ข้อมูลที่มีความหมายและใช้งานกันโดยทั่วไปในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. ข้อมูลชนิดตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนาไปคำนวณได้ เขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
1.1 ข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม (Integer)
ข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม เป็นไปได้ทั้งจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มศูนย์ และจำนวนเต็มลบ ตัวอย่างข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม ได้แก่ 5, 0, -10 เป็นต้น โดยที่ค่า Integer มีค่าตั้งแต่ -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
1.2 ข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม (Float)
ข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม คือ ตัวเลขที่ไม่ใช่จานวนเต็ม โดยอาจจะเป็นตัวเลขทศนิยมคงที่ หรือทศนิยมไม่รู้จบ ตัวอย่างข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม ได้แก่ 10.50, 7.00, -0.35, 19.3333…, -22.222… เป็นต้น ค่า Float มีค่าตั้งแต่ ±1.5 x 10-45 ถึง ±3.4 x 1038
2. ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
2.1 ข้อมูลชนิดอักขระ (Character)
ข้อมูลชนิดอักขระ คือ ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ ที่มีความหมายและมีความยาวเพียง 1 ตัวอักษร โดยข้อมูลชนิดอักขระจะต้องเขียนไว้ภายในเครื่องหมาย ‘ ’ (Single Quote) เช่น ‘F’, ‘M’, ‘T’, ‘0’, ‘1’, ‘{‘, ‘#’, ‘@’ เป็นต้น
2.2 ข้อมูลชนิดข้อความ (String)
ข้อมูลชนิดข้อความ คือ ตัวอักขระที่มากกว่า 1 ตัวเรียงต่อกันเป็นข้อความ โดยข้อมูลชนิดข้อความต้องเขียนอยู่ภายในเครื่องหมาย “”(Double Quote) เช่น “John”, “Phayao”, “081-4312553”, “98/1”, “krudangpy@hotmail.com”, “Hello World” เป็นต้น
ตัวแปรและหน้าที่ของตัวแปร
เมื่อทำการเตรียมข้อมูลไว้พร้อมแล้ว การจะนำข้อมูลเข้ามาใช้ในโปรแกรม ต้องทำให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและรู้จักข้อมูลเสียก่อนจึงจะใช้งานได้ ซึ่งวิธีการก็คือ การสร้างตัวแปร หรือ การกำหนดตัวแปร เพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมา
ดังนั้นตัวแปร (Variable) หมายถึง การจองพื้นที่ในหน่วยความจำหลัก (RAM) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดชื่อเรียกแทนข้อมูล ถ้าหากต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่า การคำนวณ หรือ การแสดงผล ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปร เช่น กำหนดตัวแปรขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า num สาหรับเก็บค่าตัวเลข 60 เมื่อต้องการนำจำนวน 60 มาใช้งาน เพียงแต่เรียกชื่อ num เท่านั้นก็สามารถนามาใช้งานได้ เช่น กำหนดสูตร out = num+10 แทนที่สูตรจะได้ out = 60 + 10 ผลลัพธ์ตัวแปร out จะมีค่าเท่ากับ 70
ตัวอย่างการกำหนดชื่อตัวแปรแทนข้อมูล
ชนิดของตัวแปร
ตัวแปรสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตัวแปรพื้นฐาน (Scalar) ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่เก็บข้อมูลได้เพียงค่าเดียว และตัวแปรชุด (Array) ซึ่งก็คือตัวแปรที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้หลายค่าในตัวแปรตัวเดียว โดยในที่นี้จะอธิบายเฉพาะตัวแปรพื้นฐานเพียงอย่างเดียว
หลักการตั้งชื่อตัวแปร
การสร้างตัวแปรขึ้นมาสำหรับใช้แทนข้อมูล ชื่อของตัวแปรที่จะใช้เป็นส่วนที่ต้องคำนึงถึงเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเมื่อต้องนำ
ตัวแปรไปใช้ในการเขียนโปรแกรม การตั้งชื่อตัวแปรมีหลักการและข้อกำหนดเป็นมาตรฐาน ดังนี้
1. ชื่่อของตัวแปรต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _ (Underscore) เท่านั้น
2. ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และสัญลักษณ์ “_” ในการตั้งชื่อตัวแปร
3. ห้ามเคาะช่องว่างหรือใช้เครื่องหมายใดใดในการตั้งชื่อตัวแปร เช่น !, @, #, $, %, &, |, (, ), =, \, +, -,* ,/
4. ต้องคำนึงถึงการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษามองเห็นว่ามีความแตกต่างกัน โดย Score จะถือว่าเป็นคนละตัวกับ SCORE และ score
5. ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายกับข้อมูล เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและไม่สับสน กรณีที่มีตัวแปรเป็นจำนวนมากเช่น ตัวแปร age หมายถึงอายุ ตัวแปร id หมายถึง รหัสประจำตัว tax หมายถึงภาษี เป็นต้น
6. ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word) ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษาจะกำหนดคำสงวนไว้ใช้งาน ตัวอย่างคำสงวนในภาษา C เช่น if ,short, switch, break, int, default, while, case, do, float, long, char, double, for, else, return, goto, void
เครื่องหมายหรือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
เมื่อเตรียมข้อมูลและกำหนดตัวแปรสำหรับเก็บข้อมูลขึ้นมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำตัวแปรเหล่านั้นมาดำเนินการเพื่อเขียนโปรแกรมให้ทางานตามที่ต้องการ โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้นหมายถึง
การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร การนำตัวแปรมาคำนวณโดยใช้เครื่องหมายหรือตัวดำเนินการ ทางคณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบ หรือการใช้เครื่องหมายทางตรรกศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ซึ่งเครื่องหมายหรือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
ตารางแสดงเครื่องหมายหรือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่าง หากกำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปร x = 10, y = 5
หมายเหตุ ลำดับการทำงานของเครื่องหมายหรือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้แก่
*, /, % +, – เช่น Z = 50 + 40 – 30 * 20 / 10 % 5 ผลลัพธ์ Z = 90 ตามลำดับเครื่องหมายดังนี้
ตัวอย่าง การคำนวณค่าโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์