กุญแจสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้
ทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factor Theory) เป็นทฤษฎีที่ Frederick K. Herzberg ได้ศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เขาได้ศึกษาถึงความต้องการของคนในองค์การ หรือการจูงใจจากการทำงาน โดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากงาน คำตอบก็คือ บุคคลต้องการความสุขจากการทำงาน มีสาเหตุปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) และปัจจัยค้ำจุน (Maintenance or Hygiene Factors)
1) ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้
คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติ เป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การให้ปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achievement) หมายถึงการที่บุคคล
สามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ
1.2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือ จากบุคคลในหน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชย แสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึงงานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆ และมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ไม่มีการตรวจ หรือควบคุมอย่าง ใกล้ชิด
1.5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่ม หรือได้รับการฝึกอบรม
1.พัฒนาความแข็งแรงของจิตใจ
ความแข็งแรงของจิตใจคือความพยายามและความกล้าที่จะเผชิญอุปสรรค คนที่มีจิตใจที่แข็งแรงจะมองว่างานที่ยาก สิ่งใหม่ๆ และความท้าทายต่างๆ เป็นโอกาส คนประเภทนี้มีความคิดว่าเขาสามารถใช้ชีวิตในแบบของตัวเองได้ มั่นใจว่าตัวเองมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้และมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ตัวเองเป็นคนเริ่มให้สำเร็จ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะยากแค่ไหนก็ตาม
แล้วเราจะเสริมสร้างความแข็งแรงของจิตใจได้อย่างไร?
2.เชื่อมั่นในตัวเอง
พยายามต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
หาแรงสนับสนุนจากคนใกล้ตัว
3.สร้างความมุ่งมั่น
จากการศึกษากลุ่มเด็กที่มีความฉลาดสูงตั้งแต่เด็กจนโตของนักจิตวิทยา พบว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมากที่สุดจะมีลักษณะสำคัญคือความเพียรพยายามและความมุ่งมั่น ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่สามารถฝึกฝนและปรับปรุงได้ การอดทนรอคอย เรียนรู้ที่จะยืนหยัดเมื่อเผชิญกับความท้าทาย และรอคอยผลลัพธ์จากการทำงานหนักจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในชีวิตได้อย่างแน่นอน
แล้วเราจะสร้างความมุ่งมั่นได้อย่างไร?
4.จัดการกับความวอกแวก
การฝึกฝน
จดจ่อไปที่แรงจูงใจภายในของตัวเอง (Intrinsic Motivations)
อะไรเป็นสิ่งที่จูงในเรามากที่สุด? รางวัล เงิน ชื่อเสียง หรือการถูกยกย่องจากคนรอบข้าง ถ้าทั้งหมดนี้เป็นเเรงจูงใจที่ทำให้เราอยากจะทำงานล่ะก็ มั่นใจได้เลยว่าชีวิตเรากำลังขับเคลื่อนด้วย ‘แรงจูงใจภายนอก’ แต่ถ้าหากเราทำงานด้วยความพอใจส่วนตัว สนุกกับงานเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีความหมาย หรือสนุกกับการได้เห็นผลงานของตัวเอง ชีวิตเรากำลังขับเคลื่อนด้วย ‘แรงจูงใจภายใน’ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าแรงจูงใจภายนอก
แล้วเราจะสร้างแรงจูงใจภายในได้อย่างไร?
5.ท้าทายตัวเอง
เป็นคนช่างสงสัย
ควบคุมแรงจูงใจของตัวเอง
6.อย่ากลัวการแข่งขัน
ฝึกนิสัยของการเพิ่มศักยภาพในการทำงาน