คณิตศาสตร์ในการคำนวณค่าไฟในการชาร์จรถไฟเต็ม 1 รอบการใช้งาน
คำนวณค่าไฟในการชาร์จรถไฟเต็ม 1 รอบการใช้งาน
ยกตัวอย่าง 1 : รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW แบตเตอรี่จุได้ 60 kW หรือระยะทางขับขี่ประมาณ 350 กิโลเมตร พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเวลา 1 ชม. เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.4 kW โดยถ้าต้องจุให้เต็ม 60 kW ต้องใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง
- สมมุติว่าไฟฟ้า 1 หน่วย = 1 kW สมมุติที่ 4 บาท/หน่วย
– ชาร์จไฟ 1 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 1 = 29.6 บาท
– ชาร์จไฟ 2 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 2 = 59.2 บาท
– ชาร์จไฟ 8 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 8 = 236.8 บาท - สรุป ถ้าเราชาร์จแบตเตอรี่เต็มใช้เงินประมาณ 236.8 บาท ขับรถยนต์ได้ 350 กิโลเมตร หรือตก 0.68 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง อยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท/กิโลเมตร เรียกได้ว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายเท่าตัวเลย
ดังนั้น ก่อนที่เราจะซื้อรถยนต์ต้องศึกษารายละเอียดของตัวรถยนต์ด้วย ว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ขนาดเท่าไร? On-Board รับพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าไหร่? ซึ่งมีผลกับความเร็วในการชาร์จ และค่าไฟบ้าน โดยค่าไฟฟ้าแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่าง 2: สมมุติว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่รับไฟสูงสุด 6.6 kW/h โดยมีขนาดแบตเตอรี่เต็ม 40 kW เราต้องใช้เวลาชาร์จจนเต็มประมาณ 6 ชั่วโมง (หรือเอา 40 หาร 6.6 ได้เลย) โดยเราสามารถเลือกเครื่องชาร์จไฟขนาดไหนมาใช้ก็ได้ แต่ความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มจะไม่เท่ากัน
สำหรับใครที่เลือกเครื่องชาร์จ EV Charger ขนาด 3.7 kW ต้องใช้เวลาชาร์จนานขึ้นเป็น 11 ชั่วโมง ในทางกลับกันหากเลือกเครื่องชาร์จขนาด 11 kW หรือ 22 kW เครื่องชาร์จก็จะลดขนาดไฟลงมาอัตโนมัติให้เหลือเพียงขนาดที่รถสามารถรับไฟได้คือ 6.6kW หมายความว่าแม้เราจะซื้อเครื่องขนาดใหญ่ แต่ถ้า On Board Charger ของตัวรถยนต์ไม่สามารถรับได้ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เพราะตัวรถรับได้แค่นี้ ดังนั้น เครื่องชาร์จที่เหมาะสมคือ 7.4 kW นั่นเอง