ?
(What is Directory ?)
Directory คือโครงสร้างในการจัดเรียงไฟล์และไดเรกทอรีย่อย โดยในเวลาที่เราทำการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นพาร์ทิชันหลาย ๆ พาร์ทิชัน
ประเภทของไดเรกทอรี
1. Single-Level Directory (ไดเรกทอรี่เดี่ยว)
Root Directory หรือแปลไทยแบบตรง ๆ ว่า “ไดเรกทอรีราก” คือไดเรกทอรีเดียวที่อยู่ในระบบไดเรกทอรีเดี่ยว ผู้ใช้จะไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างไดเรกทอรีย่อยใด ๆ ภายในไดเรกทอรีรากนี้ และมีเพียงไดเรกทอรีรากที่มีไฟล์ทั้งหมดที่ถูกสร้างโดยผู้ใช้งานหลาย ๆ คน
2. Two-Level Directory (ไดเรกทอรีสองระดับ)
ผู้ใช้จะเป็นผู้สร้างไดเรกทอรีในเลเวลนี้ขึ้นมาภายในไดเรกทอรีรากด้วยโครงสร้างแบบ “Two-Level Directory” หรือ “ไดเรกทอรีสองระดับ” อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ใช้สร้างไดเรกทอรีขึ้นมาแล้ว
3. Tree-Structured Directory (ไดเรกทอรีที่มีโครงสร้างแบบต้นไม้)
นอกจากไดเรกทอรีรากแล้ว ทุกไดเรกทอรีหรือไฟล์ใน “Tree-Structured Directory” หรือ “ไดเรกทอรีที่มีโครงสร้างแบบต้นไม้” จะมีไดเรกทอรีที่อยู่เหนือขึ้นไปเพียงหนึ่งระดับเท่านั้น (Parent Directory) ทำให้มีการแบ่งแยกไฟล์กันระหว่างผู้ใช้งานอย่างชัดเจน และสามารถตั้งชื่อให้แยกจากกันได้อย่างอิสระ
4. Acyclic Graph Directory (ไดเรกทอรีกราฟแบบไม่เป็นวงจร)
ไดเรกทอรีที่มีโครงสร้างแบบต้นไม้ จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ที่มีการแชร์ไว้ของผู้ใช้คนอื่นในรูปแบบอสมมาตร ซึ่งข้อจำกัดนี้ถูกแก้ไขด้วยโครงสร้างไดเรกทอรีแบบ “Acyclic-Graph Directory” และด้วยโครงสร้างดังกล่าว ไดเรกทอรีหรือไฟล์อาจจะมี Parent Directory ได้หลายไดเรกทอรี
5. General-Graph Directory (ไดเรกทอรีแบบกราฟทั่วไป)
อีกหนึ่งโครงสร้างไดเรกทอรีที่สำคัญคือ “General-Graph Directory” หรือ “ไดเรกทอรีแบบกราฟทั่วไป” ซึ่งจะทำงานได้ภายในไดเรกทอรีด้วยกันเท่านั้น โดยเราอาจจะสร้างกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งไดเรกทอรีต่าง ๆ ด้วยความช่วยเหลือของไดเรกทอรีหลักมากกว่าหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูล https://tips.thaiware.co