คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.3 ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
1.1 แนะนำระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
1.2 การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
1.3 การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
ระบบสมการเชิงเส้น คือ สมการเชิงเส้นมากกว่า 1 สมการขึ้นไป แต่ละสมการจะมีตัวแปรมากกว่า 1 ตัว ถ้าตัวแปร 2 ตัวจะเรียกว่า สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ซึ่งในระบบนี้จะมีสมการอย่างน้อย 2 สมการ จึงจะหาค่าคำตอบของตัวแปรทั้งสองได้ เช่นเดียวกับสมการเชิงเส้น 3 ตัวแปร ก็ต้องมีสมการอย่างน้อย 3 สมการ จึงจะหาคำตอบของตัวแปรได้ โดยตัวแปรทุกตัวในสมการ จะต้องอยู่ในรูปกำลังหนึ่ง และอยู่ในรูปผลบวก หรือผลต่างระหว่างตัวแปรเหล่านั้น
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 1 จงแก้ระบบสมการ
x + y = 50
2x + 4y = 140
วิธีทำ x + y = 50 ———(1)
2x + 4y = 140 ———(2)
อธิบายเพิ่มเติม : กำจัดตัวแปร x โดยการทำสัมประสิทธิ์ของตัวแปร x ให้เท่ากันทั้ง 2 สมการ เนื่องจาก สัมประสิทธิ์ของตัวแปร x ในสมการ(1) เท่ากับ 1 และ สัมประสิทธิ์ของตัวแปร x ในสมการ (2) เท่ากับ 2 ดังนั้น นำสมการ (1) × 2 เพื่อให้สัมประสิทธิ์ของตัวแปร x เท่ากับ 2
(1) × 2 ; 2x + 2y = 100 ———(3)
เมื่อสัมประสิทธิ์ของตัวแปร x เท่ากันแล้ว กำจัดตัวแปร x เพื่อหาค่า y โดยการนำ สมการ (2) – (3)
(2) – (3) ; (2x + 4y) – (2x + 2y) = 140 – 100
2x + 4y – 2x – 2y = 40
2y = 40
y = 40 ÷ 2
y = 20
หาค่า x โดยแทน y ด้วย 20 ในสมการที่ (1) จะได้
x + y = 50
x + 20 = 50
x = 50 – 20
x = 30
ตรวจสอบ แทน x ด้วย 30 และแทน y ด้วย 20 ในสมการ (1) จะได้
x + y = 30 + 20 = 50 เป็นจริง
แทน x ด้วย 30 และแทน y ด้วย 20 ในสมการ (2) จะได้
2x + 4y = 2(30) + 4(20) = 60 + 80 = 140 เป็นจริง
ดังนั้น คำตอบของระบบสมการคือ (30, 20)
นอกจากวิธีการดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้วิธีการแทนค่า ได้ดังนี้
วิธีทำ x + y = 50 ———(1)
2x + 4y = 140 ———(2)
จากสมการ (1) ให้จัดรูปใหม่ โดยให้ตัวแปร x อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมายเท่ากับ เพียงตัวเดียว
จาก (1); x = 50 – y ———(3)
แทน x ด้วย 50 – y ใน (2) จะได้
2x + 4y = 140
2(50 – y) + 4y = 140
100 – 2y + 4y = 140
2y = 140 – 100
2y = 40
y = 40 ÷ 2
y = 20
แทน y ด้วย 20 ใน (3) จะได้
x = 50 – y
x = 50 – 20
x = 30
ดังนั้น คำตอบของระบบสมการคือ (30, 20)
การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยการกำจัดตัวแปร
1. ทำสัมประสิทธิ์ของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งให้เท่ากันหรือเป็นจำนวนตรงข้ามกัน โดยการคูณหรือการหารด้วยค่าคงตัว
2. นำสมการมาบวกหรือลบกัน หากสัมประสิทธิ์ของตัวแปรมีค่าเท่ากัน ให้นำสมการมาลบกัน หากสัมประสิทธิ์ของตัวแปรเป็นจำนวน ตรงข้ามกันให้นำสมการมาบวกกัน
3. แก้สมการเพื่อหาค่าตัวแปรในขั้นตอนนี้ สมการต้องเหลือเพียงตัวแปรเดียวเท่านั้น
4.นำคำตอบที่ได้ไปแทนค่าในสมการใด สมการหนึ่งเพื่อหาค่าของตัวแปรอีกตัว
5.ตรวจคำตอบ
ถ้าคำตอบทำให้สมการเป็นจริงทั้งสองสมการ จะได้ว่า ระบบสมการนี้มีคำตอบ
ถ้าคำตอบทำให้สมการไม่เป็นจริงทั้งสองสมการ จะได้ว่า ระบบสมการนี้ไม่มีคำตอบ
ตัวอย่าง
จงแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
x – 2y = 9 (1)
4x – 3y = 6 (2)
วิธีทำ
จากสมการ (1) หาค่า x ในรูปของ y จะได้
x = 2y + 9 (3)
นำค่า x จาก (3) ไปแทน x ใน (2) จะได้
4(2y + 9) – 3y = 6 (4)
แก้สมการ (4) จะได้
8y + 36 – 3y = 6
y = -6
นำค่า y ไปแทนใน (3) จะได้
x = 2(-6) + 9
x = -3
ดังนั้น y = -6, x = -3 จะได้คู่อันดับ (-3, -6)
ชนิดของสมการ
“สมการ” สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- สมการที่เป็นจริง : สมการที่มีจำนวนด้ายซ้ายและด้านขวาเท่ากัน เช่น
3 + 2 = 5 5 x 4 = 20 X – X = 0 144/12 = 12 |
ตัวอย่างสมการที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นสมการที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแปลว่าสมการจะเป็นจริงโดยไม่ต้องมีการแทนค่าใดๆลงในตัวแปรเลย
- สมการที่เป็นเท็จ : สมการที่มีจำนวนด้านซ้ายและด้านขวาไม่เท่ากัน เช่น
3 + 5 = 10 9 – 2 = 8 5 x 3 = 16 24/4 = 11 |
- สมการที่มีตัวแปรไม่ทราบค่า : ก็คือสมการที่มีตัวแปรไม่ทราบค่า สมการจะเป็นจริงแค่เพียงค่าเดียว และเป็นเท็จเมื่อแทนค่าอื่นๆ นอกเหนือจากค่านั้น เช่น
2 + X = 5 ถ้าเราแทน X ด้วย 3 สมการก็จะเป็นจริง แต่ถ้าเราแทนด้วยค่าอื่นๆ ก็จะทำให้สมการเป็นเท็จ เราเรียกจำนวนที่แทนตัวแปรในสมการที่ทำให้สมการเป็นจริงว่า “คำตอบของสมการ” หรือ “รากของสมการ” |
การแก้สมการ
“การแก้สมการ” ก็คือ การหาคำตอบของสมการซึ่งจะทำให้สมการนั้นเป็นจริง
ซึ่งแบ่งออกเป็นสองวิธีด้วยกัน คือ
- การแทนค่าตัวแปร เป็นวิธีทดลองแทนค่าของตัวแปรในสมการ ถ้าจำนวนใดนำมาแทนค่าแล้วทำให้สมการเป็นจริง แสดงว่าจำนวนนั้นเป็นคำตอบของสมการ เช่น
ตัวอย่าง
สมการ 5X + 2 = 12
ถ้าแทนค่า ดังนั้นคำตอบของสมการนี้ คือ 2 ถ้าแทนค่า ดังนั้น 3 ไม่ใช่คำตอบของสมการ |
- การใช้คุณสมบัติของการเท่ากัน เป็นการนำคุณสมบัติการเท่ากันทั้งในเรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหารมาใช้ในการแก้สมการ
( ใส่รูป 1 )
ในการเรียนเรื่องสมการ เราจะพบสมการที่มีตัวแปรไม่ทราบค่าอยู่เสมอ ซึ่งในชั้นมัธยมต้น เราจะได้ทำความรู้จักกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและสมการเชิงเส้นสองตัวแปร มาดูกันว่าสมการทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
“สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว” คือ สมการที่มีตัวแปรไม่ทราบค่าและเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็น 1 ตัวแปรอาจจะมีอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของเครื่องหมายเท่ากับ ( = ) หรืออาจจะมีอยู่ทั้งสองข้างเลยก็ได้ ถ้าจัดให้อยู่ในรูปผลสำเร็จจะได้ว่า
ax + b = 0 โดยที่ x เป็นตัวแปร, a และ b เป็นค่าคงที่ และ a 0 |
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจะมีคำตอบเพียงค่าเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือ จำนวนที่เมื่อนำไปแทนค่าตัวแปรในสมการแล้ว ทำให้สมการนั้นเป็นจริง ( ใส่รูป 2 )
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะต้องใช้สมบัติการเท่ากันของจำนวน ที่บอกว่าจำนวนสองจำนวนที่เท่ากัน เมื่อเพิ่มหรือตัดออกเท่ากันย่อมเท่ากัน ซึ่งสมบัติการเท่ากัน ได้แก่ ( ใส่รูป 3 )
วิธีการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
มีหลักการดังนี้
- พยายามทำให้เป็นผลสำเร็จ โดยจัดให้ตัวแปรและค่าคงตัวอยู่คนละข้างของเครื่องหมายเท่ากับ (=)
- เมื่อไหร่ที่มีวงเล็บ ต้องถอดวงเล็บทิ้งไป โดยต้องไม่ลืมเปลี่ยนเครื่องหมายจำนวนในวงเล็บ เมื่อหน้าวงเล็บมีเครื่องหมายนี้ “ – “
- การแก้สมการเศษส่วน เมื่อจำนวนส่วนมากอยู่ในรูปเศษส่วน ต้องทำให้ส่วนหมดไปโดยการนำ ค.ร.น. ของส่วนทั้งหมดคูณไปตลอดสมการนั้น
-
ตัวอย่าง
นายเอมีเงินมากกว่านายบีอยู่ 12 บาท นายเอและนายบีมีเงินรวมกันอยู่ 88 บาท นายเอมีเงินเท่าไหร่
วิธีทำ สมมติให้นายเอมีเงิน X บาท
เราจะได้ว่า นายบีมีเงิน X – 12 บาท
นายเอและบีมีเงินรวมกัน 88 บาท
สมการที่ได้คือ X + (X – 12) = 88
2X – 12 = 88
2X = 88+12
X = 100/2 = 50
ตอบ นายเอมีเงิน 50 บาท