วิธีการ หาค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
ค่ากลาง คือ ค่าที่ใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลชุดหนึ่ง ค่ากลางที่นิยมใช้มี 3 วิธีได้แก่
1) ฐานนิยม (Mode)
ฐานนิยม (Mode : Mo) หมายถึง ค่าของข้อมูลในชุดใดชุดหนึ่ง ซึ่งมีความถี่สูงที่สุดหรือซ้ำกันมากที่สุด การหาฐานนิยมแบ่งเป็น 2 กรณี
1.1) กรณีที่ข้อมูลไม่จัดเป็นกลุ่ม
Ex.
1.2) กรณีที่ข้อมูลจัดเป็นกลุ่ม
หาได้จากสูตร
Ex. จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้
2) มัธยฐาน (Median)
มัธยฐาน (Median : Md) คือ ค่าที่อยู่ตรงกลางของชุดข้อมูลหลังจากทำการเรียงลำดับแล้ว มัธยฐานเป็นค่าที่แบ่งข้อมูลออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งมีค่าน้อยกว่าค่ามัธยฐาน อีกส่วนหนึ่งมีค่ามากกว่ามัธยฐาน การหามัธยฐานแบ่งเป็น 2 กรณี
2.1) กรณีที่ข้อมูลไม่แจกแจงความถี่
Ex. จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้
1) 45 20 30 55 40 50 60
2) 48 22 30 55 70 89 29 35
2.2) กรณีที่ข้อมูลแจกแจงความถี่
2.2.1) เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามากโดยการหาความถี่สะสมจากน้อยไปมาก
2.2.2) หาตำแหน่งของมัธยฐานจาก n/2 เมื่อ n แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด
2.2.3) หาค่าของตำแหน่งที่คำนวณได้จากข้อ 2 โดยสูตร
L0 แทน ขอบเขตล่างของชั้นมัธยฐาน
I แทน ความกว้างของชั้นมัธยฐาน n แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
F แทน ความถี่สะสมแบบน้อยกว่าจนถึงชั้นก่อนมัธยฐาน
f แทน ความถี่ของชั้นมัธยฐาน
หาความถี่สะสมแบบน้อยกว่าของข้อมูล
ตำแหน่งมัธยฐาน = n/2 = 40/2 = 20
ตำแหน่งที่ 20 มีคะแนนอยู่ในช่วง 40 – 49 ดังนั้นชั้น 40 – 49 เป็นชั้นมัธยฐาน
Ex. จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้
หาความถี่สะสมแบบน้อยกว่าของข้อมูล
ตำแหน่งมัธยฐาน = n/2 = 40/2 = 20
ตำแหน่งที่ 20 มีคะแนนอยู่ในช่วง 40 – 49 ดังนั้น ชั้น 40 – 49 เป็นชั้นมัธยฐาน