คณะแพทย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก
ทุกมหาลัยเป้าหมายหลักคือการผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพ ถ้าน้องตั้งใจเรียน มุ่งมั่น อดทน ไม่ว่าเรียนหมอมหาลัยไหน น้องประสบความสำเร็จแน่นอนครับ
1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
2. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
3. คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
5. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต
6. คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
7. คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
8. คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา
9. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช
10. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต
11. คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
12. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
13. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
14. คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
15. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลราชธานี
16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
ที่มา: scholarship
เรียนหมอในการสอบแพทย์ต้องเตรียมสอบอะไรบ้าง?
- GPAX/GPA: ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวัทยาลัย
- O-NET: วิทย์, คณิต, อังกฤษ, ไทย, สังคม
- GAT คือการสอบวัดความถนัดทั่วไป แบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ 1 การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ หรือที่เรียกกันว่า GAT เชื่อมโยง
- ส่วนที่ 2 ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า GAT อังกฤษ
- PAT 1 / PAT2 : PAT1 คือความถนัดทางคณิตศาสตร์, PAT2 คือความถนัดทางวิทยาศาสตร์ โดยรูปแบบข้อสอบแต่ละวิชาจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย
- 9 วิชาสามัญ: แต่หากสอบแพทย์ จะใช้แค่ 7 วิชาเท่านั้นได้แก่ คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ, อังกฤษ, ไทย, สังคม
- วิชาเฉาะแพทย์: พาร์ทเชาว์ การวิเคราะห์, จริยธรรม, และการเชื่อมโยง
- Portfolio: ยื่นผลงานของตนเองที่ผ่านมา
การปูพื้นฐานอาชีพเมื่อเรียนจบแพทย์
การปูพื้นฐานอาชีพเมื่อเรียนจบแพทย์ต้องเน้น ก็ต้องเป็นวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ คณิตศาสตร์ อังกฤษ แน่นอนครับ 5 วิชานี้คือวิชาที่เป็นหลักๆ เลยที่น้องๆ ควรเตรียมตัวอัดพื้นฐานให้แน่นๆ ส่วนวิชาอื่นๆ ก็แล้วแต่สถาบันครับ ว่าแต่ละสถาบันว่าเขาจะเวทคะแนนอย่างไร เพราะแต่ละสถาบันก็มีเกณฑ์ไม่เหมือนกันใช่ไหมครับ ดังนั้นการอัดพื้นฐาน 5 วิชา
- จิตเวชศาสตร์ – เกี่ยวกับจิตวิทยา
- จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น – เกี่ยวกับจิตวิทยา สำหรับเด็กและวัยรุ่น
- นิติเวชศาสตร์ – เกี่ยวกับการชันสูตรศพ
- พยาธิวิทยาทั่วไป – เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคจากเนื้อเยื่อ เซลล์ เป็นหลัก
- พยาธิวิทยากายวิภาค – เกี่ยวกับรูปร่างหรือโครงสร้างของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่เป็นโรค
- พยาธิวิทยาคลินิก – เกี่ยวกับการตรวจค้นความผิดปกติในส่วนประกอบต่างๆ ของผู้ป่วย ที่เก็บจาก เลือด น้ำไขสันหลัง สารน้ำจากช่องต่างๆ ของร่างกาย
- รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา – รักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้รังสี
- เวชศาสตร์ครอบครัว – การมองเห็นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
- เวชศาสตร์ฉุกเฉิน – เกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
- เวชศาสตร์นิวเคลียร์ – เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสีในการวินิจฉัยและรักษาโรคบางชนิด โดยจะอาศัยการถ่ายภาพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการที่จะให้แพทย์มีข้อมูล เกี่ยวกับทางด้านกายวิภาคของร่างกาย
- อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา – เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด
- อายุรศาสตร์โรคเลือด – กี่ยวข้องกับการรักษาความผิดปกติของเลือด และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเลือด
- กุมารเวชศาสตร์ – เกี่ยวกับการรักษาเด็ก และวัยรุ่น
- กุมารศัลยศาสตร์ – เกี่ยวกับการผ่าตัดเด็ก
- จักษุวิทยา – เกี่ยวกับโรคทางตา
- ตจวิทยา – เกี่ยวกับผิวหนัง
- ประสาทวิทยา – เกี่ยวกับโรคทางสมองและระบบประสาท
- ประสาทศัลยศาสตร์ – เกี่ยวกับการผ่าตัดสมอง
- รังสีวิทยาทั่วไป – เกี่ยวกับทางด้าน X-ray
- โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก – เกี่ยวกับโรคเลือดและมะเร็งในเด็ก
- รังสีวิทยาวินิจฉัย – การถ่ายภาพเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆด้วยรังสี โดยทั่วไป เป็นรังสีเอกซ์
- วิสัญญีวิทยา – เกี่ยวกับการวางยาสลบ
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์การบิน)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสาธารณสุขศาสตร์)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสุขภาพจิตชุมชน)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงอาชีวเวชศาสตร์)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ทางทะเล)
- เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว)
- เวชศาสตร์ฟื้นฟู – เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
- ศัลยศาสตร์ – เกี่ยวกับการผ่าตัด
- ศัลยศาสตร์ตกแต่ง – เกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อความสวยงาม
- ศัลยศาสตร์ทรวงอก – เกี่ยวกับการผ่าตัดบริเวณทรวงอก
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา – เกี่ยวกับการผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา – เกี่ยวกับโรคเฉพาะทางสตรี
- โสต ศอ นาสิกวิทยา – เกี่ยวกับโรคทาง หู จมูก คอ
- ออร์โธปิดิกส์ – ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย (สาขาของวิชาศัลยศาสตร์)
- อายุรศาสตร์ – เกี่ยวกับการใช้ยา ในการรักษาอาการต่างๆ และป้องกัน