ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คำว่า “ตรรกศาสตร์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ตรฺก” (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด) อะริสโตเติล (Aristotle)
2.1 ประพจน์
2.2 การเชื่อมประพจน์
2.3 การหาค่าความจริงของรูปแบบของประพจน์
2.4 การสร้างตารางค่าความจริง
2.5 รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน
2.6 สัจนิรันดร
ประพจน์ :
ความหมายของประพจน์, ลักษณะของสิ่งที่เป็นและไม่เป็นประพจน์
การเชื่อมประพจน์ :
มี 5 รูปแบบดำเนินการ คือ นิเสธ, และ, หรือ, ถ้า..แล้ว, ก็ต่อเมื่อ
การหาค่าความจริงของประพจน์ :
จริงหรือเท็จ
สมมูลและนิเสธของประพจน์ :
รูปแบบของประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันไม่ว่ากรณีใดๆ
สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล :
รูปแบบของประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ, รูปแบบของประพจน์ที่แสดงถึงการอ้างเหตุผล
ซึ่งมีส่วนของเหตุและส่วนของผล
ตัวบ่งปริมาณและประโยคเปิด :
รูปแบบและลักษณะของประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณ, การหาค่าความจริง/สมมูล/นิเสธ
ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบ มีดังนี้
p ∧ q สมมูลกับ q ∧ p
p ∨ q สมมูลกับ q ∨ p
(p ∧ q) ∧ r สมมูลกับ p ∧ (q ∧ r)
(p ∨ q) ∨ r สมมูลกับ p ∨ (q ∨ r)
p ∧ (q ∨ r) สมมูลกับ (p ∧ q) ∨ ( p ∧ r)
p ∨ (q ∧ r) สมมูลกับ (p ∨ q) ∧ ( p ∨ r)
p → q สมมูลกับ ~p ∨ q
p → q สมมูลกับ ~q → ~p
p ⇔ q สมมูลกับ (p → q) ∧ (q → p)
ประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน
ประพจน์ 2 ประพจน์เป็นนิเสธกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงตรงข้ามกันทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย
ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นนิเสธกันที่ควรทราบ มีดังนี้
~(p ∧ q) สมมูลกับ ~p ∨ ~q
~(p ∨ q) สมมูลกับ ~p ∧ ~q
~(p → q) สมมูลกับ p ∧ ~q
~(p ⇔ q) สมมูลกับ (p ⇔ ~q) ∨(q ⇔ ~p)
~(p ⇔ q) สมมูลกับ (p ∧ ~q) ∨ ( q ∧~p)