เรื่องความเท่ากันทุกประการต้องเรียนอะไรบ้าง
บทนิยามคือ รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ เคลื่อนที่รูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท
ความหมายของบทนิยามคือ ” ถ้ารูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ แล้วจะเคลื่อนที่รูปเรขาคณิต
รูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท และ ถ้าเคลื่อนที่รูปเรขาคณิตไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท แล้วรูปเรขาคณิต
สองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ
2. ความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง
บทนิยามคือ ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ส่วนของเส้นตรง
ทั้งสองเส้นนั้นยาวเท่ากัน
ความหมายของบทนิยามคือ ถ้าส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นเท่ากันทุกประการแล้วส่วนของเส้นต้นทั้งสองเส้นนั้นยาวเท่ากัน และ ถ้าส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นยาวเท่ากันแล้วส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นเท่ากันทุกประการ
3. ความเท่ากันทุกประการของมุม
บทนิยามคือ มุมสองมุมเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ มุมทั้งสองมุมนั้นมีขนาดเท่ากัน
ความหมายของบทนิยามคือ ถ้ามุมสองมุมเท่ากันทุกประการแล้วมุมสองมุมนั้นมีขนาดเท่ากัน และ ถ้ามุมสองมุมมีขนาดเท่ากันแล้วมุมสองมุมนั้นเท่ากันทุกประการ
มุมสองมุม จะเท่ากันทุกประการก็ต่อเมื่อมุมมีขนาดเท่ากัน
เส้นตรงสองเส้นตัดกัน มุมตรงข้ามจะมีขนาดเท่ากัน
ด้านที่ยาวเท่ากัน + มุมที่ขนาดเท่ากัน + จุดที่ทับกันสนิท = สมนัยกัน
ด้าน – มุม – ด้าน : มุมที่อยู่ระหว่างด้านสองคู่ที่ยาวเท่ากันแล้ว สามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ
มุม – ด้าน – มุม : ด้านที่อยู่ตรงกลางระหว่างมุมที่เท่ากัน สามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ
ด้าน – ด้าน – ด้าน : มีด้านยาวเท่ากันทั้งสามคู่
มุม – มุม – ด้าน : มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่และด้านคู่ที่อยู่ตรงข้ามกับมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันยาวเท่ากัน 1 คู่ สามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ
ฉาก-ด้าน-ฉาก : มีด้านตรงข้ามฉากยาวเท่ากันและมีด้านอื่นอีกหนึ่งคู่ยาวเท่ากัน สามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะยาวเท่ากันทุกประการ
สมบัติของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว : มีด้านประกอบมุมยอดยาวเท่ากันและมุมที่ฐานเท่ากัน
1.ความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน