COMPARISONS ( การเปรียบเทียบ )
1. การเปรียบเทียบด้วย as as
2. Comparative และ superlative
3. การเปรียบเทียบขั้นกว่าและขั้นสูงสุดของคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์
4. การเปรียบเทียบด้วย less.than และ not as..as
5. การใช้ more กับคำนาม
6. การใช้ the same, similar, different, like, alike
การเปรียบเทียบ หรือ Comparison คือ การใช้คำคุณศัพท์ หรือ adjective มาเปรียบเทียบในภาษาอังกฤษ
ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น การเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree) และการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
(Superlative Degree)
1. การใช้ค าคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree)
การเปรียบเทียบค าคุณศัพท์ขั้นกว่านี้มี 3 รูปแบบ คือ
รูปแบบแรกจะมีการเติม -er ท้ายค าคุณศัพท์ (adjective) นั้นๆ และตามด้วย than เพื่อเปรียบเทียบว่า
สิ่งหนึ่ง … กว่าอีกสิ่งหนึ่ง เช่น
– Sasha is older than Kyle.
– A cat is smaller than a tiger.
รูปแบบที่สอง การเปรียบเทียบค าคุณศัพท์ขั้นกว่า ที่มีสองพยางค์และลงท้ายด้วย y ต้องเปลี่ยน y เป็น i
แล้วเติม er เช่น
– My sister assignment is easier than my assignment.
รูปแบบที่สาม การเปรียบเทียบค าคุณศัพท์ขั้นกว่า ที่มีพยางค์มากกว่าสามพยางค์ขึ้นไป จะใช้more ตาม
ด้วย adjective และตามด้วย than เพื่อเปรียบเทียบว่า สิ่งหนึ่ง …. กว่าอีกสิ่งหนึ่ง เช่น
– My mother is more beautiful than my aunt.
– My homework is more difficult than your homework.
2. การใช้ค าคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (Superlative Degree)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุดนี้มี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบแรกจะใช้ the น าหน้า adj. ที่มีการเติม -est ท้ายค า
นั้นๆ เพื่อเปรียบเทียบว่า สิ่งนั้น … ที่สุด เช่น
– She was the cleverest girl I have ever known.
(หล่อนเป็นผู้หญิงที่ฉลาดที่สุดที่ฉันเคยรู้จักมา)
รูปแบบที่สอง จะใส่ the most ไว้ด้านหน้า adj. นั้นๆ ที่มีสามพยางค์ขึ้น เพื่อเปรียบเทียบว่า สิ่งนั้น …
ที่สุด เช่น
– My mum is the most beautiful woman in this world.
(แม่ของฉันเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลกนี้)
คำคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบมีอยู่ 3 ขั้น คือ
1. การใช้คำคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบขั้นปกติ (Positive/Regular Adjectives)
โครงสร้างประโยค : S + V. to be + as adjective as
2. การใช้คำคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Adjectives)
โครงสร้างประโยคแบบที่ 1 : S + V. to be + adj. +er + than
โครงสร้างประโยคแบบที่ 2 : S + V. to be + more + adj. + than
3. การใช้คำคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (Superlative Adjectives)
โครงสร้างประโยคแบบที่ 1 : S + V. to be + the + adj. + est
การสร้างคุณศัพท์ขั้นกว่าและขั้นสุด
การสร้างคุณศัพท์ขั้นกว่าและขั้นสุดสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนพยางค์ของคำคุณศัพท์ที่ใช้
คำคุณศัพท์หนึ่งพยางค์
เติม -er หลังคำคุณศัพท์หากต้องการเปรียบเทียบขั้นกว่า และเติม -est หลังคำคุณศัพท์หากต้องการเปรียบเทียบขั้นสุด หากคำคุณศัพท์ใด ๆ ก็ตามมีเพียงแค่พยัญชนะ + สระ + ตัวสะกด อย่างละ 1 ตัว ก่อนที่จะทำเป็นขั้นกว่าหรือขั้นสุดจำเป็นต้องเติมตัวสุดท้ายของคำคุณศัพท์นั้น ๆ ซ้ำอีก 1 ตัวก่อนเติม -er หรือ -est
คำคุณศัพท์ | ขั้นกว่า | ขั้นสุด |
---|---|---|
tall | taller | tallest |
fat | fatter | fattest |
big | bigger | biggest |
sad | sadder | saddest |
สองพยางค์
คำคุณศัพท์ที่มี 2 พยางค์สามารถทำให้เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่าได้ด้วยการเติม -er หรือเติม more ข้างหน้าคำคุณศัพท์ที่ต้องการเปรียบเทียบ และทำเช่นเดียวกันหากต้องการเปรียบเทียบขั้นสุด คือ เติม -est ต่อท้ายคำคุณศัพท์นั้น ๆ หรือเติม most ข้างหน้า นอกจากนี้ ในหลายกรณียังสามารถเติมคำเพิ่มทั้งข้างหน้าและข้างหลังได้อีกด้วย ถึงแม้ว่า การเลือกเติมอย่างใดอย่างหนึ่งจะพบได้บ่อยกว่าก็ตาม หากคุณไม่แน่ใจว่า คำคุณศัพท์ 2 พยางค์นั้น ๆ สามารถเติม -er หรือ -est ได้หรือไม่ การเลือกเติม more และ most จะปลอดภัยกว่า สำหรับคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i ก่อนเติม -er หรือ -est
คำคุณศัพท์ | ขั้นกว่า | ขั้นสุด |
---|---|---|
happy | happier | happiest |
simple | simpler | simplest |
busy | busier | busiest |
tilted | more tilted | most tilted |
tangled | more tangled | most tangled |
สามพยางค์หรือมากกว่า
คำคุณศัพท์ที่มี 3 พยางค์หรือมากกว่าสามารถทำให้เป็นขั้นกว่าได้ด้วยการเติม more ข้างหน้าคำคุณศัพท์ที่ต้องการเปรียบเทียบ และทำให้เป็นขั้นสุดด้วยการเติม most ไว้ข้างหน้า
คำคุณศัพท์ | ขั้นกว่า | ขั้นสุด |
---|---|---|
important | more important | most important |
expensive | more expensive | most expensive |
การเปรียบเทียบขั้นกว่าและขั้นสุดแบบพิเศษ
คำคุณศัพท์เหล่านี้จะเปลี่ยนคำไปเลยเมื่ออยู่ในขั้นกว่าและขั้นสุด
คำคุณศัพท์ | ขั้นกว่า | ขั้นสุด |
---|---|---|
good | better | best |
bad | worse | worst |
little | less | least |
much | more | most |
far | further / farther | furthest / farthest |
REGULAR COMPARISON
โดยทั่วไป คำ adjective หรือ adverb มีรูปแสดงการเปรียบเทียบได้ 3 รูป หรือ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับธรรมดา (ปกติ) |
ระดับกว่า |
ระดับสูงสุด |
small (เล็ก) |
smaller(เล็กกว่า) |
smallest (เล็กที่สุด) |
large (กว้างใหญ่) |
larger (กว้างใหญ่กว่า) |
largest (กว้างที่สุด) |
big (ใหญ่) |
bigger (ใหญ่กว่า) |
biggest (ใหญ่ที่สุด) |
simple (ง่าย) |
simpler (ง่ายกว่า) |
simplest (ง่ายที่สุด) |
beautiful (สวย) |
more beautiful (สวยกว่า) |
most beautiful (สวยที่สุด) |
slowly (ช้า) |
more slowly (ช้ากว่า) |
most slowly (ช้าที่สุด) |
silly (โง่า) |
sillier (โง่กว่า) |
silliest (โง่ที่สุด) |
หลักของการเปลี่ยน คำ adjective หรือ adverb ให้เป็นขั้นกว่า หรือขั้นสูงสุดนั้น ยึดหลักดังนี้
- A) คำพยางค์ดียว (และสองพยางค์บางคำ)
– คำพยางค์เดียวส่วนใหญ่เติม er , est ได้ทันที เช่น fast – faster – fastest (เร็ว) , cheap – cheaper – cheapest (ถูก ไม่แพง)
– ถ้าลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว เติมเพียง r หรือ st เช่น large – larger – largest (กว้างใหญ่) , simple – simpler-simpest (ง่าย ธรรมดา)
– ถ้ามีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว เพิ่มตัวสะกดอีกหนึ่งตัวก่อนเติม er หรือ est เช่น big – bigger – biggest (ใหญ่) , thin – thinner – thinnest (ผอม), fat – fatter – fattest (อ้วน)
– ถ้าลงท้ายด้วย y เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม er , est (หน้า y ต้องไม่ใช่สระ) เช่น happy – happier – happiest (มีความสุข), silly – sillier – silliest (โง่) ยกเว้นถ้าเป็นคำ adverb ที่เกิดจากการเติม ly เข้าที่คำ adjective เติมคำ more, most เข้าข้างหน้า เช่น quickly – more quickly – most quickly (อย่างรวดเร็ว)
- B) คำสองพยางค์
– ถ้าเป็นคำสองพยางค์ที่ออกเสียงสั้น เติม er , est เช่น early – earlier – earliest (เแต่ช้า เนิ่น) , simple – simpler , simplest
– คำสองพยางค์ที่มีเสียงยาว ใช้ more , most ข้างหน้า เช่น modern – more modern , most modern (ทันสมัย) , correct – more correct , most correct (ถูก) , famous – more famous – most famous (มีชื่อเสียง)
(คำบางคำก็ใช้ได้ทั้งสองแบบ เช่น common – commoner – commonest หรือ common – more common – most common (ธรรมดา) - C) คำสามพยางค์ขึ้นไป ใช้ more , most ข้างหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น
expensive – more expensive , most expensive (แพง)
หมายเหตุ ใช้ more , most กับ adverb ที่เกิดจากการเติม ly และ adjective
ที่เกิดจากการเติม – ful , – ing และ -ed เช่น carefully – more carefully
– most carefully (อย่างระมัดระวัง), boring – more boring – most
boring (น่าเบื่อ) , tired – more tired – most tired (เหนื่อย)
IRREGULAR COMPARISON
คำ adjective และ adverb ต่อไปนี้ มีรูปคำ ระดับกว่า และระดับสุด ผิดจากกฏเกณฑ์ที่กล่าวมา จะต้องจดจำเป็นพิเศษ ดังนี้
ระดับธรรมดา (ปกติ) |
ระดับกว่า |
ระดับสูงสุด |
good (ดี) |
better (ดีกว่า) |
best (ดีที่สุด) |
well (ดี) |
better (ดีกว่า) |
best (ดีที่สุด) |
many(มาก)ใช้กับนามนับได้ |
more (มากกว่า) |
most (มากที่สุด) |
much (มาก)ใช้กับนามนับไม่ได้ |
more (มากกว่า) |
most (มากที่สุด) |
little(น้อย) ใช้กับนามนับไม่ได้ |
less (น้อยกว่า) |
least (น้อยที่สุด) |
far (ไกล) |
farther (ไกลกว่า) |
farthest (ไกลที่สุด) |
far (เหนือชั้น สูง) |
further(เหนือชั้นกว่า) |
furthest (เหนือชั้นที่สุด) |
3) COMPARISON OF SUPREMACY การเปรียบเทียบแสดงความเป็นที่สุด)
การเปรียบเทียบแสดงความเป็นที่สุด มีการใช้ระดับคำสุด (Superlative) มีข้อสังเกตดังนี้
– เมื่อประกอบหน้าคำนาม ใข้ the นำหน้า เช่น This is the shortest way to town.
– ถ้าใช้หลังกิริยาไม่จำเป็นต้องมี the เช่น That way is shortest. = That way is the shortest. (ถ้ามีคำแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ต้องมี the)
– การเปรียบเทียบระดับสุดจะต้องใช้กับสิ่งของตั้งแต่สามสิ่งขึ้นไป เช่น
Of the three boys, Nipon is the tallest. (Of the two boys, Nipon is the taller.)
ขอบคุณข้อมูล https://www.ef.co.th/ และ https://www.trueplookpanya.com/