เลขยกกำลังเบื้องต้น
สมบัติของเลขยกกำลัง
เมื่อ a และ b แทนจำนวนใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์ m และn แทนจำนวนเต็ม
เลขยกกำลัง
ถ้าจำนวนที่คูณตัวเองซ้ำกันหลาย ๆ ตัว เราจะเขียนจำนวนเหล่านั้นออกมาในรูปของเลขยกกำลัง โดยจำนวนที่คูณตัวเองซ้ำ ๆ จะเรียกว่า “ฐาน” และจำนวนตัวที่คูณ จะเรียกว่า “เลขชี้กำลัง” เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อน ๆ ลองนึกถึงการพับกระดาษ 1 แผ่น
พับกระดาษ 1 ครั้ง กระดาษถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
พับกระดาษ 2 ครั้ง กระดาษถูกแบ่งออกเป็น 2 x 2 = 4 ส่วน
พับกระดาษ 3 ครั้ง กระดาษถูกแบ่งออกเป็น 2 x 2 x 2 = 8 ส่วน
.
พับกระดาษ 10 ครั้ง กระดาษถูกแบ่งออกเป็น 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 = 1,024 ส่วน
กระดาษพับซ้อนกัน 1,024 ทบนี่หนามาก ๆ เลย และในชีวิตจริง ถ้าต้องเขียน 2 x 2 x 2 x … x 2 ให้ครบตามต้องการก็คงจะเหนื่อยและเสียเวลามาก ๆ นักคณิตศาสตร์จึงนิยมเขียนออกมาในรูปของ “เลขยกกำลัง” ซึ่งประกอบไปด้วยฐานและเลขชี้กำลัง เราสามารถเขียน 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 ให้อยู่ในรูปเลขยกกำลังได้ว่า 210 ซึ่ง 2 คือฐาน และ 10 คือเลขชี้กำลัง และจะอ่าน 210 ว่า…
2 กำลัง 10
2 ยกกำลัง 10
หรือ กำลัง 10 ของ 2
เลขยกกำลัง ฐาน และเลขชี้กำลัง
จำนวนที่สามารถเป็นฐานได้มีหลายรูปแบบ เช่น จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ เศษส่วน ทศนิยม ยกตัวอย่างเช่น 24 (-2)4 ()2 0.45
ข้อสังเกต: อ่านไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน
ลบสองทั้งหมดยกกำลังสี่
(-2)4 = (-2)(-2)(-2)(-2) = 16
ลบสองยกกำลังสี่
-24 = – (2 x 2 x 2 x 2) = -16
จะเห็นว่า (-2)4 มีค่าไม่เท่ากับ -24 แค่ใส่วงเล็บ ผลลัพธ์ก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเพื่อน ๆ ต้องระวังการใส่วงเล็บให้ดีนะ เราลองมาดูตัวอย่างอื่น ๆ เพิ่มกันดีกว่า
54 = 5 x 5 x 5 x 5 = 625
(5)4 = (5)(5)(5)(5) = 625
-54 = -(5 x 5 x 5 x 5) = -(625) = -625
(-5)4 = (-5)(-5)(-5)(-5) = (25)(25) = 625
กรณีนี้ เลขชี้กำลังเป็นจำนวนคู่ สำหรับฐานที่เป็นจำนวนลบ จะเห็นว่า (-5)4 เท่ากับ 54 แต่ไม่เท่ากับ -54 อย่าลืมสังเกตให้ดีนะว่าเครื่องหมายลบอยู่ข้างในหรือข้างนอกวงเล็บ
53 = 5 x 5 x 5 = 125
-53 = -(5 x 5 x 5) = -125
(-5)3 = (-5)(-5)(-5) = -125
สมบัติอื่น ๆ ของเลขยกกำลัง
เลขยกกำลังที่มีฐานเป็นเลขยกกำลัง
เราเคยเรียนเรื่องเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนใด ๆ มาแล้ว เช่น 84 เป็นเลขยกกำลังที่มี 8 เป็นฐาน และ 4 เป็นเลขชี้กำลัง เราอาจเขียนแทน 8 ด้วย 23
ดังนั้น 84 อาจเขียนแทนด้วย (23)4
(23)4 เป็นเลขยกกำลังที่มี 23 เป็นฐานและ 4 เป็นเลขชี้กำลัง
ให้พิจารณาความหมายของเลยยกกำลังที่มีฐานเป็นเลขยกกำลังต่อไปนี้
(52)4 เป็นเลขยกกำลังที่มี 52 เป็นฐาน และ 4 เป็นเลขชี้กำลัง
(52)4 = 52 × 52 × 52 × 52
(52)4 = 5(2 + 2 + 2 + 2)
จะได้ (52)4 = 58 หรือ 5(2 × 4)
จากการหาผลลัพธ์ของเลขยกกำลังข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าเลขชี้กำลังของผลลัพธ์หาได้จากผลคูณของเลขชี้กำลังของฐานกับเลขชี้กำลังของเลขยกกำลังนั้น ซึ่งเป็นไปตามสมบัติของเลขยกกำลังดังนี้
เมื่อ a แทนจำนวนใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ m และ n แทนจำนวนเต็ม
(am)n = amn
เลขยกกำลังที่มีฐานอยู่ในรูปการคูณ
เราเคยทราบมาแล้วว่า 143 เป็นเลขยกกำลังที่มี 14 เป็นฐานและ 3 เป็นเลขชี้กำลัง เราอาจเขียนแทน 14 ด้วย 2 × 7
ดังนั้น 143 อาจเขียนแทนด้วย (2 × 7)3
(2 × 7)3 เป็นเลขยกกำลังที่มี 2 × 7 เป็นฐาน มี 3 เป็นเลขชี้กำลัง
พิจารณาความหมายของเลขยกกำลังที่มีฐานอยู่ในรูปการคูณของจำนวนหลาย ๆ จำนวนต่อไปนี้
(2 × 5)3 เป็นเลขยกกำลังที่มี 2 × 5 เป็นฐาน และ 3 เป็นเลขชี้กำลัง
(2 × 5)3 = (2 × 5) × (2 × 5) × (2 × 5)
(2 × 5)3 = (2 × 2 × 2) × (5 × 5 × 5)
(2 × 5)3 = 23 × 53
จะได้ (2 × 5)3 = 23 × 53
ผลที่ได้ข้างต้นเป็นไปตามสมบัติของเลขยกกำลัง ดังนี้
เมื่อ a แทนจำนวนใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ และ n แทนจำนวนเต็ม
(ab)n = abbn
เลขยกกำลังที่มีฐานอยู่ในรูปการหาร
ให้พิจารณาความหมายของเลขยกกำลังต่อไปนี้
(2 / 7)3 เป็นเลขยกกำลังที่มี 2 / 7 เป็นฐาน และมี 3 เป็นเลขชี้กำลัง
(2 / 7)3 = (2 / 7) × (2 / 7) × (2 / 7)
(2 / 7)3 = (2 × 2 × 2) / (7 × 7 × 7)
(2 / 7)3 = 23 / 73
จะได้ (2 / 7)3 = 23 / 73
ผลที่ได้ข้างต้นเป็นไปตามสมบัติของเลขยกกำลัง ดังนี้
เมื่อ a แทนจำนวนใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ และ n แทนจำนวนเต็ม
(a / b)n = an / bn