จำนวนและตัวเลข
1 ประวัติการนับ
ประวัติของตัวเลขเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่มนุษย์รู้จัก “การเทียบสิ่งของด้วยวิธีหนึ่งต่อหนึ่ง” เช่น เทียบสัตว์ 1 ตัว กับ นิ้วมือ 1 นิ้ว
บรรพบุรุษของเราไม่มีตัวเลขแต่ก็รู้จักการนับ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่คุ้นเคยมักจะถูกนำมาเอามาใช้แทนจำนวนตัวเลข ที่นิยมมากที่สุด คือ นิ้วมือ เช่น นิ้วก้อยแทนหนึ่ง นิ้วนางแทนสอง นิ้วกลางแทนสาม ศอกแทนแปด ไหล่แทนเก้า ไหปลาร้าแทนสิบ
นอกจากนี้ยังมีการวาดรูปสัตว์ต่างๆ แทนจำนวนตัวเลขอีกด้วย แต่เมื่อความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการเกี่ยวกับตัวเลขก็มากขึ้นตามไปด้วย การนับโดยใช้นิ้วหรือสิ่งของมาแทนก็ไม่เพียงพอ วิธีการแก้ปัญหาในครั้งแรก คือ การใช้ปมเชือก ซึ่งอาจเรียกระบบปมเชือกนี้ว่าเป็นตัวเลขชุดแรกของมนุษย์ก็ได้
คนโบราณบางแห่งใช้ปมเชือกบันทึกจำนวน เช่น พวกอินคาในอเมริกาใต้ เขาใช้ปมชนิดหนึ่งแทนจำนวนหนึ่ง และให้ทุกคนท่องจำปมต่างๆ ให้เข้าใจตรงกันว่าเป็นจำนวนอะไร วิธีนี้มีชื่อว่า “กีปู” บางทีเขาใช้กีปูในการบันทึกเหตุการณ์บางอย่างด้วยเช่นกัน
ส่วนเลขศูนย์นั้น กล่าวกันว่า เกิดขึ้นในอินเดีย แต่ยังมีความคิดเห็นที่ยังไม่ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องเลขศูนย์นี้ว่าต้นกำเนิดเป็นสัญลักษณ์แทนอะไร บางคนว่าเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ บางคนว่าเป็นสัญลักษณ์แทนภูตผีปีศาจ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรก็ตาม การมีศูนย์นี้สำคัญมากสำหรับการพัฒนาตัวเลขที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
ปัจจุบันตัวเลข 1, 2, 3, … มีต้นกำเนิดในอินเดีย และมาแพร่หลายในยุโรปโดยผ่านชาวอาหรับ จึงมีชื่อเรียกว่า “ตัวเลขฮินดูอารบิก”
2 การใช้ฐานต่างๆ ในการนับ
ในการนับนอกจากจะใช้ฐานสิบในการนับแล้ว ยังมีการใช้ฐานอื่นๆ อีกมากเช่น การนับในฐานสอง การนับในฐานเจ็ด เช่น การนับวันใน 1 สัปดาห์ การนับในฐานสิบสิง เช่น จำนวนนิ้วในหนึ่งฟุต จำนวนเดือนในหนึ่งปี จำนวนที่เป็นโหล หรือกุรุส จำนวนชั่วโมงในหน้าปัดนาฬิกา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการนับในฐานยี่สิบซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากการนำจำนวนนิ้วมือและนิ้วเท้ามารวมกัน โดยในภาษาฝรั่งเศสมีการใช้คำว่า สี่ – ยี่สิบ แทนคำว่า แปดสิบ และการนับฐานหกสิบ ซึ่งยังมีอยู่ในปัจจุบัน คือ 60 วินาที เป็น 1 นาที 60 นาที เป็น 1 ชั่วโมง หรือ 60 ฟิลิปดา เป็น 1 ลิปดา และ 60 ลิปดา เป็น 1 องศา
3 ความแตกต่างระหว่างจำนวนและตัวเลข
จำนวน (Number) หมายถึง ปริมาณที่ทำให้เรามีความรู้สึกว่ามากหรือน้อย คนกลุ่มหนึ่งกับไม้กองหนึ่ง ถ้าเราสามารถจับคู่ระหว่างคนหนึ่งคนกับไม้หนึ่งแท่งได้พอดี จะถือว่าคนกลุ่มนั้นกับไม้กองนั้นมีจำนวนเท่ากัน ถ้าการจับคู่ระหว่างคนกับไม้แล้วปรากฏว่าคนเหลืออยู่ แสดงว่าคนกลุ่มนั้นมีจำนวนมากกว่าไม้กองนั้น
จำนวนเป็นนามธรรม ซึ่งมนุษย์ทุกชาติทุกภาษามีความเข้าใจตรงกัน แต่ชื่อที่ใช้เรียกจำนวนย่อมแตกต่างกันไปตามภาษาของชนชาติต่างๆ
ตัวเลข (Numeral) หมายถึง สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายที่ใช้แทนจำนวน แต่ละจำนวนเขียนแทนได้ด้วยตัวเลขต่างๆ กัน เช่น จำนวน “สาม”อาจเรียกแทนได้ด้วยตัวเลข 3 , III , ๓ ก็ได้
4 ตัวเลขในสมัยโบราณ
ตัวเลขที่ใช้กันในสมัยโบราณ ได้แก่ ตัวเลขบาบิโลน ตัวเลขอียิปต์ ตัวเลขโรมัน
และตัวเลขฮินดู เป็นต้น สำหรับตัวเลขไทยนั้น มีหลักฐานปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นพร้อมกับตัวอักษรไทย มีบันทึกอยู่ในหลักศิลาจารึก
ระบบตัวเลขฐานต่าง ๆ
รู้หรือไม่ว่าระบบของตัวเลขนั้นมีระบบของฐานของตัวเลขอยู่ด้วย
ทุกวันนี้ตัวเลขที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะเป็น 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 นี่คือเลขฐานที่เรานิยมใช้กันในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นเลขฐาน 10 คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าดังนี้จึงมีการแทนที่ด้วยกระแสไฟฟ้า 2 สภาวะ นั่นคือ สภาวะมีไฟฟ้า กับสภาวะไม่มีไฟฟ้า ดังนั้น คอมพิวเตอร์จึงใช้ระบบเลขฐาน 2 ซึ่งก็คือ 0 กับ 1 นั่นเอง
ระบบตัวเลขฐานสิบ
ระบบตัวเลขฐาน 10 เป็นระบบฐานที่เราคุ้นเคยกันที่สุดเพราะใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีเลขโดดอยู่ 10 ตัวนั่นคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 มาเขียนแทนจำนวน ค่าประจำหลักของตัวเลขจะเริ่มจากทางขวา โดยทางขวามือสุดเรียกว่าหลักหน่วย แล้วนับตำแหน่งไปทางด้านซ้ายกำหนดหลักและค่าประจำหลักในตาราง
หลักที่ | … | เจ็ด | หก | ห้า | สี่ | สาม | สอง | หนึ่ง |
ชื่อตำแหน่ง | … | หลักล้าน | หลักแสน | หลักหมื่น | หลักพัน | หลักร้อย | หลักสิบ | หลักหน่วย |
ค่าประจำหลัก | … | 106 | 105 | 104 | 103 | 102 | 101 | 100 = 1 |
ตัวอย่างเช่น ถ้าเขียน 2,256,037 จะพบว่า
2 อยู่ในหลักล้าน ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 2 x 106 = 2,000,000
2 อยู่ในหลักแสน ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 2 x 105 = 200,000
5 อยู่ในหลักหมื่น ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 5 x 104 = 50,000
6 อยู่ในหลักพัน ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 6 x 103 = 6,000
0 อยู่ในหลักร้อย ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 0 x 102 = 0
3 อยู่ในหลักสิบ ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 3 x 101 = 30
7 อยู่ในหลักหน่วย ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 7 x 100 = 7
ระบบตัวเลขฐานสอง
ระบบตัวเลขฐาน 2 เป็นระบบฐาน ที่มีเลขโดดอยู่ 2 ตัวนั่นคือ 0, 1 มาเขียนแทนจำนวน ค่าประจำหลักของตัวเลขจะเริ่มจากทางขวา โดยทางขวามือสุดเรียกว่าหลักที่หนึ่ง ดังตาราง
หลักที่ | … | เจ็ด | หก | ห้า | สี่ | สาม | สอง | หนึ่ง |
ค่าประจำหลัก | … | 26 | 25 | 24 | 23 | 22 | 21 | 20 = 1 |
การเขียนตัวเลขในระบบฐานสองเขียนโดยใช้สัญลักษณ์พื้นฐาน และเขียนฐานสองกำกับ เช่น 10112 อ่านว่า หนึ่งศูนย์หนึ่งหนึ่งฐานสอง
ตัวอย่างเช่น ถ้าเขียน 1010112 จะพบว่า
1 อยู่ในหลักที่หก ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 1 x 25 = 32
0 อยู่ในหลักที่ห้า ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 0 x 24 = 0
1 อยู่ในหลักที่สี่ ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 1 x 23 = 8
0 อยู่ในหลักที่สาม ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 0 x 22 = 0
1 อยู่ในหลักที่สอง ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 1 x 21 = 2
1 อยู่ในหลักที่หนึ่ง ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 1 x 20 = 1
ระบบตัวเลขฐานสิบสอง
ระบบตัวเลขฐาน 12 เป็นระบบฐาน ที่นำสัญลักษณ์พื้นฐาน 12 ตัวนั่นคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, และอีกสองตัว คือ 10 กับ 11 เราจะนำสัญลักษณ์ภาษาอังกฤษมาเขียนแทน โดย A แทน 10 และ B แทน 11 มาเขียนแทนจำนวน ค่าประจำหลักของตัวเลขจะเริ่มจากทางขวา โดยทางขวามือสุดเรียกว่าหลักที่หนึ่ง
ดังนั้นสัญลักษณ์พื้นฐานของระบบตัวเลขฐานสิบสองประกอบไปด้วย 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B ดังตาราง
หลักที่ | … | เจ็ด | หก | ห้า | สี่ | สาม | สอง | หนึ่ง |
ค่าประจำหลัก | … | 126 | 125 | 124 | 123 | 122 | 121 | 120 = 1 |
การเขียนตัวเลขในระบบฐานสิบสองเขียนโดยใช้สัญลักษณ์พื้นฐาน และเขียนฐานสองกำกับ เช่น 159A12 อ่านว่า หนึ่งห้าเก้าเอฐานสิบสอง
ตัวอย่างเช่น ถ้าเขียน 1B038A12 จะพบว่า
1 อยู่ในหลักที่หก ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 1 x 125 = 248,832
B อยู่ในหลักที่ห้า ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 11 x 124 = 228096
0 อยู่ในหลักที่สี่ ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 0 x 123 = 0
3 อยู่ในหลักที่สาม ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 3 x 122 = 432
8 อยู่ในหลักที่สอง ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 8 x 121 = 96
A อยู่ในหลักที่หนึ่ง ซึ่งจะมีค่่าประจำหลัก คือ 10 x 120 = 10