พื้นฐานระบบไฟฟ้ารถยนต์ที่ควรรู้
สตาร์ตเตอร์ วงจรไฟฟ้ารถยนต์เบื้องต้น
สตาร์ตเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของระบบสตาร์ตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวงจรไฟฟ้ารถยนต์อีกที หน้าที่ของสตาร์ตเตอร์ในระบบสตาร์ตของวงจรไฟฟ้ารถยนต์นั้นคือการเริ่มทำให้เครื่องยนต์เริ่มหมุนได้ พอเครื่องยนต์หมุนแล้วระบบสตาร์ตก็จะหยุดทำงาน โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สตาร์ตเครื่องยนต์ในส่วนของระบบไฟคือ มอเตอร์สตาร์ตหรือมักนิยมเรียกกันว่า “ไดสตาร์ต” อุปกรณ์นี้จะต้องอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ซึ่งจะทำงานเมื่อเราบิดกุญแจสตาร์ตหรือกดปุ่มสตาร์ต
1.ไดชาร์จ (Alternator)
1.ไดชาร์จ (Alternator) มีหน้าที่เป็นตัวผลิตไฟฟ้า” โดยอาศัยกำลังเครื่องยนต์ ส่งกำลังมาผ่านทางสายพาน ส่งให้ไดชาร์จหมุน เพื่อปั่นกระแสไฟออกมาใช้ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ หากไดชาร์จเกิดเสีย ระบบไฟฟ้ารถยนต์จะไม่ทำงาน ทำให้รถยนต์ไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ โดยอาการไดชาร์จมีปัญหานี้มักจะพบในรถที่เริ่มมีอายุการใช้งานที่นานแล้ว และไดชาร์จเองก็มีอายุการใช้งานในระยะหนึ่ง เมื่อหมดอายุก็ต้องเปลี่ยนอันใหม่ เพื่อให้ระบบไฟฟ้ารถยนต์ใช้งานต่อไปได้ เพราะด้านในของไดชาร์จจะประกอบด้วยทุ่นและแปลงถ่าน ถ้าทั้งสองสิ่งนี้เริ่มสึก จะส่งผลให้ไดชาร์จเสื่อมสภาพ
หากไดชาร์จเริ่มเสื่อมสภาพ จะมีการส่งสัญญาณว่าระบบไฟฟ้ารถยนต์เริ่มมีปัญหา โดยระบบไฟฟ้ารถยนต์ทั้งหมดจะอ่อนลง เช่น ไฟหน้าเริ่มหรี่ แอร์เริ่มไม่ค่อยเย็น บางครั้งอาจพบว่าความร้อนขึ้น เพราะพัดลมไฟฟ้าหมุนไม่แรงพอ
2.แบตเตอรี่ (Battery)
2.แบตเตอรี่ (Battery) จะทำหน้าที่เก็บไฟสำรองเมื่อไดชาร์จปั่นกระแสไฟมา หากไฟเหลือใช้ ก็จะนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เมื่อระบบไฟฟ้ารถยนต์มีการการใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่ไดชาร์จทำงานได้ จะมีไฟจากแบตเตอรี่ถูกนำออกมาใช้ด้วย รวมถึงตอนสตาร์ทเครื่องที่ต้องใช้กำลังไฟมาก ระบบไฟฟ้ารถยนต์ต้องอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ส่งมาหมุนไดสตาร์ทก่อน เพราะไดชาร์จไม่สามารถปั่นไฟได้เพียงพอในขณะนั้น จนกระทั่งเครื่องยนต์ติด ระบบไฟฟ้ารถยนต์จึงจะกลับสู่วงจรเดิม และเมื่อแบตเตอรี่ไฟหมด หรือเสื่อมสภาพ ก็จะไม่สามารถเก็บไฟไว้ได้ ส่งผลให้รถยนต์สตาร์ทไม่ได้เพราะไม่มีกำลังไฟพอ ระบบไฟฟ้ารถยนต์ไม่สามารถทำงานได้
3.โวลต์ (Voltage)
3.โวลต์ (Voltage) คือค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าในรถยนต์ ซึ่งมีค่าอยู่ที่ 12V นั่นหมายความว่า อุปกรณ์ระบบไฟฟ้ารถยนต์ในรถทั้งคัน จะต้องใช้ค่าความต่างศักย์ เท่ากับ 12V เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบไฟฟ้าของเมืองไทย โดยปกติอยู่ที่ 220V ส่วนในต่างประเทศก็จะแตกต่างกันออกไป ที่ญี่ปุ่น จะใช้ไฟ 110V หากเรานำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีโวลต์น้อยกว่าไปใช้กับกระแสไฟโวลต์สูงกว่า ก็สามารถจะใช้เครื่องมือนั้นได้
4.รีเลย์ (Relay)
4.รีเลย์ (Relay) มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่สะพานไฟ ทำให้กระแสไฟเดินได้สะดวกขึ้น และผ่านได้จำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ระบบไฟฟ้ารถยนต์ทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ หากมีการเพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับตัวรถ แต่ไม่มีรีเลย์ไปต่อพ่วง จะเกิดการ Over load เพราะพื้นที่สายไฟเล็กเท่าเดิม แต่มีการดึงไฟมาใช้มากขึ้น
ขอบคุณข้อมูล https://www.saraphanbattery.com/