ทฤษฎีบทเศษเหลือพหุนาม
การแยกตัวประกอบพหุนาม เกริ่นกันสักนิดว่า เรื่องนี้สุดท้ายแล้วมันจะไปช่วยเรา ในการ แก้สมการและอสมการ ที่เราจะเรียนกันในบทต่อ ๆ ไป ของจำนวนจริง ม.4 เพราะหากเรา พหุนามดีกรีก้อนใหญ่ เราจะไม่สามารถทำอะไรมันต่อได้เลย ยกเว้นการแยกตัวประกอบและพยายาม จัดรูปหรือตัดทอน
การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสองและมีตัวแปรเดียวที่แต่ละพจน์มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม
ตัวอย่าง ของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
3x2+ 4x + 5 , 2x2– 6x – 1 , x2– 9 , y2+ 3y – 7 , -y2+ 8y
พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร
1.2.1 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0
ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติการแจกแจง
แยกตัวประกอบได้
ตัวอย่างที่ 1 จงแยกตัวประกอบของ x2 + 2x
วิธีทำ x2 + 2x = (x)(x) + (2)(x)
= x(x + 2)
ตัวอย่างที่ 2 จงแยกตัวประกอบของ 4x2 – 20x
วิธีทำ 4x2 – 20x = (4x)(x) – (4x)(5)
= 4x(x – 5)
ตัวอย่างที่ 3 จงแยกตัวประกอบของ -4x2 – 6x
วิธีทำ -4x2 – 6x = -2x(2x + 3)
หรือ -4x2 – 6x = 2x(-2x – 3)
ตัวอย่างที่ 4 จงแยกตัวประกอบของ -15x2 + 12x
วิธีทำ -15x2 + 12x = (3x)(-5x) + (3x)(4)
= 3x(-5x + 4)
หรือ -15x2 + 12x = (-3x)(-5x) – (-3x)(4)
= -3x(5x – 4)
1.2.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0
ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c
สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จากการหาผลคูณ ( x +2 )( x + 3 ) ดังกล่าว จะได้ขั้นตอนการแยกตัวประกอบของ x2 + 5x + 6
โดยทำขั้นตอนย้อนกลับ ดังนี้
x2 + 5x + 6 = x2 + (2 + 3)x + (2)(3) [ 2 + 3 = 5 และ (2) × (3) = 6 ]
= x2 + (2x + 3x) + (2)(3)
= (x2 + 2x) + [3x + (2)(3)]
= (x + 2)x + (x + 2)(3)
= (x + 2)(x + 3)
นั่นคือ x2 + 5x + 6 = (x + 2)(x + 3)
พิจารณาผลคูณของพหุนามต่อไปนี้
1. (x + 2)(x + 3) = (x + 2)(x) + (x + 2)(3)
= (x2 + 2x)+ [3x + (2)(3)]
= x2 + (2x+ 3x) + (2)(3)
= x2 + (2+ 3)x + (2)(3)
= x2 + 5x + 6
ดังนั้น แยกตัวประกอบของ x2 + 5x + 6 ได้ดังนี้ x2 + 5x + 6 = (x + 2)(x + 3)
ให้สังเกตว่า เราจะแยกตัวประกอบของ x2+ 5x + 6 ได้ ถ้าเราสามารถหาจำนวนเต็มสองจำนวน
ที่คูณกันได้เท่ากับพจน์ที่เป็นค่าคงตัว คือ 6 และบวกกันได้เท่ากับสัมประสิทธิ์ของ x คือ 5
(x + 4)(x – 5) = (x + 4)(x) + (x + 4)(-5)
= (x2 + 4x) + [(-5)x + (4)(-5)]
= x2 + [4x + (-5)x] + (4)(-5)
= x2 + [4 + (-5)] x + (4)(-5)
= x2 + (-1)x + (-20)
= x2 – x – 20
ดังนั้น แยกตัวประกอบของ x2 – x – 20 ได้ดังนี้ x2 – x – 20 = (x + 4)(x – 5)
จากการหาผลคูณ (x + 4)(x -5) ดังกล่าว จะได้ขั้นตอนการแยกตัวประกอบของ x2– x – 20
โดยทำขั้นตอนย้อนกลับในทำนองเดียวกับข้อ 1. ดังนี้
x2– x – 20 = x2 + (-1)x + (-20)
= x2 + [4 + (-5)] x + (4)(-5) [4 + (-5) = -1 และ (4)(-5) = -20 ]
= x2 + [4x + (-5)x] + (4)(-5)
= (x2 + 4x) + [(-5)x + (4)(-5)]
= (x + 4)x + (x + 4)(-5)
= (x + 4)[x + (-5)]
= (x + 4)(x -5)
นั่นคือ x2 – x – 20 = (x + 4)(x – 5)
ให้สังเกตเช่นเดียวกันว่า เราจะแยกตัวประกอบของ x2– x – 20 ได้ ถ้าเราสามารถหาจำนวนเต็ม
สองจำนวนที่คูณกันได้เท่ากับพจน์ที่เป็นค่าคงตัวคือ -20 และบวกกันได้เท่ากับสัมประสิทธิ์ของ x คือ -1
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถ้าเราต้องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง เช่น x2+ 6x + 8
เราจะต้องหาจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้ 8 และบวกกันได้ 6 ก่อน ดังนี้
เนื่องจาก x2 + 6x + 8 = x2 + (2 + 4)x + (2)(4)
= x2 + (2x + 4x) + (2)(4)
= (x2 + 2x) + [4x + (2)(4)]
= (x + 2)x + (x + 2)(4)
= (x + 2)(x + 4)
นั่นคือ x2 + 6x + 8 = (x + 2)(x + 4)
ในกรณีทั่วไป เราสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป x2 + bx + c เมื่อ b , c เป็นจำนวนเต็ม
และ c ≠ 0 ได้ ถ้าเราสามารถหา จำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้เท่ากับพจน์ที่เป็นค่าคงตัวคือ c และบวกกันได้
เท่ากับสัมประสิทธิ์ของ x คือ b
ถ้าให้ m และ n เป็นจำนวนเต็มสองจำนวน ซึ่ง mn = c และ m + n = b
จะได้ว่า x2 + bx + c = (x + m)(x + n)
ตัวอย่างที่ 5 จงแยกตัวประกอบของ x2 – 10x + 21
วิธีทำ เนื่องจาก (-3)(-7) = 21
และ (-3) + (-7) = -10
ดังนั้น x2 – 10x + 21 = [ x + (-3)][ x + (-7)]
นั่นคือ x2 – 10x + 21 = ( x -3 )( x -7 )
ตัวอย่างที่ 6 จงแยกตัวประกอบของ x2 + 5x – 6
วิธีทำ เนื่องจาก (-1)(6) = – 6
และ (-1) + (6) = 5
ดังนั้น x2 + 5x – 6 = [ x + (-1)][ x + 6 ]
นั่นคือ x2 + 5x – 6 = ( x – 1 )( x + 6 )
ตัวอย่างที่ 7 จงแยกตัวประกอบของ x2 – 2x – 24
วิธีทำ เนื่องจาก (4)(-6) = – 24
และ (4) + (-6) = -2
ดังนั้น x2 – 2x – 24 = ( x + 4 ) [ x + (-6)]
นั่นคือ x2 – 2x – 24 = ( x + 4 )( x – 6 )
ตัวอย่างที่ 8 จงแยกตัวประกอบของ x2 + 2x + 1
วิธีทำ เนื่องจาก (1)(1) = 1
และ (1) + (1) = 2
ดังนั้น x2 + 2x + 1 = ( x + 1 )( x + 1)
นั่นคือ x2 + 2x + 1 = ( x + 1 )( x + 1)
ตัวอย่างที่ 9 จงแยกตัวประกอบของ x2 – 4x + 4
วิธีทำ เนื่องจาก (-2)(-2) = 4
และ (-2) + (-2) = -4
ดังนั้น x2 – 4x + 4 = [ x + (-2)][ x + (-2)]
นั่นคือ x2 – 4x + 4 = ( x – 2 )( x – 2 )
ตัวอย่างที่ 10 จงแยกตัวประกอบของ x2 – 9
วิธีทำ เนื่องจาก (-3)(3) = -9
และ (-3) + 3 = 0
ดังนั้น x2 – 9 = [ x + (-3)]( x + 3)
นั่นคือ x2 – 9 = ( x – 3 )( x + 3 )
สำหรับพหุนามดีกรีสอง เช่น x2 + 3x + 1 เนื่องจากไม่มีจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้ 1
และบวกกันได้ 3 ดังนั้น เราจึงไม่สามารถเขียนพหุนาม x2 + 3x + 1 ให้อยู่ในรูปการคูณของพหุนามดีกรีหนึ่ง
ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม นั่นคือ เราไม่สามารถแยกตัวประกอบของ x2 + 3x + 1 ได้
โดยทั่วไปแล้ว ในการแยกตัวประกอบของพหุนาม x2 + bx + c เมื่อ b , c เป็นจำนวนเต็ม และ
c ≠ 0 ถ้าเราไม่สามารถหาจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้เท่ากับ c และบวกกันได้เท่ากับ b เราก็ไม่สามารถ
แยกตัวประกอบของ x2 + bx + c ออกเป็นตัวประกอบที่เป็นพหุนามดีกรีหนึ่งซึ่งมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม
1.2.3 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นจำนวนเต็ม และ a ≠ 0 , a ≠ 1 , c ≠ 0
เพื่อความสะดวกในการหาข้อสรุปของวิธีการแยกตัวประกอบของพหุนาม ax2+ bx + c เราจะเรียก ax2 ว่า พจน์หน้า เรียก bx ว่า พจน์กลาง และเรียก c ว่า พจน์หลัง
พิจารณาการคูณพหุนามดีกรีหนึ่งต่อไปนี้โดยใช้สมบัติการแจกแจง
(2x – 3)(3x + 1) = (2x – 3)(3x) + (2x – 3)(1)
= (6x2 – 9x) + (2x – 3)
= 6x2 + (–9x + 2x) – 3
= 6x2 – 7x – 3
ดังนั้น ในการแยกตัวประกอบของ 6x2 – 7x – 3 จะทำดังนี้
1. หาพหุนามดีกรีหนึ่งสองพหุนามที่คูณกันแล้วได้พจน์หน้าคือ 6x2 ซึ่งอาจเป็น 2x กับ 3x หรือ x กับ 6x เขียนสองพหุนามนั้นเป็นพจน์หน้าของพหุนามในวงเล็บสองวงเล็บ ดังนี้
(2x )(3x ) หรือ (x )(6x )
2. หาจำนวนสองจำนวนที่คูณกันแล้วได้พจน์หลังคือ – 3 ซึ่งอาจเป็น 3 กับ – 1 หรือ – 3 กับ 1 แล้วเขียนจำนวนทั้งสองนี้เป็นพจน์หลังของพหุนามในแต่ละวงเล็บที่ได้ในข้อ 1. ซึ่งทำให้เกิดกรณีที่
ต้องพิจารณา 8 กรณี ดังนี้
1). (2x + 3)(3x – 1)
2). (2x – 1)(3x + 3)
3). (2x – 3)(3x + 1)
4). (2x + 1)(3x – 3)
5). (x + 3)(6x – 1)
6). (x – 1)(6x + 3)
7). (x – 3)(6x + 1)
8). (x + 1)(6x – 3)
ตัวอย่างที่ 11 จงแยกตัวประกอบของ 8x2 – 26x + 15
วิธีทำ เนื่องจาก (2x)(4x) = 8x2 และ (– 5)(– 3) = 15
(2x)(–3) + (–5)(4x) = –6x + (–20x) = –26x
8x2 – 26x + 15 = (2x – 5)(4x – 3)
ตัวอย่างที่ 12 จงแยกตัวประกอบของ 4x2 + 13x + 10
วิธีทำ 4x2 + 13x + 10 = (4x + 5)(x + 2)
ตัวอย่างที่ 13 จงแยกตัวประกอบของ 12x2 + 5x – 2
วิธีทำ 12x2 + 5x – 2 = (4x – 1)(3x + 2)
ตัวอย่างที่ 14 จงแยกตัวประกอบของ 6x2 – 10x – 4
วิธีทำ
วิธีที่ 1 6x2 – 10x – 4 = 2(3x2 – 5x – 2)
ดังนั้น 6x2 – 10x – 4 = 2(3x + 1)(x – 2)
วิธีที่ 2 6x2 – 10x – 4 = (3x + 1)(2x – 4)
ดังนั้น 6x2 – 10x – 4 = 2(3x + 1)(x – 2)
วิธีที่ 3 6x2 – 10x – 4 = (6x + 2)(x – 2)
ดังนั้น 6x2 – 10x – 4 = 2(3x + 1)(x – 2)
ตัวอย่างที่ 15 จงแยกตัวประกอบของ –3x2 + 10x + 8
วิธีทำ
วิธีที่ 1 –3x2 + 10x + 8 = (3x + 2)(– x + 4)
หรือ –3x2 + 10x + 8 = (–3x – 2)(x – 4)
วิธีที่ 2 เนื่องจาก –3x2 + 10x + 8 = (–1)(3x2 – 10x – 8)
= (–1)(3x + 2)(x – 4)
ดังนั้น –3x2 + 10x + 8 = (3x + 2)(– x + 4)
หรือ –3x2 + 10x + 8 = (–3x + 2)(x – 4)