ประธาน กริยา กรรม คืออะไร สำคัญอย่างไร
- ประธาน คือ ผู้กระทำ
- กริยา คือ การการะทำ
- กรรม คือ ผู้ถูกกระทำ
ลิง กิน กล้วย
กิน เป็น กริยา เพราะ เป็นการกระทำ
กล้วย เป็นกรรมเพราะเป็นผู้ถูกกระทำ
แล้วประธานสำคัญอย่างไร
บอกได้เลยว่าสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ไวยากรณ์ เพราะมันมีกฎข้อหนึ่งอยู่ว่า ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s ประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม s ถ้าเราไม่รู้ว่าประธานคืออะไร ตัวไหนคือประธาน มันเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้แล้วละก็ ม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลย เพราะเรียนไปก็จะยิ่งงงกันไปใหญ่
ตัวไหนเป็นประธานในประโยคกันแน่
จากตัวอย่างลิงกินกล้วย รู้ไหมคะว่าอะไรเป็นประธาน ถูกต้องค่ะ ก็ลิงนั่นแหละ อันนี้ดูง่ายค่ะ เพราะเป็นประโยคธรรมดาๆ ที่ไม่ซับซ้อนอะไรเลย
ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างกันนะคะ
The man from Thailand is very tall. ผู้ชาย ที่มาจาก ประเทศไทย ตัวสูง มาก
จากตัวอย่าง ผู้ชายนะคะที่เป็นประธาน ไม่ใช่ประเทศไทย
Two boys from China are very smart. เด็กชายสองคน ที่มาจากจีน หล่อมาก
จากตัวอย่าง เด็กผู้ชาย คือประธานของประโยค ไม่ใช่ China
และสังเกตให้ดีว่า สองประโยคด้านบนมีอะไรที่ต่างกัน ถูกต้องครับ กริยา is กับ are ไง ประธานหนึ่งคนกริยามักลงท้ายด้วย s
The girl in this room drinks coffee everyday. เด็กหญิง ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
The girls in this room drink coffee everyday. เด็กหญิงทั้งหลาย ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
ตัวอย่างด้านบนนี้ ประธานคือ เด็กหญิง ไม่ใช่ ห้อง สังเกตว่าประธานคนเดียวกริยาเติม s หลายคนไม่ต้องนะคะ
นี่คือความสำคัญที่จะต้องแยกแยะให้ออกว่าอันไหนคือประธานของประโยค และประธานดังกล่าวเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์กันแน่ เพราะเอกพจน์กับพหูพจน์จะใช้กริยาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่องเอกพจน์พหูพจน์ ในบทต่อไป
ประธาน เอกพจน์ พหุพจน์ มีอะไรบ้างสังเกตตรงไหน
ถ้ายังไม่รู้ว่า เอกพจน์ พหูพจน์คืออะไร กลับไปศึกษาเรื่อง เอกพจน์ พหูพจน์ ก่อน
ประธาน เอกพจน์ คือ ผู้กระทำคนเดียว
ประธานพหูพจน์ คือ ผู้กระทำหลายคน
ประธานเอกพจน์ พหูพจน์ มีอะไรบ้าง
ประธานของประโยคส่วนใหญ่จะมาจากคำนาม และสรรพนาม (นอกจากนี้ยังมี Gerund และ คำกริยาที่นำหน้าด้วย to)
ประธานเอกพจน์ เช่น
1. คำนามเอกพจน์ เช่น a dog, a man, a teacher, a pen, a bank, John, Somchai, Somying….
2. คำนามนับไม่ได้ เช่น water, coffee, paper, soap, meat, beef, sugar….
3. สรรพนามที่หมายถึงอันเดียว เช่น He, She, It, This, That…
4. Gerund ( กริยาเติม ing) เช่น waking (การเดิน) , sleeping (การนอน), running (การวิ่ง)….
5. คำกริยาที่นำหน้าด้วย to เช่น To walk (การเดิน), To sleep (การนอน), To run (การวิ่ง)….
ประธานพหูพจน์ เช่น
1. คำนามพหูพจน์ เช่น dogs, men, teachers, pens, banks….
2. สรรพนามที่หมายถึง หลายอัน เช่น You, We, They, I, These, Those…
คำว่า I หมายถึงคนเดียว แต่ส่วนใหญ่จะใช้กริยาร่วมกัน พหูพจน์ เลยจัดให้อยู่ในหมวดหมู่นี้ มีคำกริยาตัวเดียวที่ใช้ร่วมกันเอกพจน์ คือ was และอีกตัวหนึ่งที่ใช้คนเดียวคือ am นอกนั้นใช้ร่วมกับพหูพจน์ทั้งหมด
ทำไมต้องแจงละเอียดจังเรื่องนี้
เพราะว่ามีบาง Tense ที่ประธานสองกลุ่มนี้ใช้กริยาต่างกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาให้แตกฉานเรื่องประธานเอกพจน์กับพหูพจน์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่น
She drinks coffee everyday. หล่อน ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
We drink coffee everyday. พวกเรา ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
He is drinking water. เขา กำลังดื่ม น้ำ
They are drinking water. พวกเขา กำลังดื่ม น้ำ
A dog was sleeping. สุนัขตัวหนึ่ง กำลังนอนหลับ
Dogs were sleeping. สุนัขหลายตัว กำลังนอนหลับ
เห็นความแตกต่างของภาษาไหมครับ ภาษาไทยใช้เหมือนกันไม่ว่าประธานจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ แต่ภาษาอังกฤษไม่ใช่เลย นี่คือความสำคัญของการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเบื้องต้น
ยังมีอีกไหมเกี่ยวกับประธานเอกพจน์พหูพจน์
ในการเรียนการสอนให้นักเรียนเข้าใจเรื่อง Tense ครูจะไม่พยายามใช้คำที่เราไม่คุ้นเคย หรือเอาประธานของประโยคที่เราไม่รู้จัก นำมายกตัวอย่างนะคะ เพราะจะสร้างความงุนงงเพิ่มขึ้น แทนที่จะได้ความเข้าใจ แต่ก็มีประเด็นที่เราต้องศึกษาต่ออีกนิดคือว่า
1. ประธานที่เชื่อมด้วย and ถือว่าเป็น พหูพจน์ เช่น A dog and a cat (แมว + หมา= 2 ตัว) A pen and a book ( ปากกา + หนังสือ = 2 อัน)
ยกเว้นว่า มี and เป็นตัวเชื่อม แต่เป็นสิ่งๆเดียว เช่น Rice and curry is 20 baht. ข้าวราดแกง (ไม่ใช่ข้าวและแกงนะครับ) Two and one is three. สองบวกหนึ่ง (ไม่ใช่สองและหนึ่ง) The manager and owner is tall. ผู้จัดการและเป็นเจ้าของร้านด้วย (ไม่ใช่ผู้จัดการ และเจ้าของร้าน) แต่ถ้า The manager and the owner จึงจะแปลว่า ผู้จัดการและเจ้าของร้าน (สองคน)
2. ประธานที่เชื่อมด้วย or ให้ดู คำที่อยู่หลัง or เช่น A cat or dogs ( พหูพจน์) Dogs or a cat (เอกพจน์)
3. One of + นามพหูพจน์ เช่น One of my friends.. ให้ยึด one (หนึ่ง) เป็นประธาน ไม่ใช่ friends ดังนั้นประธานของประโยคเป็น เอกพจน์ นะครับ ถ้าเจอแบบนี้ เพราะคำแปลคือหนึ่งในบรรดาเพื่อนๆ
4. นาม + บุรพบท + นาม ให้ยึดนามตัวหน้า ไม่ใช่นามที่อยู่หลังบุรพบท เช่น
o Cats in my room ประธานคือ Cats ไม่ใช่ room ดังนั้นประธานจึงเป็น พหูพจน์
o A cat from those houses ประธานคือ A cat ไม่ใช่ houses ดังนั้นประธานจึงเป็น เอกพจน์
บุรพบทที่ใช้บ่อย เช่น in on at from below behind etc…
ตัวไหนเป็นประธานในประโยคกันแน่
การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
ส่วนประกอบของประโยค
ประโยค = ภาคประธาน + ภาคแสดง (กริยา กรรม ส่วนเติมเต็ม) อาจมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) ใจความสำคัญอย่างเดียว
ประโยคจำแนกตามบทกริยา
๑. ประโยคที่ใช้กริยาไม่มีกรรม ประธาน + กริยา ๒. ประโยคที่ใช้กริยามีกรรม ประธาน + กริยา + กรรม
๓. ประโยคที่ใช้กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็ม
๔. ประโยคที่ใช้กริยาช่วย ประธาน + กริยาช่วย + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็ม
รูปแบบประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ มี 5 แบบด้วยกันดังนี้ค่ะ
1. Subject + Verb
มีแค่ “ประธาน” บวกกับ “กริยา” นั่นแสดงว่ากริยาในประโยคนี้จะต้องเป็นกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ คือไม่จำเป็นต้องมีกรรม กริยาแบบนี้เราเรียกว่า Intransitive verb (อกรรมกริยา) เช่น walk, sleep, stand, run, etc.
- She walks to school every day.
- They are sleeping like a log.
สองประโยคนี้ walk กับ sleep เป็น intransitive verb ซึ่งไม่ต้องมีคำถามมาต่อท้ายว่า “เดิน – เดินอะไร?, นอน – นอนอะไร?” แค่พูดว่าเดินก็ชัดเจน ความหมายครบถ้วนแล้ว ส่วนวลี “to school every day” “ like a log” เป็นส่วนที่มาขยายกริยา ไม่ใช่กรรมของประโยค
2. Subject + Verb + Object
ประโยคนี้เพิ่ม “กรรม” เข้ามา แสดงว่ากริยาในประโยคนี้เป็นกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ หรือเรียกว่า Transitive verb (สกรรมกริยา) กริยาที่ต้องการกรรม หากไม่มีกรรมมารองรับก็จะมีคำถามค้างคาใจ เช่น กิน ถ้าไม่บอกว่ากินอะไร หรือ ดู ถ้าไม่บอกว่า ดูอะไร ก็จะได้ใจความไม่สมบูรณ์
- She never drinks alcohol.
- They have opened their shop for 2 years.
3. Subject + Verb + Indirect object + Direct object
ประโยคที่มีกรรม ก็อาจจะมีกรรมสองตัวก็ได้ คือ “กรรมตรง” กับ “กรรมรอง” โดยมีสูตรง่ายๆว่า “กรรมตรงของ กรรมรองคน” ก่อนจะอธิบายสูตรมาดูตัวอย่างกันก่อนค่ะ
- Eva gave me a present on my birthday last week.
- I haven’t sent you an e-mail yet.
คำที่เป็นตัวหนา คือ กรรมรองซึ่งเป็นคน และคำที่ขีดเส้นใต้คือกรรมตรงซึ่งเป็นสิ่งของ ถ้าเราเรียงกรรมรองมาก่อนก็สามารถวางกรรมตรงต่อได้เลย แต่ถ้าวันดีคืนดีอยากเอากรรมตรงที่เป็นสิ่งของขึ้นก่อนก็ย่อมได้ค่ะ เพียงแต่ต้องเพิ่มตัวช่วยเข้าไปคือคำว่า to คือ
- Eva gave a present to me on my birthday last week.
- I haven’t sent an e-mail to you yet.
4. Subject + Verb + Subject Complement
ประโยคนี้ส่วนที่ตามหลัง คำกริยาคือ subject complement คำถามคือ subject complement มันคืออะไร? มันก็คือ ส่วนเติมเต็มของประโยคซึ่งขยายประธาน กริยาในประโยคแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็น verb to be หรือ linking verb (ตัวอย่าง linking verb คือ become, seem, turn, appear, sound, remain, feel, etc.) ตัวอย่างประโยค เช่น
- She is very rich.
- Bill felt sick after the party.
- The manager’s plan sounds interesting for all employees.
very rich เป็นส่วนเติมเต็มที่มาขยายประธาน she , sick เป็นส่วนเติมเต็มที่มาขยายประธาน Bill และ interesting เป็นส่วนเติมเต็มที่มาขยายประธาน the manager’s plan
5. Subject + Verb + Object + Object Complement
ประโยคนี้เพิ่มเติม object complement เข้ามา ซึ่งก็คือ ส่วนเติมเต็มที่มาขยายกรรม เช่น
- Our class chose Bill our leader.
ห้องของเราเลือกบิลเป็นหัวหน้าห้อง - Flood in Thailand made the country’s economy worse.
น้ำท่วมในประเทศไทยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเลวร้ายลง - The students should keep the classroom clean.
นักเรียนควรจะดูแลรักษาห้องเรียนให้สะอาด